Please use this identifier to cite or link to this item:
http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/12046
Title: | ข้อจำกัดในการดำเนินการและการบังคับใช้กฎกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการและแบบการเก็บสถิติและข้อมูล การจัดทำบันทึกรายละเอียดและรายงานสรุปผลการทำงานของระบบบำบัดน้ำเสีย พ.ศ. 2555 : กรณีศึกษาจังหวัดสุราษฎร์ธานี |
Other Titles: | imitations on implementation of ministerial regulation prescribing rules, procedures, statistical and data forms, recording and reporting on the wastewater treatment system performance, B.e. 2555 (2012) : |
Authors: | พนาลี ชีวกิดาการ วรรณวิษา เพ็ชรนาจักร Faculty of Environmental Management (Environmental Management) คณะการจัดการสิ่งแวดล้อม สาขาวิชาการจัดการสิ่งแวดล้อม |
Keywords: | น้ำเสีย การบำบัด สุราษฎร์ธานี |
Issue Date: | 2017 |
Abstract: | This research aimed to 1) Investigate status and problems and conditions which could lead to the limitation for pollution source owners and local officers in Surat Thani Province to comply with the Ministerial regulation prescribing rules, procedures, statistical and data forms, recording and reporting on the wastewater treatment system performance, B.E. 2555 (2012) 2) Propose the modifications to reduce the obstacles and encourage the promotion on the effective enforcement of this Ministerial Regulation. This study used secondary data from various documents. Data collection tools were questionnaires and interviews. From this study, Ministerial regulation enforcement for 10 pollution sources which announced as pollution sources according to this regulation indicated that there were 72% of these pollution sources that complied with the regulation. Within this pollution sources, 33% had problem with daily statistical and data recording in TS1 form, 21% had problem with the monthly report in TS2 form and sent to local officer. Limitations are pollution sources, there is a problem of not recognizing that the ministerial regulations have been enforced. And do not understand the ministerial regulations. The lack of capability and person to perform the work including the lacks of understanding how to record and follow the processes to comply with the regulation were mentioned. In the group of Local Administrative Organizations, it was found that 64 % complied with the regulation. Sixty three percent of the Local Administrative Organizations had problem with the enforcement of this regulation. The problem included report receiving and giving document back as an evidence for pollution sources within 7 days and the process of data collection and send to Pollution control officer once a month were at 48% and 56% respectively. The main causes of these problems were the lack of personnel to carry out the work, no data base of pollution sources and no summary report on wastewater treatment performance from pollution sources to Local Administrative Organizations are not able to operate within the timeframe required by law. Consequently, suggestions for the improvement to reduce restriction to comply with the regulation are publicizing and training all stake-holders to be able to comply with the Ministerial regulation, designating the work and pollution control officers should follow up, database updating, monitor and supervise according to the regulation. |
Abstract(Thai): | การวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพปัญหาและเงื่อนไขต่างๆที่เป็นข้อจํากัด ของเจ้าของแหล่งกําเนิดมลพิษที่มีฐานข้อมูลชัดเจน และเจ้าพนักงานท้องถิ่นในพื้นที่จังหวัด สุราษฎร์ธานีต่อการบังคับใช้กฎกระทรวง กําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และแบบการจัดเก็บสถิติและ ข้อมูล การจัดทําบันทึกรายละเอียด และรายงานสรุปผลการทํางานของระบบบําบัดน้ําเสีย พ.ศ. 2555 และเพื่อเสนอแนวทางในการปรับปรุงแก้ไขปัญหาหรือลดข้อจํากัด และการสนับสนุนส่งเสริม ให้เกิดการบังคับใช้กฎกระทรวงฯอย่างมีประสิทธิภาพ การศึกษาใช้การรวบรวมข้อมูลทุติยภูมิจาก เอกสารต่างๆ และใช้แบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์เป็นเครื่องมือในการเก็บข้อมูล ผลการศึกษาพบว่า การบังคับใช้กฎกระทรวงนี้กับแหล่งกําเนิดมลพิษทั้ง 10 ประเภท ซึ่งเป็นการใช้กฎหมายกับข้อเท็จจริง พบว่ายังมีปัญหาค่อนข้างมาก โดยในกลุ่มแหล่งกําเนิดมลพิษ พบว่ามีแหล่งกําเนิดมลพิษร้อยละ 72 ที่ปฏิบัติตามกฎกระทรวงฯแล้ว โดยแหล่งกําเนิดมลพิษที่ ปฏิบัติตามกฎกระทรวงฯแล้ว ร้อยละ 33 มีปัญหาในการจัดทําบันทึกการทํางานของระบบบําบัดน้ําเสีย ในแต่ละวันตามแบบ ทส.1 และร้อยละ 21 มีปัญหาการจัดทํารายงานสรุปผลการทํางานของระบบ บําบัดน้ําเสียในแต่ละเดือนตามแบบ ทส.2 และส่งรายงานสรุปตามแบบ ทส.2 ต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่น โดยแหล่งกําเนิดมลพิษมีปัญหาเรื่องการไม่รับรู้ว่ามีการบังคับใช้กฎกระทรวงฯ และรับรู้แล้วแต่ไม่ เข้าใจกฎกระทรวงฯ รวมทั้งมีข้อจํากัดด้านศักยภาพและไม่มีบุคลากรในการดําเนินการ การไม่ เข้าใจวิธีการจดบันทึกและขั้นตอนการดําเนินการตามกฎกระทรวงฯ ในกลุ่มองค์กรปกครองส่วน ท้องถิ่น พบว่ามีองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นร้อยละ 64 ที่มีการปฏิบัติตามกฎกระทรวงฯแล้ว โดย องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่ปฏิบัติตามกฎกระทรวงฯแล้วร้อยละ 63 มีปัญหาจากการบังคับใช้ กฎกระทรวงฯ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นร้อยละ 48 มีปัญหาในขั้นตอนการรับรายงานและการ ออกใบรับเพื่อเป็นหลักฐานให้แก่แหล่งกําเนิดมลพิษภายใน 7 วัน และร้อยละ 56 มีปัญหาใน ขั้นตอนการรวบรวมรายงานและส่งให้เจ้าพนักงานควบคุมมลพิษอย่างน้อยเดือนละ 1 ครั้ง สาเหตุ มาจากข้อจํากัดในด้านศักยภาพขององค์กรในด้านความไม่เพียงพอของบุคลากรในองค์กรปกครอง ส่วนท้องถิ่น การไม่มีฐานข้อมูลแหล่งกําเนิดมลพิษทางน้ําในพื้นที่จึงยากที่จะติดตามการดําเนินงาน ของแหล่งกําเนิดมลพิษ และการไม่ปฏิบัติตามกฎกระทรวงฯของแหล่งกําเนิดมลพิษในพื้นที่ คือไม่ ส่งรายงานสรุปตามแบบ ทส.2 มายังองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น สามารถดําเนินการตามกรอบเวลาที่กฎหมายกําหนดให้ได้ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจึงไม่ สําหรับข้อเสนอแนะในการปรับปรุงแก้ไขปัญหาหรือลดข้อจํากัดในการบังคับใช้ กฎกระทรวงฯ โดยหน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรมีการประชาสัมพันธ์ และจัดอบรมผู้ที่เกี่ยวข้องเพื่อให้ สามารถปฏิบัติตามกฎกระทรวงฯ ได้ การมอบหมายบุคลากรในการดําเนินการ พร้อมจัดทําฐานข้อมูล แหล่งกําเนิดมลพิษให้เป็นปัจจุบัน และเจ้าพนักงานควบคุมมลพิษควรลงพื้นที่ติดตาม กํากับ ดูแล การดําเนินการตามกฎหมายของแหล่งกําเนิดมลพิษ |
Description: | วิทยานิพนธ์ (วท.ม. (การจัดการสิ่งแวดล้อม))--มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, 2560 |
URI: | http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/12046 |
Appears in Collections: | 820 Thesis |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
419490.pdf | 3.76 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in PSU Knowledge Bank are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.