Please use this identifier to cite or link to this item:
http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/11830
Title: | การสร้างเครือข่ายความสัมพันธ์ทางสังคมของกลุ่มอนุรักษ์อ่าวปัตตานี |
Other Titles: | Social Relationship Network Construction of Pattani Bay Conservative Group |
Authors: | ทองแท้, เพ็ญพักตร์ เหาะเจริญ, ศิรดา Faculty of Humanities and Social Sciences (Social Sciences) คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ภาควิชาสังคมศาสตร์ |
Keywords: | อนุรักษ์;สิ่งแวดล้อม |
Issue Date: | 2559 |
Abstract: | การวิจัยเชิงคุณภาพนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาพัฒนาการของเครือข่ายกลุ่มอนุรักษ์อ่าวปัตตานี 2) วิเคราะห์ลักษณะความสัมพันธ์ทางสังคมของเครือข่ายกลุ่มอนุรักษ์อ่าวปัตตานี และ 3) ค้นหาการสร้างเครือข่ายความสัมพันธ์ทางสังคมของกลุ่มอนุรักษ์อ่าวปัตตานี กลุ่มเป้าหมาย มีทั้งหมด 30 คน จากการสุ่มตัวอย่างแบบเจาะจงและแบบลูกโซ่ ประกอบด้วย ประธานชุมชนและสมาชิกกลุ่มอนุรักษ์อ่าวปัตตานี ชาวบ้าน ผู้นำศาสนา ผู้นำชุมชน และเจ้าหน้าที่หรือนักวิชาการประจำโครงการทั้งภาครัฐและเอกชน เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ การสัมภาษณ์เจาะลึก การสนทนากลุ่ม และการสังเกตแบบไม่มีส่วนร่วม แล้ววิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหาแบบพรรณาความ และตรวจสอบข้อมูลแบบสามเส้า ผลการวิจัยพบว่า พัฒนาการของเครือข่ายกลุ่มอนุรักษ์อ่าวปัตตานีแบ่งเป็น 4 ระยะ ได้แก่ 1) ระยะการก่อตัวของเครือข่าย 2) ระยะการขยายตัวหรือประสานความร่วมมือ 3) ระยะการดำเนินงานตามเป้าหมาย และ 4) ระยะภายหลังจากการดำเนินงานตามเป้าหมาย ส่วนลักษณะความสัมพันธ์ทางสังคมของกลุ่มอนุรักษ์อ่าวปัตตานีเป็นความสัมพันธ์เชิงซ้อนในระดับบุคคลต่อบุคคล บุคคลต่อกลุ่ม กลุ่มต่อกลุ่ม กลุ่มต่อเครือข่าย และเครือข่ายต่อเครือข่าย สำหรับ การสร้างความสัมพันธ์ทางสังคมของกลุ่มอนุรักษ์อ่าวปัตตานี พบว่า เริ่มต้นจากการมีทัศนะและประสบการณ์ร่วมกัน จากนั้นมีการติดต่อสื่อสารอย่างใกล้ชิด และมีการประสานผลประโยชน์ ด้วยการบริหารจัดการอย่างยุติธรรม พร้อมกับการเคลื่อนไหวทางสังคมของเครือข่ายอย่างต่อเนื่อง จนนำมาซึ่งความสำเร็จตามเป้าหมายของเครือข่าย เพื่ออนุรักษ์และฟื้นฟูทรัพยากรในอ่าวปัตตานี การวิจัยเชิงคุณภาพนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาพัฒนาการของเครือข่ายกลุ่มอนุรักษ์อ่าวปัตตานี 2) วิเคราะห์ลักษณะความสัมพันธ์ทางสังคมของเครือข่ายกลุ่มอนุรักษ์อ่าวปัตตานี และ 3) ค้นหาการสร้างเครือข่ายความสัมพันธ์ทางสังคมของกลุ่มอนุรักษ์อ่าวปัตตานี กลุ่มเป้าหมาย มีทั้งหมด 30 คน จากการสุ่มตัวอย่างแบบเจาะจงและแบบลูกโซ่ ประกอบด้วย ประธานชุมชนและสมาชิกกลุ่มอนุรักษ์อ่าวปัตตานี ชาวบ้าน ผู้นำศาสนา ผู้นำชุมชน และเจ้าหน้าที่หรือนักวิชาการประจำโครงการทั้งภาครัฐและเอกชน เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ การสัมภาษณ์เจาะลึก การสนทนากลุ่ม และการสังเกตแบบไม่มีส่วนร่วม แล้ววิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหาแบบพรรณาความ และตรวจสอบข้อมูลแบบสามเส้า ผลการวิจัยพบว่า พัฒนาการของเครือข่ายกลุ่มอนุรักษ์อ่าวปัตตานีแบ่งเป็น 4 ระยะ ได้แก่ 1) ระยะการก่อตัวของเครือข่าย 2) ระยะการขยายตัวหรือประสานความร่วมมือ 3) ระยะการดำเนินงานตามเป้าหมาย และ 4) ระยะภายหลังจากการดำเนินงานตามเป้าหมาย ส่วนลักษณะความสัมพันธ์ทางสังคมของกลุ่มอนุรักษ์อ่าวปัตตานีเป็นความสัมพันธ์เชิงซ้อนในระดับบุคคลต่อบุคคล บุคคลต่อกลุ่ม กลุ่มต่อกลุ่ม กลุ่มต่อเครือข่าย และเครือข่ายต่อเครือข่าย สำหรับ การสร้างความสัมพันธ์ทางสังคมของกลุ่มอนุรักษ์อ่าวปัตตานี พบว่า เริ่มต้นจากการมีทัศนะและประสบการณ์ร่วมกัน จากนั้นมีการติดต่อสื่อสารอย่างใกล้ชิด และมีการประสานผลประโยชน์ ด้วยการบริหารจัดการอย่างยุติธรรม พร้อมกับการเคลื่อนไหวทางสังคมของเครือข่ายอย่างต่อเนื่อง จนนำมาซึ่งความสำเร็จตามเป้าหมายของเครือข่าย เพื่ออนุรักษ์และฟื้นฟูทรัพยากรในอ่าวปัตตานี การวิจัยเชิงคุณภาพนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาพัฒนาการของเครือข่ายกลุ่มอนุรักษ์อ่าวปัตตานี 2) วิเคราะห์ลักษณะความสัมพันธ์ทางสังคมของเครือข่ายกลุ่มอนุรักษ์อ่าวปัตตานี และ 3) ค้นหาการสร้างเครือข่ายความสัมพันธ์ทางสังคมของกลุ่มอนุรักษ์อ่าวปัตตานี กลุ่มเป้าหมาย มีทั้งหมด 30 คน จากการสุ่มตัวอย่างแบบเจาะจงและแบบลูกโซ่ ประกอบด้วย ประธานชุมชนและสมาชิกกลุ่มอนุรักษ์อ่าวปัตตานี ชาวบ้าน ผู้นำศาสนา ผู้นำชุมชน และเจ้าหน้าที่หรือนักวิชาการประจำโครงการทั้งภาครัฐและเอกชน เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ การสัมภาษณ์เจาะลึก การสนทนากลุ่ม และการสังเกตแบบไม่มีส่วนร่วม แล้ววิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหาแบบพรรณาความ และตรวจสอบข้อมูลแบบสามเส้า ผลการวิจัยพบว่า พัฒนาการของเครือข่ายกลุ่มอนุรักษ์อ่าวปัตตานีแบ่งเป็น 4 ระยะ ได้แก่ 1) ระยะการก่อตัวของเครือข่าย 2) ระยะการขยายตัวหรือประสานความร่วมมือ 3) ระยะการดำเนินงานตามเป้าหมาย และ 4) ระยะภายหลังจากการดำเนินงานตามเป้าหมาย ส่วนลักษณะความสัมพันธ์ทางสังคมของกลุ่มอนุรักษ์อ่าวปัตตานีเป็นความสัมพันธ์เชิงซ้อนในระดับบุคคลต่อบุคคล บุคคลต่อกลุ่ม กลุ่มต่อกลุ่ม กลุ่มต่อเครือข่าย และเครือข่ายต่อเครือข่าย สำหรับ การสร้างความสัมพันธ์ทางสังคมของกลุ่มอนุรักษ์อ่าวปัตตานี พบว่า เริ่มต้นจากการมีทัศนะและประสบการณ์ร่วมกัน จากนั้นมีการติดต่อสื่อสารอย่างใกล้ชิด และมีการประสานผลประโยชน์ ด้วยการบริหารจัดการอย่างยุติธรรม พร้อมกับการเคลื่อนไหวทางสังคมของเครือข่ายอย่างต่อเนื่อง จนนำมาซึ่งความสำเร็จตามเป้าหมายของเครือข่าย เพื่ออนุรักษ์และฟื้นฟูทรัพยากรในอ่าวปัตตานี The objective of this qualitative research were 1) to study the social network development of Pattani bay conservative group 2) to analyze the aspects of the relationship of Pattani bay conservative group and 3) to find out the methods of social relationship network construction of Pattani Bay Conservative Group's formation. There are 30 samples by purposive and snowball sampling techniques. The target group is composed of the leaders and members of Pattani bay conservative, the villagers, the religious leaders, the community leaders and the officers of government and non-governmental organization. Tools used in the research were an in-depth interview, group discussion, and non-participant observation. Then analyzes the data by content descriptive analysis technique and data verification by triangulation technique. The research result found that 1) the development of a network of the social network development of Pattani bay conservative group can be divided into 4 steps 1.1) the formation of network 1.2) the expansion of the network 1.3) the implementation of network and 1.4) after the implementation of network 2) the aspects of the relationship of Pattani bay conservative group: it comprises 5 levels of complex relationship. The levels consist of person to person, person to group, group to group, group to network, and network to network. 3) The methods of social relationship network construction of Pattani Bay Conservative Group's formation: starting from the identical standpoints and experiences, then intimate communication and advantage coordination justly as well as continuous social movement. Finally, this network will achieve their objectives. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม.(การบริหารการพัฒนาสังคม))--มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, 2559 |
URI: | http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/11830 |
Appears in Collections: | 427 Thesis |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
TC1422.pdf | 5.03 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in PSU Knowledge Bank are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.