กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/12037
ชื่อเรื่อง: | การคัดเลือกแบคทีเรียสังเคราะห์แสงสีม่วงที่ไม่สะสมซัลเฟอร์ที่ย่อยโปรตีนและมีฤทธิ์ยับยั้งแบคทีเรียก่อโรคกุ้ง vibrio spp. |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Selection of purple nonsulfur bacteria with ability to produce proteolytic enzyme and antivibrio activity against shrimp pathogenic vibrio spp. |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | ดวงพร คันธโชติ ณัชภัทร แสงธรรมหนอ Faculty of Science (Microbiology) คณะวิทยาศาสตร์ ภาควิชาจุลชีววิทยา |
คำสำคัญ: | แบคทีเรียสังเคราะห์แสง;กุ้ง การเลี้ยง;กุ้ง โรค;แบคทีเรียก่อโรค |
วันที่เผยแพร่: | 2017 |
สำนักพิมพ์: | มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ |
บทคัดย่อ: | The aims of this study were to select purple nonsulfur bacteria (PNSB) with ability to produce proteolytic enzyme and antivibrio activity, including affecting factors on proteolytic enzyme production of the selected PNSB. Overlay diffusion method was used to test antivibrio activity against shrimp pathogenic Vibrio spp. by 22 PNSB isolates. It was found that 12 PNSB isolates (54.55%) were able to inhibit shrimp pathogenic Vibrio spp. However, there was only one PNSB strain (4.55%), PS342b, had ability to inhibit all vibrios tested (6 isolates). Observation of inhibited shrimp pathogenic Vibrio spp. cells collected from clear zone and around clear zone using a scanning electron microscope found altered cells with many holes. Almost PNSB tested (81.82%, 18 isolates) degraded gelatin. No inhibition of shrimp pathogenic vibrios was found for co-culture between vibrios and 12 PNSB strains under conditions of microaerobic light and aerobic dark when compared with controls. Moreover, culture supernatant of 12 PNSB isolates did not inhibit shrimp pathogenic Vibrio spp. However, concentrated culture supernatants at 20 times by freeze-dry method had ability to inhibit some isolates of shrimp pathogenic vibrios. There was only 1 isolate namely PS342b was selected according to its abilities to digest protein and inhibit shrimp pathogenic Vibrio spp.; and this strain was identified as Rhodovulum sulfidophilum using 16S rRNA. Rhodovulum sulfidophilum PS342b was further studied optimal medium and conditions for proteolytic enzyme production. Glutamate-malate (GM medium) supplemented with 1.5% NaCl was the most suitable medium by giving specific growth rate and doubling time as 0.336 h and 2.066 h.; while optimal shaking speeds were between 150 and 200 rpm. GM medium containing 1.5% NaCl with replacement of (NH4)2HPO4 by 1% gelatin was used for proteolytic production under aerobic-dark conditions at 150 rpm. The use of response surface methodology with central composite design (CCD), optimum conditions for the production of proteolytic enzymes were pH 7.90, 1.30% NaCl and 29.50°C as the highest enzymatic activity up to 15.40 units per ml. The verification test confirmed the predicted values from the CCD. |
Abstract(Thai): | การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อการคัดเลือกแบคทีเรียสังเคราะห์แสงสีม่วงที่ไม่ สะสมซัลเฟอร์ที่มีฤทธิ์ยับยั้งการเจริญของแบคทีเรียก่อโรคกุ้ง Vibrio spp. และสามารถผลิต เอนไซม์ย่อยโปรตีนได้ ตลอดจนศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการผลิตเอนไซม์ย่อยโปรตีนของ แบคทีเรียสังเคราะห์แสงสีม่วงที่ไม่สะสมซัลเฟอร์ที่คัดเลือกได้ จากแบคทีเรียสังเคราะห์แสงสี ม่วงที่ไม่สะสมซัลเฟอร์ จํานวน 22 ไอโซเลท เมื่อทดสอบหาฤทธิ์ยับยั้งการเจริญของแบคทีเรีย ก่อโรคกุ้ง Vibrio spp. ด้วยเทคนิค Overlay diffusion method พบว่า มีแบคทีเรียสังเคราะห์แสง สีม่วงที่ไม่สะสมซัลเฟอร์ จํานวน 12 ไอโซเลท (54.55%) ที่สามารถยับยั้งแบคทีเรียก่อโรคกุ้ง Vibrio spp. ได้ แต่มีเพียงไอโซเลท PS342b (4.55%) ที่สามารถยับยั้งแบคทีเรียก่อโรคกุ้ง Vibrio spp. ได้ทุกไอโซเลทที่นํามาทดสอบ (6 ไอโซเลท) ซึ่งเมื่อนําเซลล์แบคทีเรียก่อโรคกุ้ง Vibrio spp. ในบริเวณวงใสและขอบวงใสการยับยั้งไปดูภายใต้กล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนแบบ ส่องกราด พบว่า เซลล์เกิดเป็นหลุม หรือรูรั่ว และพบว่า แบคทีเรียสังเคราะห์แสงสีม่วงที่ไม่ สะสมซัลเฟอร์ ส่วนใหญ่ (81.82%, 18 ไอโซเลท) สามารถย่อยสลายเจลาตินได้ ผลการ เพาะเลี้ยงร่วมกันระหว่างแบคทีเรียก่อโรคกุ้ง Vibrio spp. กับแบคทีเรียสังเคราะห์แสงสีม่วงที่ไม่ สะสมซัลเฟอร์ ทั้ง 12 ไอโซเลท ทั้งในสภาวะที่มีแสง มีอากาศน้อย และมีอากาศ ไร้แสง พบว่า ไม่สามารถยับยั้งหรือควบคุมปริมาณของแบคทีเรียก่อโรคกุ้ง Vibrio spp. ให้ลดลงได้ เมื่อ เปรียบเทียบกับชุดควบคุม อีกทั้งน้ําเลี้ยงเซลล์แบคทีเรียสังเคราะห์แสงสีม่วงที่ไม่สะสมซัลเฟอร์ ดังกล่าวก็ไม่สามารถยับยั้งแบคทีเรียก่อโรคกุ้ง Vibrio spp. ได้ แต่การทําเข้มข้นน้ําเลี้ยงเซลล์ที่ ความเข้มข้น 20 เท่า โดยวิธี Freeze-dry สามารถยับยั้งแบคทีเรียก่อโรคกุ้ง Vibrio spp. ได้ใน บางสายพันธุ์ จากการทดลองตามที่กล่าวมาสามารถคัดเลือกแบคทีเรียสังเคราะห์แสงสีม่วงที่ไม่ spp. สะสมซัลเฟอร์ได้ 1 ไอโซเลท คือ PS342b ที่มีความสามารถในการย่อยโปรตีนได้ดี และมีฤทธิ์ ยับยั้งแบคทีเรียก่อโรคกุ้ง Vibrio ได้ดี และเมื่อนําเชื้อมาบ่งชี้ชนิดด้วยเทคนิค 16S rRNA gene พบว่า ไอโซเลท PS342b เป็นเชื้อ Rhodovulum sulfidophilum ส่วนผลการ ทดสอบหาสภาวะที่เหมาะสมในการผลิตเอนไซม์ย่อยโปรตีนในการคัดเลือกอาหารและความเร็ว รอบในการเขย่าที่เหมาะสมในการเจริญ พบว่า เชื้อสามารถเจริญได้ดีที่สุดในอาหารเหลว Glutamate-Malate (GM medium) ที่เติม 1.5% NaCl โดยมีอัตราการเจริญจําเพาะและเวลาที่ ใช้เพิ่มจํานวนเซลล์เป็น 2 เท่า เท่ากับ 0.336 ชั่วโมง และ 2.066 ชั่วโมง สําหรับความเร็วรอบ ในการเขย่าที่เชื้อเจริญได้ดีที่สุด คือ 150 และ 200 รอบต่อนาที และสภาวะที่เหมาะสมในการ ผลิตเอนไซม์ย่อยโปรตีนของ Rhodovulum sulfidophilum PS342b เมื่อเลี้ยงในอาหารสูตร GM ที่เติม 1.5% NaCl โดยใช้ 1% เจลาติน แทน (NH4)2HPO, ภายใต้สภาวะมีอากาศ ไร้แสง ที่ความเร็วในการเขย่า 150 รอบต่อนาที ซึ่งศึกษาโดยใช้วิธีการพื้นผิวตอบสนองที่ออกแบบการ ทดลองเป็นแบบประสมกลาง ได้สภาวะที่เหมาะสมคือ pH เท่ากับ 7.90 ความเข้มข้นของเกลือ NaCl เท่ากับ 1.30% และอุณหภูมิ เท่ากับ 29.50 องศาเซลเซียส โดยให้ค่ากิจกรรมเอนไซม์ ถึง 15.40 ยูนิตต่อมิลลิลิตร และการทวนซ้ํายืนยันค่าที่ได้จากการทํานาย สูงสุด |
รายละเอียด: | วิทยานิพนธ์ (วท.ม. (จุลชีววิทยา))--มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, 2560 |
URI: | http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/12037 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | 326 Thesis |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
419534.pdf | 2.24 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น