Please use this identifier to cite or link to this item: http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/12170
Title: รูปแบบการจัดการการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ พื้นที่อุทยานแห่งชาติทางทะเลในประเทศไทย
Other Titles: A Model of Ecotourism Management in Marine Parks in Thailand
Authors: ปาริชาติ วิสุทธิสมาจาร
จิตศักดิ์ พุฒจร
Faculty of Environmental Management (Environmental Management)
คณะการจัดการสิ่งแวดล้อม สาขาวิชาการจัดการสิ่งแวดล้อม
Keywords: การท่องเที่ยวเชิงนิเวศ การจัดการ ไทย;อุทยานทางทะเล การจัดการ ไทย
Issue Date: 2560
Publisher: มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
Abstract: The study on the development of ecotourism management model in marine parks in Thailand has its objectives as 1) to study potential and present ecotourism management models of the marine parks in Thailand, 2) to analyze and synthesize present ecotourism management models of the marine parks in Thailand, and 3) to formulate the ecotourism management model of the marine parks in Thailand. This study was conducted with the qualitative method by employing ecotourism sites' potential survey kit to evaluate 26 marine parks in order to rank 6 marine parks, 3 parks from the Gulf of Thailand and 3 from the Andaman Sea namely 1) Mu Koh Chang National Park, Trat Province, 2) Mu Koh Angthong National Park, Suratthani Province, 3) Mu Koh Chumporn National Park, Chumporn Province, 4) Mu Koh Surin National Park, Phangnga Province, 5) Mu Koh Similan National Park, Phangnga Province, and 6) Mu Koh Tarutao National Park, Satun Province. After that, the data were collected by using in-depth interview, focus-group, and observation from marine parks' directors, heads, and assistants to the heads, experts, and tourists. The result found that ecotourism management in marine parks in Thailand could be categorize into 7 aspects of management as 1) tourism system's policy and planning management, 2) tourism activity management, 3) communication and interpretation management, 4) tourism service management, 5) economics and social management, 6) partnership management for tourism, and 7) tourism development management. However, most of them were ineffective especially tourism system's policy and planning management because it could not be connected with other management aspects effectively. The results from focus groups with marine parks' stakeholders and experts suggested that ecotourism management model in marine parks can be newly formulated and developed to enhance effectiveness in sustainable management. The model composes of 11 components that need to be emphasized namely 1) policy management and tourism planning, 2) tourism development management, 3) human resource management, 4) tourism activity management, 5) communication and interpretation management, 6) tourism service and facility management, 7) management of tourism impacts on environment, 8) tourism benefit management, 9) economic and social management, 10) participation management of stakeholders, and 11) area change monitoring and evaluation management.
Abstract(Thai): การศึกษาเรื่องรูปแบบการจัดการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ พื้นที่อุทยานแห่งชาติทางทะเล ในประเทศไทยมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาศักยภาพและสำรวจรูปแบบการจัดการการท่องเที่ยวเชิง นิเวศในพื้นที่อุทยานแห่งชาติทางทะเลในประเทศไทย 2) พัฒนารูปแบบการจัดการท่องเที่ยวเชิงนิเวศของอุทยานแห่งชาติทางทะเลไทย และ 3) กำหนดรูปแบบการจัดการท่องเที่ยวเชิงนิเวศของอุทยานแห่งชาติทางทะเลไทย โดยเป็นการศึกษาวิจัยเชิงคุณภาพ โดยใช้เครื่องมือแบบสำรวจศึกษาศักยภาพแหล่งท่องเที่ยวเชิงนิเวศ ในพื้นที่อุทยานแห่งชาติทางทะเลทั้ง 26 แห่ง เพื่อจัดอันดับคัดเลือกอุทยานแห่งชาติที่มีศักยภาพการจัดการการท่องเที่ยวเชิงนิเวศสูงสุดทั้งฝั่งอ่าวไทยและอันดามันฝั่งละ 3 แห่งรวมเป็น 6 แห่ง เพื่อเก็บข้อมูลด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึก การประชุมกลุ่มย่อย และการสังเกต ได้แก่อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะข้าง จังหวัดตราด อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะอ่างทอง จังหวัดสุราษฎร์ธานีอุทยานแห่งชาติหมู่เกาะชุมพร จังหวัดชุมพร อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสิมิลัน จังหวัดพังงา อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะตะรุเตา จังหวัดสตูล และอุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสุรินทร์ จังหวัดพังงา จากกลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ ผู้อำนวยการส่วนอุทยานแห่งชาติทางทะเล หัวหน้าอุทยานและผู้ช่วยๆ ผู้ทรงคุณวุฒิ และนักท่องเที่ยว ผลการศึกษาพบว่า การจัดการการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ พื้นที่อุทยานแห่งชาติทางทะเลในประเทศไทยมีรูปแบบการจัดการที่สามารถจำแนกออกเป็น 7 ด้าน ได้แก่ 1)การจัดการนโยบายและการวางแผนระบบการท่องเที่ยว 2) การจัดการกิจกรรมการท่องเที่ยว 3) การจัดการสื่อความหมาย และการสื่อสาร 4) การจัดการบริการท่องเที่ยว 5) การจัดการด้านเศรษฐกิจและสังคม 6) การจัดการพันธมิตรเพื่อการท่องเที่ยว และ 7) การจัดการพัฒนาการท่องเที่ยวแต่ภาพรวมยังขาดประสิทธิภาพซึ่งเป็นผลมาจากปัญหาที่ไม่สามารถเชื่อมโยงการจัดการนโยบายและการวางแผนระบบการท่องเที่ยวกับการจัดการด้านอื่นๆได้อย่างมีประสิทธิภาพ จากผลการศึกษาที่ผ่านการประชุมระดมความคิดเห็นถึงสภาพปัญหาของการจัดการ อุทยานแห่งชาติทางทะเลในประเทศไทย และข้อเสนอแนะการพัฒนาการจัดการอุทยานแห่งชาติทางทะเล จากผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องรวมถึงผู้ทรงคุณวุฒิ สามารถพัฒนาและกำหนดรูปแบบการจัดการ ท่องเที่ยวเชิงนิเวศ พื้นที่อุทยานแห่งชาติทางทะเลในประเทศไทยขึ้นมาใหม่ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการจัดการอย่างยั่งยืน ประกอบด้วยรูปแบบย่อยทั้งสิ้น 11 ด้าน ได้แก่ 1) การจัดการนโยบายและการวางแผนการท่องเที่ยว 2) การจัดการพัฒนาการท่องเที่ยว 3) การจัดการบริหารงานบุคลากร 4) การจัดการกิจกรรมการท่องเที่ยว 5) การจัดการสื่อความหมาย และการสื่อสาร 6) การจัดการบริการท่องเที่ยวและสิ่งอำนวยความสะดวก 7) การจัดการผลกระทบสิ่งแวดล้อมจากการท่องเที่ยว 8) การจัดการผลประโยชน์จากการท่องเที่ยว 9) การจัดการด้านเศรษฐกิจและสังคม 10) การจัดการ มีส่วนร่วมขององค์กร ชุมชน และเครือข่าย และ 11) การจัดการด้านการติดตามและการประเมินการเปลี่ยนแปลงของพื้นที่
Description: วิทยานิพนธ์ (ปร.ด. (การจัดการสิ่งแวดล้อม))--มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, 2560
URI: http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/12170
Appears in Collections:820 Thesis

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
420045.pdf6.93 MBAdobe PDFView/Open


Items in PSU Knowledge Bank are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.