กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/12049
ชื่อเรื่อง: | รูปแบบการรับ-ส่งต่อข้อมูลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองเพื่อการดูแลต่อเนื่อง กรณีศึกษา : โรงพยาบาลเขาชัยสน |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | A Model of Health Information Referral System for Cerebrovascular Accident Patients : A Case Study of Khaochaison Hospital |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | กุลทัต หงส์ชยางกูร นัยนา หมันเทศ |
คำสำคัญ: | การส่งต่อผู้ป่วย พัทลุง;ผู้ป่วย การดูแล |
วันที่เผยแพร่: | 2017 |
สำนักพิมพ์: | มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ |
บทคัดย่อ: | The aim of this descriptive research was to investigate the situations and health information referral systems for cerebrovascular accident patients for continuous care. Informants were personnel involved in referral and care information systems from three levels of healthcare services units: five from Phatthalung Hospital, four from Khaochaison Hospital, and one from each of five sub-district health promotion hospitals (SHPHs). Data were collected through documentary research, interviews and focus group discussions. The study found that referral information from SHPHS to Khaochaison Hospital was on a general referral form without being recorded in the electronic database. and the patient carried the form with him/her. Patient referral information from Khaochaison Hospital to Phatthalung Hospital was sent electronically, on paper documents and telephone. For the information sent back from Phattalung Hospital to Khaochaison Hospital in the case of in- patients, a copy of continuous care record form was uploaded on the website, but in the case of out-patients, a patient referral record form on orientation and mobility rehabilitation was used without being recorded in the electronic database. and the patient carried it back. For information sent back from Khaochaison |
Abstract(Thai): | การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณนา มีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษาสถานการณ์ ปัจจุบันของการรับ – ส่งต่อข้อมูลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง และรูปแบบการรับ – ส่งต่อข้อมูล ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองเพื่อการดูแลต่อเนื่อง กรณีศึกษาโรงพยาบาลเขาชัยสน มีการคัดเลือก กลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจงจาก 3 หน่วยบริการ คือ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตําบล 5 คน โรงพยาบาลเขาชัยสน 4 คน โรงพยาบาลพัทลุง 5 คน รวม 14 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการ สัมภาษณ์และสนทนากลุ่ม เครื่องมือเป็นแบบสอบถาม และแนวคําถาม เพื่อหาความต้องการของ ข้อมูล ช่องทางการส่งต่อ ปัจจัยและแนวทางที่เกี่ยวข้องกับการจัดการข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูลเชิง ปริมาณ และข้อมูลเชิงคุณภาพโดยวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ผลการวิจัย พบว่า ระบบการรับ – ส่งต่อข้อมูลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองเพื่อไป รักษาต่อ และการส่งกลับเพื่อดูแลต่อเนื่อง ยังมีการส่งต่อข้อมูลแบบแยกส่วนกัน ไม่มีการเชื่อมโยง ข้อมูลกัน กล่าวคือ การส่งต่อข้อมูลจากโรงพยาบาลเขาชัยสนไปยังโรงพยาบาลพัทลุง ใช้โปรแกรม Thai refer และจากโรงพยาบาลพัทลุงกลับไปยังโรงพยาบาลเขาชัยสน ใช้แบบฟอร์มการส่งต่อ ผู้ป่วยกรณีเป็นผู้ป่วยนอก ซึ่งทั้ง 2 ช่องทางยังไม่มีการนําไปใช้ในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ ประจําตําบล และช่องทางผ่านทางเว็บไซด์ HHC ของโรงพยาบาลพัทลุงในกรณีผู้ป่วยใน ซึ่ง โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพประจําตําบลไม่สามารถเข้าถึงข้อมูลได้ทั้งหมด รูปแบบการรับ – ส่งต่อข้อมูลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองเพื่อการดูแลต่อเนื่อง อําเภอเขาชัยสน ควรมีช่องทางเดียวในการส่งต่อข้อมูลผู้ป่วยที่สามารถเชื่อมโยงข้อมูลกันได้ และ นําไปใช้ได้ในทุกหน่วยบริการ |
รายละเอียด: | วิทยานิพนธ์ (วท.ม. (การจัดการระบบสุขภาพ))--มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, 2560 |
URI: | http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/12049 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | 148 Thesis |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
419485.pdf | 1.06 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น