กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/11847
ชื่อเรื่อง: | การหาอายุด้วยเทคนิคเทอร์โมลูมิเนสเซนซ์ของซากหอยน้ำจืดและตะกอนดิน บริเวณแหล่งโบราณคดีถ้ำทวดตา ทวดยาย จังหวัดสงขลา |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Thermoluminescence Dating of Freshwater Shells and Sediments in Thudta Thudyai Historical Cave Songkhla Province |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | วิชัยดิษฐ, ธิดารัตน์ อาแด, ดาวียะห์ |
คำสำคัญ: | เทคนิคเทอร์โมลูมิเนสเซนซ์ |
วันที่เผยแพร่: | 2560 |
สำนักพิมพ์: | มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี |
บทคัดย่อ: | แหล่งโบราณคดีถ้ำทวดตา ทวดยาย จังหวัดสงขลา ทางภาคใต้ของประเทศไทย เป็นหนึ่งพื้นที่ที่น่าสนใจ มีการขุดพบหลักฐานทางโบราณคดีจำนวนมาก งานวิจัยนี้เป็นการศึกษาการกำหนดหาอายุด้วยเทคนิคเทอร์โมลูมิเนสเซนซ์ของซากหอยน้ำจืด และตะกอนดินบริเวณแหล่งโบราณคดีถ้ำทวดตา ทวดยาย จังหวัดสงขลา ทำการศึกษาตัวอย่างซากหอยน้ำจืด และตะกอนดินที่ขุดพบที่ระดับความลึกต่างกัน 3 ระดับ โดยทำการสกัดเพื่อให้ได้ผลึกอราโกไนท์-แคลไซต์จากซากหอยน้ำจืด และและผลึกควอทซ์จากตะกอนดิน ตามลำดับ แล้ววัดปริมาณรังสีสะสมและปริมาณรังสีต่อปีเพื่อนำข้อมูลที่ได้ไปคำนวณหาอายุของซากหอยน้ำจืด และตะกอนดินจากการรับรังสีในธรรมชาติ ซึ่งไม่ปรากฎผลึกควอทซ์ในตัวอย่างตะกอนดิน จึงไม่สามารถนำไปวิเคราะห์อายุได้ และพบว่าปริมาณรังสีต่อปีของตัวอย่าง SH1, SH2 และ SH3 เท่ากับ 0.272 mGy/a, 0.277 mGy/a และ 0.297 mGy/a ตามลำดับ และปริมาณรังสีสะสมของ SH1, SH2 และ SH3 เท่ากับ 1.24 Gy, 2.81 Gy และ 2.75 Gy ตามลำดับ ผลการวัดนำไปคำนวณค่าอายุซากหอยน้ำจืด SH1, SH2 และ SH3 ได้เท่ากับ 4,543 ปี, 10,153 ปี และ 9,269 ตามลำดับ ซึ่งสอดคล้องกับผลงานวิจัยของกรมศิลปากรที่ 13 สงขลา กรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรมรายงานผล คิดเป็นร้อยละความแตกต่างของอายุจากงานวิจัยกับผลการวิเคราะห์ด้วยเทคนิคคาร์บอน 14 เท่ากับ 31.27, 5.11 และ 8.50 ตามลำดับ Thudta Thudyai Historical Cave Songkhla Province, southern Thailand is the attractive place that many antique objects were discovered. The research have focused on archaeological age from a freshwater shells and sediment samples obtained at different depths from the Thudta Thudyai Historical Cave by performing a thermoluminescence technique. The aragonite and calcite were extracted from the Freshwater Shells samples and quartz were extracted from the sediment samples. These samples then were used to measure an accumulated dose and an annual dose from radiation exposure in nature in order to estimate dating of the freshwater shells and Sediment samples. Quartz were not found in sediment samples therefore, age analysis could not be calculated.The annual dose of SH1, SH2 and SH3 was 0.272 mGy/a, 0.277 mGy/a และ 0.297 mGy/a respectively, and the accumulated dose of SH1, SH2 and SH3 was 1.24 Gy, 2.81 Gy and 2.75 Gy, respectively. The results of SH1, SH2 and SH3 were calculated as 4,543 year, 10,153 year and 9,269 year respectively, according to the results of the research by the fine arts department ministry of culture (Songkhla). The different research by using carbon 14 samples of the former and current result can be calculated by percentage as 31.27, 5.11 and 8.50 respectively. |
รายละเอียด: | วิทยานิพนธ์ (วท.ม.(ฟิสิกส์ประยุกต์))--มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, 2560 |
URI: | http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/11847 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | 722 Thesis |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
TC1488.pdf | 5.37 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น