Please use this identifier to cite or link to this item: http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/11948
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorอับดุลเลาะ, การีนา-
dc.contributor.authorอับดุรรอฮ์มาน, จะปะกิยา-
dc.date.accessioned2019-01-08T07:39:21Z-
dc.date.available2019-01-08T07:39:21Z-
dc.date.issued2561-
dc.identifier.urihttp://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/11948-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (ปร.ด.(อิสลามศึกษา))--มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, 2561th_TH
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา ชีวประวัติของชัยคฺมุฮัมมัดอัรชัด เบ็น อับดุลลอฮ์ อัลบันญะรีย์ ศึกษาหนังสือสะบีลุ อัลมุฮฺตะดีน ลิตตะฟักฺกุฮ ฟี อัมริดดีน ศึกษาแหล่งที่มา และประเมินสถานภาพของฮะดีษที่มีอยู่ในหนังสือ สะบีลุ อัลมุฮฺตะดีน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบบันทึกและแบบสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูลใช้ หลักการอุลูมุลฮะดีษ หลักการตัครีจญ์ หลักการอัลญัรฮฺ วะ อัตตะอฺดีล หลักการทางประวัติศาสตร์และหลักการตัรญีฮ ผลการวิจัยพบว่า 1. ชัยคฺมุฮัมหมัดอัรซัด เบ็น อับดุลลอฮ์อัลบันญะรีย์ เกิดที่ตำบลลุกฆอบัง กาลีมาตัน อินโดนีเซีย เมื่อ ปี ฮ.ศ 1122 ท่านเริ่มศึกษาศาสนาอิสลามในพระราชวังของกษัตริย์บันญัรเมื่ออายุ 7 ปี ศึกษา ณ นครมักกะฮ์ เป็นเวลา 30 ปี และศึกษา ณ นครมะดีนะฮ์ เป็นเวลา 5 ปี ท่านเป็นอุละมาอ์ชาวอินโดนีเซียคนหนึ่งที่มีผลงานด้านวิชาการมากมาย มีความรู้ ความเชี่ยวชาญวิทยาการอิสลาม มีความสามารถในการถ่ายทอดวิชาความรู้และแต่งตำราเป็นที่ยอมรับของสังคมมุสลิมด้านอากีดะฮฺ ฟิกฮฺ ตะเศาะวุฟและดาราศาสตร์ ท่านเสียชีวิตปี ฮ.ค 1227 ณ เมืองบันญัร กาลีมาตัน อินโดนีเซีย สาเหตุของการแต่งหนังสือเล่มนี้เพราะกษัตริย์ผู้ปกครองเมืองบันญัร ได้ขอให้ท่านเขียนหนังสือเกี่ยวกับศาสนาอิสลาม เพื่อแก้ปัญหาสังคมที่ไม่เข้าใจศาสนา ท่านจึงแต่งหนังสือที่ได้ชื่อว่า สะบีลุลมุฮฺตะดีน ลีตตะฟักฺกุฮ ฟี อัมริดดีนซึ่งเป็นหนังสือฟิกฺฮฺที่เริ่มจากบทว่าด้วย อัฏเฏาะฮาเราะฮฺ จนถึงบทที่ว่าด้วย อัล-อัฏอิมะฮฺ ภายในเวลา 2 ปี ในการจัดพิมพ์จะรวมหนังสือทั้ง 2 เล่มเป็นเล่มเดียว เล่มที่ 1 มีจำนวนหน้า 250 หน้า ส่วนเล่มที่ 2 มี 269 หน้า จุดเด่นและความพิเศษของหนังสือคือเป็นหนังสือเกี่ยวกับบทบัญญัติด้านการภักดีและอิบาดาตที่เกือบสมบูรณ์ เป็นหนังสือฟิกฺฮฺที่มีหลักฐานจาก อัลกุรอานและอัลฮะดีษ เป็นหนังสือที่นักวิชาการศาสนาได้ยกย่องว่าเป็นหนังสือที่ยอดเยี่ยมมีค่ามากเป็นพิเศษ 2. แหล่งที่มาของฮะดีษทั้งหมดที่ปรากฏอยู่ในหนังสือสะบีลุอัลมุฮฺตะดีน มาจากหนังสือชนิดต่างๆ คือ มีการบันทึกอยู่ในหนังสืออัลญาวามิอฺ ประกอบด้วยเศาะฮีฮอัลบุคอรีย์และเศาะฮีฮมุสลิม มีบันทึกอยู่ในหนังสืออัศเศาะฮฮาฮ ประกอบด้วยเศาะฮีฮ อิบนุ ฮิบบาน และ เศาะฮีฮ อิบนุ คุซัยมะฮ์ หนังสืออัสสุนัน สุนันอะบู ดาวูด สุนันอัตติรมิษีย์ สุนัน อันนะสาอีย์ สุนัน อุบนุ มาญะฮ์ สุนันอัดดาเราะกุฏนีย์ และอัสสุนัน อัลกุบรอ หนังสืออัลมะสานีด ประกอบด้วย มุสนัด อิมามอะฮฺมัด มุสนัดอัลบัซฺซฺาร มุสนัดอัลฮุมัยดีย์ มุสนัดอับดฺ เบ็น ฮุมัยด มุสนัดอะบี อะวานะฮ์ มุสนัดอะบู ดาวูด อัฏเฏาะยาลีสีย์ มุสนัดอะบี ยะอฺลา อัลมูศิลีย์ และมุสนัดฟิรเดาส ชองอัดดัยละมีย์ หนังสืออัลมะอาญิม ประกอบด้วย อัลมุอฺญัม อัลกะบีร อัลมุอฺญัม อัลเอาสัฏ และอัมมุอฺญัม อัศเศาะฆีร ของอัฏเฏาะบะรอนีย์ หนังสืออัลมุสตัดเราะกาต ประกอบด้วย อัลมุสตัดร๊อก อะลา อัศเศาะฮีฮัยน ของอัลอากิม อันนัยสาบูรีย์ หนังสือมุวัฏเฏาะอาต ประกอบด้วย อัลมุวัฏเฏาะอ์ ของมาลิก เบ็น อะนัส หนังสืออัลมุศ๊อนนะฟาต ประกอบด้วยมุศ๊อนนัฟ อับดุรเราะซฺซากฺ และมุศ๊อนนัฟอิบนุ อะบี ชัยบะฮ์ หนังสืออัลอัจญ์ซฺาอ์ ประกอบด้วย ชุอฺบ อัลอิมาน ของอัลบัยฮฺะกีย์ อัลอะดับ อัลมุฟร๊อด ของอัลบุคอรีย์ และ อัลฮุลิยะฮ์ อัลเอาลิยาอ์ ของอะบู นุอัยม 3. ระดับฮะดีษที่เป็นสำนวนอาหรับในหนังสือสะบีลุ อัลมุฮฺตะดีน มีทั้งหมด 277 ฮะดีษ จากการตัครีจญ์พบว่ามีฮะดีษเศาะฮีฮ ลิษฺาติฮฺมีจำนวน 175 ฮะดีษ คิดเป็นร้อยละ 63.18 ฮะดีษเศาะฮีฮ ลิฆ็อยริฮฺมีจำนวน 8 ฮะดีษ คิดเป็นร้อยละ 2.89 ฮะดีษฮะสัน ลิษฺาติฮฺมีจำนวน 9 ฮะดีษ คิดเป็นร้อยละ 3.25 ฮะดีษฮะสันลิฆ็อยริฮฺมีจำนวน 43 ฮะดีษ คิดเป็นร้อยละ 15.52 ฮะดีษเฎาะอีฟมีจำนวน 26 ฮะดีษ คิดเป็นร้อยละ 9.39 ฮะดีษเฎาะอีฟ ญิดดันมีจำนวน 9 ฮะดีษ คิดเป็นร้อยละ 3.25 ฮะดีษเมาฎูอฺมีจำนวน 5 ฮะดีษ คิดเป็นร้อยละ 1.81 และฮะดีษที่ผู้วิจัยไม่สามารถกำหนดระดับได้มีจำนวน 2 ฮะดีษ คิดเป็นร้อยละ 0.72 ฮะดีษที่อยู่ในข่ายฮะดีษมักบูลมีจำนวนทั้งหมด 235 ฮะดีษ คิดเป็นร้อยละ 84.84 และฮะดีษที่อยู่ในข่ายฮะดีษมัรดูดมีจำนวนทั้งหมด 42 ฮะดีษ คิดเป็นร้อยละ 15.16th_TH
dc.description.sponsorshipThe objectives of this study are to study the biography of Shaykh Muhammad ’Arshad bin ‘Abdullah al-Banjariy and to study the general details of the book Sabilu al-Muhtadīn li al-Tafaqquh fi Amri al-Din by studying sources of this book as well as making assessments on the status of ḥadīths mentioned in this book. The data was collected through the research tools of records and interviews, the information was analyzed by using Ulūmul Ḥadīth, Takhrīj, al-Jarh wa Ta‘dīl, historical approach and Tarjīh principles. The result of the research found that: 1. Shaykh Muhammad ’Arshad bin Abdullah al-Banjariy was born in Lok Gabang Kalimatan Indonesia on 1122 H. He began studied Islam in the king Banjariy’s palace at the age of 7 years old, studied in Makkah city for 30 years and studied at the Madīnah city for 5 years. He is Indonesian scholar, who has knowledge and technical expertise of Islamic science. He has the ability on teaching and writing the Islamic texts on aqidah, fiqh, tasauwuf and astronomy. He died in 1227 H. at Banjar Kalimatan Indonesia. Cause of the author of this book, The main reason of writing the book of Sabilu al-Muhtadīn li al-Tafaqquh fi Amri al-Din was to meet with the king of Banjar city’s demand. The king had asked him to write a book about Islam in order to solve the social problems of ignorance in religion. He began the writing of this book on the chapter of al-Tahārah and ended up with the chapter al-At’imah within the period of two years. This book consist of two volumes and they are combined for the sake of publication. Page number of this book contains of 250 pages for the volume I and 269 pages for volume II. The distinctiveness of this book is almost completely highlighted on worship and ‘ibadat which are clearly based on the evidence of al-Qur'an and al Ḥadīth. This book is regarded by the Muslim scholar as excellent and valuable Islamic academic document. 2. Sources of all ḥadīths mentioned the book Sabilu al-Muhtadīn are recorded in Jawāmi‘ books including Ṣaḥīḥ al-Bukhāriy, Ṣaḥīḥ Muslim, Ṣaḥīḥ Ibn Hibbān, Ṣaḥīḥ Ibn Khuzaimah, and al-Sunan books including Sunan Abu Dāwūd, Sunan al-Tirmidhiy, Sunan al-Nasā’iy, Sunan Ibn Mājah, Sunan al-Dār al-Quṭniy and al-Sunan al-Kubrā. The sourced of Ḥadīths are also recorded in al-Masānid books including Musnad Imām Aḥmad, Musnad al-Bazzār, Musnad al-Ḥumaidiy, Musnad abu Awānah, Musnad Abū Dāwūd al-Ṭayālisiy, Musnad Abī Ya’lā al Mūṣiliy and Musnad Firdaus by al-Dailamiy and al-Ma‘ājim books including al-Mu‘jam al-Kabīr, al-Mu‘jam al-Ausaṭ and al-Mu‘jam al-Saghīr by al-Ṭabarāniy, Finally, the Ḥadīth sources are recorded in al-Mustadrakāt books including al-Mustadrak alā al-Ṣaḥīḥain by Ḥākim al-Naisabūriy, al-Muwaṭṭa’āt books including al-Muwaṭṭa’ Imām Mālik, al-Muṣannafāt books including Muṣannaf Abd al-Razzāq and Muṣannaf Ibn Abī Shaybah and al-Ajzā’ books including Su‘b al-’Īmān by al-Baihaqiy, al-Adab al-Mufrad by al-Bukhāriy and al-Ḥuliyyah al-’Auliyā’ by Abū Nu‘iam. 3. The amount of ḥadīth included in Sabilu al-Muhtadin is 277 Regarding the level of these ḥadīth, the result of study reveals that there are 175 ḥadīths which are regarded as ḥadīth ṣaḥīḥ (authentic) representing 63.18 percentage, 8 Ḥadīth which are regarded as ḥadīth ṣaḥīḥ lighairihi, (ṣaḥīḥ due to external factors) representing 2.89 percentage, 9 ḥadīth which are regarded as ḥadīth ḥasan (Fair Reports ) representing 3.25 percentage, 43 ḥadīths which are regarded as ḥadīth ḥasan lighairihi, (ḥasan due to external factors) representing 15.52 percentage, 26 ḥadīths which are regared as ḥadīth ḍa‘īf (weak) representing 9.39 percentage, 9 ḥadīth which ared regared as ḍa‘īf jiddan (Very Weak) representing 3.25 percentage and 5 ḥadīths which are regarded as ḥadīth mawḍū‘ (the forged reports) representing 1.81 percentage. In addition, the research also find that there 2 ḥadīth which their levels could not be identified representing 0.72 percentage. In a nutshell, there are 235 ḥadīths or 84.84 % of all ḥadīths are categorized in the groups of ḥadīth maqbūl and there are 42 ḥadīths or 15.16% of all ḥadīths are classified in the groups of ḥadīth mardūd.th_TH
dc.language.isothth_TH
dc.publisherมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานีth_TH
dc.subjectศาสนาอิสลามth_TH
dc.subjectอิสลามศึกษาth_TH
dc.titleตัครีจญ์ตัวบทฮะดีษในหนังสือสะบีลุ อัลมุฮฺตะดีน ของชัยคฺมุฮัมมัดอัรชัด เบ็น อับดุลลอฮ์ อัลบันญะรีย์th_TH
dc.title.alternativeThe TakhrIj of HadIth Texts in the Book Sabilu al-MuhtadIn of Shaykh Muhammad ’Arshad bin ‘Abdullah al-Banjariyth_TH
dc.typeThesisth_TH
dc.contributor.departmentCollege of Islamic Studies (Islamic Studies)-
dc.contributor.departmentวิทยาลัยอิสลามศึกษา (อิสลามศึกษา)-
Appears in Collections:761 Thesis

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
TC1511.pdf14.29 MBAdobe PDFView/Open


Items in PSU Knowledge Bank are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.