Please use this identifier to cite or link to this item:
http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/11842
Title: | ความต้องการการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยของผู้เรียนในจังหวัดปัตตานี |
Other Titles: | Non Formal and Informal Education Needs of the Learners in Pattani Province |
Authors: | ชนประชา, ศักรินทร์ ล่าเห, มุตตาฝา Faculty of Education (Education) คณะศึกษาศาสตร์ ภาควิชาการศึกษา |
Keywords: | การศึกษาตามอัธยาศัย;การศึกษานอกระบบ |
Issue Date: | 2560 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี |
Abstract: | การวิจัยเรื่อง ความต้องการการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยของผู้เรียนในจังหวัดปัตตานี มีวัตถุประสงค์ 1)เพื่อศึกษาความต้องการการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยของผู้เรียนในจังหวัดปัตตานี ด้านการศึกษาขั้นพื้นฐานนอกระบบ ด้านการศึกษาต่อเนื่อง และการศึกษาตามอัธยาศัย2) เพื่อศึกษาเปรียบเทียบความต้องการการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยของผู้เรียนในจังหวัดปัตตานี จำแนกตามเพศ อายุ ระดับการศึกษา อาชีพ และรายได้ 3)เพื่อศึกษาความคิดเห็นเรื่องปัญหาและข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการจัดการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยของผู้เรียนในจังหวัดปัตตานี 4)เพื่อเสนอแนวทางการจัดการศึกษานอกระบบและการจัดการศึกษาตามอัธยาศัยของผู้เรียนในจังหวัดปัตตานีกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ เป็นผู้เรียนของศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยในจังหวัดปัตตานี ที่มีอายุตั้งแต่ 15 ปีขึ้นไป ซึ่งได้มาจากการสุ่มกลุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน ตามสัดส่วนจำนวนอำเภอของผู้เรียนในจังหวัดปัตตานี โดยใช้การสุ่มคุกกี้ จากนั้นได้ประมาณค่ากลุ่มตัวอย่างโดยการใช้สูตรการคำนวณ กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างของ ทาโร่ ยามาเน่ ได้กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 393 คน และเลือกกลุ่มตัวอย่างโดยวิธีการสุ่มแบบแบ่งชั้น จากผลการวิจัยพบว่า 1) กลุ่มตัวอย่างมีความต้องการการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า ด้านการศึกษาขั้นพื้นฐานนอกระบบ ด้านการศึกษาต่อเนื่อง และด้านการศึกษาตามอัธยาศัย ผู้เรียนมีความต้องการแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 2) ผู้เรียนที่มี อายุ ระดับการศึกษา และรายได้ที่ต่างกัน มีความต้องการการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย โดยรวมแตกต่างกัน อย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า ผู้เรียนมีความต้องการแตกต่างกัน อย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ทุกด้าน ยกเว้นผู้เรียนที่มี อาชีพที่ต่างกัน มีความต้องการการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย โดยรวมแตกต่างกัน อย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า ผู้เรียนมีความต้องการด้านการศึกษาขั้นพื้นฐานนอกระบบ และด้านการศึกษาตามอัธยาศัยมีความต้องการแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ส่วนด้านการศึกษาต่อเนื่อง ผู้เรียนมีความต้องการแตกต่างกัน อย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .013) จากการศึกษาความคิดเห็นเรื่องปัญหาและข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการจัดการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย พบว่าผู้เรียนมีความคิดเห็นเรื่องปัญหาและข้อเสนอแนะใน กระบวนการเรียน เวลาเรียน สื่อการเรียน กิจกรรมการเรียน และวิชาเรียนเป็นต้น 4) แนวทางการจัดการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย ควรจัดการศึกษาให้ตอบสนองความต้องการของผู้เรียน เช่น ความต้องการการศึกษาต่อ ความคาดหวังของผู้เรียนในการศึกษาต่อในระดับที่สูงขึ้น กิจกรรมทุกๆกิจกรรมนั้นผู้สอนควรส่งเสริมให้ผู้เรียนสามารถนำความรู้ที่ได้ ไปใช้ได้จริงในชีวิตประจำวัน พร้อมทั้งผู้สอนควรมีระบบจัดให้คำปรึกษา การให้บริการ และข้อเสนอแนะ แนวทางแก่ผู้เรียนเป็นรายบุคคล เนื่องจากผู้เรียนแต่ละคนจะมีความต้องการที่แตกต่างกันไป The purposes of this research were to. 1) To study non-formal and informal education needs of the learners in Pattani province in three aspects: basic non formaleducation, continuing education and informal education.2) To compare non formal and informal education needs of the learners in Pattani provinceclassified by variables: gender, age, educational level, occupation, and income.3) To study an opinion about problems and suggestions on non-formal and informal education needs of the learners in Pattani province.4) Gather suggestions for providing study non-formal and informal education needs of the learners in Pattani province.The sample group are the learners from non formal education and informal education center in Pattani province, age of 15 years oldand much more than. They are chosen in multi stage sampling by the size of the learners in each district in Pattani provinceby cookies sampling, thenestimate the group of sampling’s formula. The group sample specifying of Mr.Taro Yamane get 393 members of group sample and choose the group sample byusing stratified random sampling. The research results were found as follows: 1) The sample had different need non formal and informal education at the significant level of .01.In consideration with three aspects foundthat, the sample had different needs in term of basic non-formal education, continuing education and informal education at the significant level of .01 2) The sample with different age, educational level, occupation and income had no different need on non-formal and informal education as a whole. In consideration with three aspects found that, the sample with different age, educational level and income had no different need on non-formal and informal education while the sample with different occupation had different needs in term of basic non-formal education and informal education at the significant level of .01 in contrast continuing education had on different. 3) Learner’s opinion about problems and suggestions on non-formal and informal education such as learning process,time, learning materials, learning activities and subjects. 4) The suggestions for providing on formal and informal education were as follows: to provide education response to the learner’s needs such as continuing education need, learner’s expectation to study at a higher level, teacher should organize activity to promote learner to be able to apply in daily life and also organize the counseling system to serve individual learner due to learner had different need. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (ศษ.ม.(การศึกษาเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน))--มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, 2560 |
URI: | http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/11842 |
Appears in Collections: | 270 Thesis |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
TC1483.pdf | 1.18 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in PSU Knowledge Bank are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.