Please use this identifier to cite or link to this item: http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/12146
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorดวงมณี, จงรักษ์-
dc.contributor.authorโองการ, หรันเต๊ะ-
dc.date.accessioned2019-03-20T03:27:36Z-
dc.date.available2019-03-20T03:27:36Z-
dc.date.issued2561-
dc.identifier.urihttp://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/12146-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (ศศ.ม.(วิชาจิตวิทยา))--มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, 2561th_TH
dc.description.abstractการวิจัยกึ่งทดลองครั้งนี้มีจุดมุ่งหมาย (1) เพื่อเปรียบเทียบจิตสาธารณะของเด็กและเยาวชนในสถานพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชนจังหวัดปัตตานี ก่อนและหลังการทดลอง (2) เพื่อเปรียบเทียบจิตสาธารณะของเด็กและเยาวชนระหว่างกลุ่มที่ได้รับการพัฒนาและเสริมสร้างจิตสาธารณะโดยใช้โปรแกรมการปรึกษากลุ่มแบบพฤติกรรมนิยมกับกลุ่มที่เข้าร่วมโปรแกรมการอบรมตามปกติของสถานพินิจ กลุ่มตัวอย่างในครั้งนี้ มีจำนวน 30 คน ซึ่งมีอายุระหว่าง 11-18 ปี ที่ได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง (Purposive sampling) แบ่งเป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม กลุ่มละ 15 คน กลุ่มทดลองได้รับการปรึกษากลุ่มแบบพฤติกรรมนิยม จำนวน 14 ครั้งๆ ละ 60-90 นาทีและกลุ่มควบคุมเข้ารับการอบรมตามโปรแกรมปกติของสถานพินิจ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ (1) โปรแกรมการให้การปรึกษากลุ่มแบบพฤติกรรมนิยมที่มีต่อการพัฒนาจิตสาธารณะ (2) แบบวัดจิตสาธารณะ ซึ่งมีค่าความเชื่อมั่น เท่ากับ .90 ทั้ง 2 กลุ่ม ได้รับการประเมินจิตสาธารณะก่อนทดลองและหลังทดลอง สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน Wilcoxon Matched-pairs Signed rank test และ Mann-Whitney U test ผลการวิจัยพบว่า 1) เด็กและเยาวชนที่เข้าร่วมโปรแกรมการปรึกษากลุ่มแบบพฤติกรรมนิยมที่มีต่อการพัฒนาจิตสาธารณะ มีจิตสาธารณะหลังการเข้าร่วมการทดลองสูงกว่าก่อนเข้าร่วมการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.05 (p<.05) 2) เด็กและเยาวชนที่เข้าร่วมโปรแกรมการปรึกษากลุ่มแบบพฤติกรรมนิยมที่มีต่อการพัฒนาจิตสาธารณะ มีจิตสาธารณะสูงกว่ากลุ่มที่เข้าร่วมโปรแกรมอบรมตามปกติของสถานพินิจ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.01 (p<.01) The purpose of this quasi-experimental design was to study the effect of behavioral group counseling on enhancing public mind for youths of Juvenile Observation and Protection, Pattani Province. Subjects were 30 voluntary youths purposive selected by criteria and randomized into 2 groups equally 15 in the experimental and the control. Their ages were between 11 to 18 years old. The experimental group participated in behavioral group counseling for 14 sessions. Each lasted 60-90 minutes. The control group received regular daily programs from the Juvenile Observation and Protection center. The research tools were (1) Behavioral Group Counseling Program, and (2) The Public Mind Scale with reliability coefficient .90. The statistics used to analyzed data were mean, standard deviation, Wilcoxon Matched-pairs Signed rank test and Mann-Whitney U test. The results were as follow: 1) After the trial, youths who participated in the behavioral counseling program had scores of public mind higher than those before the experiment (p<.05). 2. Those in the experiment group had scores higher than those of the control group (p<.01).th_TH
dc.language.isothth_TH
dc.publisherมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานีth_TH
dc.subjectคุ้มครองเด็กและเยาวชนth_TH
dc.subjectสถานพินิจth_TH
dc.titleผลของโปรแกรมการปรึกษากลุ่มแบบพฤติกรรมนิยมที่มีต่อการพัฒนาจิตสาธารณะของเด็กและ เยาวชนในสถานพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชน จังหวัดปัตตานีth_TH
dc.title.alternativeEffects of Behavioral Group Counseling on Enhancing Public Mind for Youths of Juvenile Observation and Protection Pattani Provinceth_TH
dc.typeThesisth_TH
dc.contributor.departmentFaculty of Education (Psychology and Counseling)-
dc.contributor.departmentคณะศึกษาศาสตร์ ภาควิชาจิตวิทยาและการแนะแนว-
Appears in Collections:286 Research

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
TC1530.pdf2.27 MBAdobe PDFView/Open


Items in PSU Knowledge Bank are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.