กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/12188
ชื่อเรื่อง: | ความเชื่อมโยงระหว่างความไม่แน่นอนในงาน การมีส่วนร่วม การใช้ตัวชี้วัดผลการดำเนินงานและผลการดำเนินงานของผู้บริหาร ในโรงพยาบาลรัฐในภาคใต้ของประเทศไทย |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Linking Task Uncertainty, Participation, Use of Performance Measures and Managerial Performance in Public Hospitals Located in Southern Thailand |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | ศิริลักษณ์ บางโชคดี สุวิมล บัวทอง คณะวิทยาการจัดการ ภาควิชาการบัญชี Faculty of Management Sciences (Accountancy) |
คำสำคัญ: | ความไม่แน่นอน;การบริหารความเสี่ยงทางการเงิน ไทย (ภาคใต้);โรงพยาบาล การบริหาร ไทย (ภาคใต้) |
วันที่เผยแพร่: | 2017 |
สำนักพิมพ์: | มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ |
บทคัดย่อ: | The present study is aimed to examining the relationships between (1) task uncertainty and the use of financial and non-financial measures (2) participation in the design and development in performance measurement system and, (3) the use of financial and non-financial measures and managerial performance. Data were collected from middle management (departmental managers) of public hospitals located in Southern Thailand. Mailed-questionnaire packages were sent to 770 managers. Only 340 were returned (response rate 44.16%). Data were analyzed using Structural Equation Modeling. The results indicate that task uncertainty is positively related to the use of non-financial measures in patient perspective. Also, participation in the design and development in performance measurement system is positively associated with the use of financial and non-financial in four perspectives of BSC. In addition, the use of financial measures and non-financial measures only in patient and learning and growth perspectives is positively related to managerial performance. As a result, when middle managers in public hospitals face greater task uncertainty, they should make a greater use of patient-related performance measures. Moreover, top management in public hospitals should allow middle managers to participate in the design and development in performance measurement system. The middle managers then acceptance and perceive that they are being part of the organization, resulting in increased use of performance measures. As middle managers make a greater use of financial and non-financial in patient and learning and growth perspectives, they are likely to gain more feedback and understanding about the situation. They are able to make more appropriate decision, leading to enhanced managerial performance. |
Abstract(Thai): | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความไม่แน่นอนในงานกับ การใช้ตัวชี้วัดทางการเงินและไม่ใช่ทางการเงิน 2) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการมีส่วนร่วมกับการใช้ ตัวชี้วัดทางการเงินและไม่ใช่ทางการเงิน และ 3) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการใช้ตัวชี้วัดทาง การเงินและไม่ใช่ทางการเงินกับผลการดําเนินงานของผู้บริหาร การวิจัยในครั้งนี้เก็บรวบรวมข้อมูลจากผู้บริหารระดับกลางในโรงพยาบาลรัฐ ในภาคใต้ของ ประเทศไทย จํานวน 14 แห่ง โดยการใช้แบบสอบถามส่งทางไปรษณีย์ไปยังผู้บริหารระดับกลางของ แผนกต่าง ๆ จํานวน 770 ท่าน ได้รับการตอบกลับมาและสามารถใช้เป็นกลุ่มตัวอย่างได้จํานวน 340 ชุด คิดเป็นร้อยละ 44.16 การวิจัยครั้งนี้วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้แบบจําลองสมการเชิงโครงสร้าง ผลการศีกษาพบว่า ความไม่แน่นอนในงานมีความสัมพันธ์เชิงบวกกับการใช้ตัวชี้วัดที่ไม่ใช่ ทางการเงิน ด้านผู้ป่วย นอกจากนี้ ยังพบว่าการมีส่วนร่วมในการออกแบบและพัฒนาระบบการวัดผล การดําเนินงานมีความสัมพันธ์เชิงบวกกับการใช้ตัวชี้วัดทางการเงินและไม่ใช่ทางการเงิน ได้แก่ ด้าน ผู้ป่วย ด้านกระบวนการภายใน และด้านการเรียนรู้และเติบโต ตามแนวคิดของการวัดผลการ ดําเนินงานแบบสมดุล ผลการศึกษายังพบอีกว่าการใช้ตัวชี้วัดทางการเงินและไม่ใช่ทางการเงิน คือ ด้านผู้ป่วย และด้านการเรียนรู้และเติบโต มีความสัมพันธ์เชิงบวกกับผลการดําเนินงานของผู้บริหาร ดังนั้น เมื่อผู้บริหารระดับกลางในโรงพยาบาลรัฐเผชิญกับความไม่แน่นอนในงาน ก็ควรใช้ตัวชี้วัดด้าน ผู้ป่วยมากขึ้น และนอกจากนี้ ผู้บริหารระดับสูงควรอนุญาตให้ผู้บริหารระดับกลางมีส่วนร่วมในการ ออกแบบและพัฒนาระบบการวัดผลการดําเนินงาน เพื่อนําไปสู่การยอมรับและการรู้สึกเป็นส่วนหนึ่ง ขององค์กร ทําให้มีการใช้ตัวชี้วัดผลการดําเนินงานด้านต่าง ๆ มากขึ้น ซึ่งการใช้ตัวชี้วัดทางการเงิน และไม่ใช่ทางการเงินด้านผู้ป่วย และด้านการเรียนรู้และเติบโต จะช่วยให้ผู้บริหารมีข้อมูลย้อนกลับที่ เพียงพอและเข้าใจสถานการณ์การดําเนินงานมากขึ้น ทําให้ผู้บริหารมีการตัดสินใจที่เหมาะสม และมี ผลการดําาเนินงานที่ดีขึ้น |
รายละเอียด: | วิทยานิพนธ์ (ปร.ด. (การจัดการ))--มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, 2560 |
URI: | http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/12188 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | 464 Thesis |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
420418.pdf | 1.58 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น