กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/12176
ชื่อเรื่อง: | Production of Flavorant and Colorant from Pacific White Shrimp (Litopenaeus vanamei) Head and Their Food Applications |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | การผลิตสารให้กลิ่นรสและสารให้สีจากหัวกุ้งขาว (Litopenaeus vanamei) และการประยุกต์ใช้ในอาหาร |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | Kongkarn Kijroongrojana Sineenath Sukkwai Faculty of Agro-Industry (Food Technology) คณะอุตสาหกรรมเกษตร ภาควิชาเทคโนโลยีอาหาร |
คำสำคัญ: | Whiteleg shrimp Processing;Flavoring essences Research;Food additives Research |
วันที่เผยแพร่: | 2017 |
สำนักพิมพ์: | Prince of Songkla University |
บทคัดย่อ: | Study of shrimp head utilization for flavorant and colorant productions, the pretreatment of Pacific white shrimp (Litopenaeus vanamei) head for melanosis prevention was conducted. Soaking shrimp head in 0.5, 1.0, 2.0% citric acid solutions and 1.0, 2.0, 4.0% sodium metabisulfite solutions in the ratio of 1:5 w/v for 10, 15 and 20 min were compared. The results showed that PPO activity and melanosis score of the samples were decreased with increasing in solution concentration and soaking time (p<0.05). The sample treated with 2.0% sodium metabisulfite solution for 15 min obtained the lowest PPO activity and melanosis score. Moreover, the values were lower than of heated sample (core temperature of 80°C for 30 sec) (p<0.05). To produce the shrimp flavorant from Pacific white shrimp head, the optimal condition of enzymatic flavorant extraction from shrimp head using 0.15% w/w Alcalase (pH 8.0) or Flavourzyme (pH 7.0) at 55°C for 5 hr were studied. The results showed that extraction for 270 min yielded the highest protein and formaldehyde nitrogen contents for both enzymes (p<0.05). A descriptive analysis indicated that the flavorant using Flavourzyme gained higher intensity of boiled blue swimming crab odor, but lower intensities of boiled sundried shrimp and roasted sundried shrimp odors than that using Alcalase. The overall and color acceptance scores (n=30) of fish ball added with 4% (dry weight) flavorant extracted by Alcalase were higher than that by Flavourzyme (p<0.05). The flavorant solution from the non-pretreated sample had the higher protein and formaldehyde nitrogen contents than another and overall acceptance score of the pretreated sample was higher than that of non-pretreated sample (p<0.05). The shrimp flavorant using Alcalase, dried with different drying methods (freeze drying (FD), tray drying (TD) and spray drying (SD)) and the 20% flavorant solutions (20) and the 15% flavorant solution with 5% maltodextrin added (15+5M) were compared. The acceptance test indicated that drying methods had no effect on odor and flavor/taste liking scores of fish ball added with 4% shrimp flavorant (p>0.05). However, color acceptance scores of fish balls added with the TD flavorants were lower than those of other methods (p<0.05). The fish balls added with SD20, SD15+5M and TD15+5M had the highest overall acceptance score (p<0.05). Descriptive analysis revealed that the flavorant before drying had the highest intensity of roasted sundried shrimp, boiled sundried shrimp, boiled blue swimming crab and unfresh shrimp juice odors (p<0.05). The intensities of those odors decreased after drying the sample in all conditions. Mungoong (shrimp paste) odor was presented in tray dried sample and the highest intensity was found in tray dried sample with maltodextrin. The storage at room temperature (28±2°C) for 2 and 4 months under vacuum condition had less effect on the volatile compounds in shrimp flavorant than that under air condition. However, the trained panelists could not detected the differences between the intensities of odor characteristics (p>0.05). To produce a natural colorant from Pacific white shrimp (Litopenaeus vanamei) head, the optimized mixture proportions of isopropanol and hexane for carotenoid extraction was studied by applying the simplex lattice design. The prediction model showed that the proportion gaining the highest carotenoid yield was 40.731: 59.269 (v/v). The colorant extracted from pretreated shrimp head had the higher carotenoid yield, protein and ash content than that from non-pretreated shrimp head (p<0.05). However, moisture and fat content of both samples were not different (p>0.05). The studies of applications of flavorant and colorant extracted from Pacific white shrimp head in foods were conducted. Central composite design was used to optimize the concentration of shrimp flavorant (0-3% w/w) and colorant (0-0.4% w/w) in shrimp shumai. It was noticeable that the shrimp flavorant decreased liking scores of color, flavor, texture and overall (p<0.05), while color liking score was increased with the shrimp colorant added (p<0.05). Shrimp shumai added with 0.2% colorant had the highest color liking score (7.63 ± 0.89) when compared with that without the colorant (6.73 ± 1.20) and added at 0.4% (7.07 ± 0.60) (p<0.05). Another application, the shrimp colorant was applied to enhance color of mayonnaise-based dipping sauce. The colorant (NC: 0, MC: 1.2 and HC: 3.6%, w/w) and salts (RS: NaCl, ReS: KCl and NS: no salt added) were added to mayonnaise-based dipping sauce and the results showed that when colorant concentration increased the saltiness liking score decreased (p<0.05). Too intense color (HC) affected the decreasing of color liking score (p<0.05). The samples with the higher color liking scores gained the higher percentage to be just-about-right samples for expected saltiness. At the given colorant concentration, the highest saltiness liking score was occurred in RS followed by ReS and NS, respectively (p<0.05). Scores of emotions elicited by dipping sauces were highly affected by colorant concentration. Statements of 'colorant from a natural source' and 'sodium content' had a few effects on elicited emotions and consumer's purchase intent. |
Abstract(Thai): | การศึกษาการใช้ประโยชน์จากหัวกุ้งในการผลิตสารให้กลิ่นรสและสารให้สีโดย ศึกษาการแปรรูปเบื้องต้นเพื่อหาสภาวะที่เหมาะสมในการป้องกันการเกิดเมลาโนซิสในหัวกุ้งขาว แวนนาไม (Litopenaeus vannamei) โดยการแช่หัวกุ้งในสารละลายต่าง ๆ ได้แก่ กรดซิตริกที่ความ เข้มข้นร้อยละ 0.5, 1.0, 2.0 และสารละลายโซเดียมเมตาไบซัลไฟต์ที่ความเข้มข้นร้อยละ 1.0, 2.0, 4.0 ด้วยอัตราส่วน 1:5 (น้ําหนักหัวกุ้ง/ปริมาตรสารละลาย) เป็นเวลา 0, 15 และ 20 นาที พบว่า โซเดียมเมตาไบซัลไฟต์มีประสิทธิภาพมากกว่ากรดซิตริก (p<0.05) โดยตัวอย่างที่ผ่านการแช่ สารละลายโซเดียมเมตาไบซัลไฟต์ ร้อยละ 2.0 เป็นเวลา 15 นาที มีค่ากิจกรรมของเอนไซม์ โพลีฟีนอลออกซิเดสและคะแนนการเกิดเมลาโนซิสต่ําที่สุด (p<0.05) รวมถึงมีค่าต่ํากว่าการยับยั้ง โดยการให้ความร้อนอีกด้วย (อุณหภูมิแกนกลาง 80 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 30 นาที) (p<0.05) การผลิตสารให้กลิ่นรสจากหัวกุ้งขาวแวนนาไมโดยย่อยด้วยเอนไซม์อัลคาเลส (พีเอช 8.0) และเอนไซม์ฟลาโวไซม์ (พีเอช 7.0) ร้อยละ 0.15 (น้ําหนัก/น้ําหนัก) ที่อุณหภูมิ 55 องศา เซลเซียส เป็นเวลา 5 ชั่วโมง พบว่าการสกัดเป็นเวลา 270 นาทีจะให้ปริมาณโปรตีนและ ฟอร์มาลดีไฮด์ไนโตรเจนสูงที่สุด (p<0.05) จากการทดสอบเชิงพรรณาพบว่าตัวอย่างสารให้กลิ่น รสที่สกัดด้วยฟลาโวไซม์มีความเข้มของกลิ่นปูม้าต้มมากกว่า แต่มีกลิ่นกุ้งแห้งคั่วและกุ้งแห้งต้ม น้อยกว่าตัวอย่างที่สกัดด้วยอัลคาเลส (p<0.05) โดยตัวอย่างที่สกัดด้วยอัลคาเลสมีคะแนน ความชอบด้านสีและความชอบโดยรวมสูงกว่า (p<0.05) ตัวอย่างสารให้กลิ่นรสที่ไม่ผ่านการแปร รูปเบื้องต้นมีปริมาณโปรตีนและฟอร์มาลดีไฮด์ไนโตรเจนที่สูงกว่า (p<0.05) ในขณะที่คะแนน ความชอบโดยรวมของสารให้กลิ่นรสที่สกัดจากหัวกุ้งที่ผ่านการแปรรูปเบื้องต้นจะสูงกว่าตัวอย่างที่ สกัดจากหัวกุ้งที่ไม่ผ่านการแปรรูปเบื้องต้น (p<0.05) การศึกษาหาสภาวะที่เหมาะสมในการทําแห้งสารให้กลิ่นรสที่สกัดด้วยอัลคาเลส โดยใช้วิธีการต่าง ๆ ได้แก่ การทําแห้งแบบเยือกแข็ง (FD), การทําแห้งแบบอบแห้งในถาด (TD) และการทําแห้งแบบพ่นฝอย (SD) รวมทั้งการใช้มอลโตเดกซ์ตริน โดยระเหยสารสกัดจนมีปริมาณ ของแข็งร้อยละ 15 แล้วเติมมอลโตเดกซ์ตรินร้อยละ 5 (15+5M) เปรียบเทียบกับสารสกัดที่ระเหย จนมีปริมาณของแข็งร้อยละ 20 (20) จากการทดสอบการยอมรับแสดงให้เห็นว่าวิธีการทําแห้งไม่มี อิทธิพลต่อคะแนนความชอบด้านกลิ่น กลิ่นรส/รสชาติของลูกชิ้นปลาที่เติมสารให้กลิ่นรสจากหัว กุ้งในปริมาณร้อยละ 4 (p>0.05) ในขณะที่ลูกชิ้นปลาที่เติมสารให้กลิ่นรส TD15+5M ได้รับคะแนน ความชอบด้านสีต่ําที่สุดเมื่อเปรียบเทียบกับการทําแห้งด้วยวิธีอื่น ๆ (p<0.05) ลูกชิ้นปลาที่เติม SD20 SD15+5M และ TD15+5M ได้รับคะแนนความชอบโดยรวมสูงที่สุด (p<0.05) จากการ ทดสอบเชิงพรรณาพบว่าสารให้กลิ่นรสก่อนการทําแห้งมีความเข้มของกลิ่นกุ้งแห้งคั่ว กุ้งแห้งต้ม ปูม้าต้ม และกุ้งไม่สดต้มสูงที่สุด (p<0.05) โดยความเข้มของกลิ่นดังกล่าวจะลดลงหลังการทําแห้ง ในทุกสภาวะ ตัวอย่าง TD15+5M มีค่าความเข้มของกลิ่นมันกุ้งสูงที่สุด (p<0.05) โดยกลิ่น ดังกล่าวเป็นผลมาจากสารประกอบไพราซีนที่เกิดขึ้นในระหว่างการทําแห้ง ในการเก็บรักษา ตัวอย่างสารให้กลิ่นรสที่ทําแห้งด้วยวิธีอบแห้งในถาด (TD20) เป็นเวลา 4 เดือนที่อุณหภูมิห้อง (28±2 องศาเซลเซียส) พบว่าตัวอย่างที่เก็บภายใต้สภาวะสุญญากาศมีการเปลี่ยนแปลงของสัดส่วน สารระเหยน้อยกว่าการเก็บภายใต้สภาวะที่มีอากาศ มีสารประกอบไพราซีนเพิ่มขึ้น ขณะที่สารใน กลุ่มแอลดีไฮด์มีปริมาณลดลง อย่างไรก็ตามการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวไม่ส่งผลต่อความเข้มของ คุณลักษณะด้านกลิ่นเมื่อทดสอบโดยผู้ทดสอบที่ผ่านการฝึกฝน (p>0.05) การสกัดสารให้สีธรรมชาติจากหัวกุ้งขาวแวนนาไม โดยศึกษาสัดส่วนที่เหมาะสม ของไอโซโพรพานอลและเฮกเซนในการสกัดแคโรทีนอยด์จากหัวกุ้งโดยใช้ simplex lattice design พบว่า 40.731: 59,269 (โดยปริมาตร) เป็นสัดส่วนที่ให้ปริมาณผลผลิตสูงที่สุด (p<0.05) และพบว่า สารให้สีที่สกัดจากหัวกุ้งที่ผ่านการแปรรูปเบื้องต้นมีผลผลิตแคโรทีนอยด์ โปรตีนและเถ้าสูงกว่า ตัวอย่างที่ไม่ผ่านการแปรรูปเบื้องต้น (p<0.05) อย่างไรก็ตามตัวอย่างทั้งสองมีปริมาณความชื้น และไขมัน ไม่แตกต่างกัน (p>0.05) การศึกษาการนําสารให้กลิ่นรสและสารให้สีที่สกัดจากหัวกุ้งขาวแวนนาไมใน ผลิตภัณฑ์อาหาร โดยใช้สารให้กลิ่นรส (ร้อยละ 0-3 โดยน้ําหนัก) และสารให้สี (ร้อยละ 0-0.4 โดยน้ําหนัก) ในผลิตภัณฑ์ขนมจีบกุ้งโดยใช้ Central composite design แสดงให้เห็นว่าการใช้ ส่วนประกอบทั้งสองชนิดในปริมาณดังกล่าวไม่ส่งผลต่อคะแนนความชอบของขนมจีบกุ้ง (p>0.05) และสังเกตได้ว่าการเติมสารให้กลิ่นรสส่งผลให้คะแนนความชอบทุกคุณลักษณะลดลง (p<0.05) ในขณะที่คะแนนความชอบด้านสีเพิ่มขึ้นเมื่อมีการเติมสารให้สี (p<0.05) และการเติม สารให้สีในร้อยละ 0.2 (7.63 ± 0.89) จะทําให้ตัวอย่างขนมจีบกุ้งได้รับคะแนนความชอบด้านสีสูง กว่าตัวอย่างที่ไม่เติมสี (6.73 + 1,20) และเติมสีร้อยละ 0.4 (7.07 ± 0.60)(p<0.05) การศึกษาการใช้สารให้สีที่สกัดจากหัวกุ้งในผลิตภัณฑ์ซอสมายองเนส โดยใช้สาร ให้สี 3 ระดับความเข้มข้น (ไม่เติมสารให้สี (NC): ร้อยละ 0, สารให้สีระดับกลาง (MC): ร้อยละ 1.2 และ สารให้สีระดับสูง (HC): ร้อยละ 3.6 โดยน้ําหนัก) ร่วมกับการใช้เกลือที่แตกต่างกัน (เกลือที่ใช้ โดยทั่วไป (RS): เกลือโซเดียมคลอไรด์, ลดโซเดียม (ReS): เกลือโพแทสเซียมคลอไรด์ และ ไม่เติม เกลือ (NS): ไม่เติมเกลือ) พบว่าการเติมสารให้สีทําให้ค่าคะแนนความชอบในรสเค็มลดลง (p<0.05) สีที่เข้มเกินไป (HC) ส่งผลให้คะแนนความชอบด้านสีลดลง (p<0.05) นอกจากนี้ยังพบว่าตัวอย่าง ที่ได้รับคะแนนความชอบด้านสีมากกว่าจะมีร้อยละของระดับความพอดีในรสเค็มมากกว่าเช่นกัน ความเข้มข้นของสารให้สีเดียวกัน RS เป็นตัวอย่างที่ได้รับคะแนนความชอบในรสเค็มมากที่สุด ตามด้วย ReS และ NS ตามลําดับ (p<0.05) ความเข้มข้นของสารให้สีมีอิทธิพลอย่างยิ่งต่ออารมณ์ ของผู้ทดสอบหลังการบริโภคซอสมายองเนส ทั้งนี้จากการวิจัยยังพบว่าการให้ข้อมูลเรื่อง “การใช้ สารให้สีจากธรรมชาติ” และ “ปริมาณโซเดียม” มีผลเพียงเล็กน้อยต่ออารมณ์และความตั้งใจซื้อของ ผู้บริโภค |
รายละเอียด: | Thesis (Ph.D., Food Science and Technology)--Prince of Songkla University, 2017 |
URI: | http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/12176 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | 850 Thesis |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
420176.pdf | 4.23 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น