กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/11797
ชื่อเรื่อง: | สภาพและปัญหาการจัดการเรียนการสอนอิสลามศึกษาในโรงเรียนของรัฐที่ใช้หลักสูตรอิสลามศึกษา (แบบเข้ม) จังหวัดนราธิวาส |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | States and Problems of Learning and Teaching of Islamic Studies in Government Schools Using Intensive Islamic Studies Program in Narathiwat Province |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | แวอุเซ็ง, นิเลาะ หะยีมะ, อิรฟัน College of Islamic Studies (Islamic Studies) วิทยาลัยอิสลามศึกษา (อิสลามศึกษา) |
คำสำคัญ: | ศาสนาอิสลาม;อิสลามศึกษา |
วันที่เผยแพร่: | 2560 |
สำนักพิมพ์: | มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี |
บทคัดย่อ: | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาสภาพและปัญหาการจัดการเรียนการสอนอิสลามศึกษาในโรงเรียนของรัฐที่ใช้หลักสูตรอิสลามศึกษา (แบบเข้ม) จังหวัดนราธิวาส 2)เพื่อศึกษาเปรียบเทียบสภาพและปัญหาการจัดการเรียนการสอนอิสลามศึกษาในโรงเรียนของรัฐ ที่ใช้หลักสูตรอิสลามศึกษา (แบบเข้ม) จังหวัดนราธิวาส โดยจำแนกตามตัวแปรเพศ ตำแหน่งการปฏิบัติหน้าที่ และวุฒิการศึกษาทางศาสนาและสามัญ และ 3) เพื่อรวบรวมข้อเสนอแนะแนวทางการพัฒนาในการจัดการเรียนการสอนอิสลามศึกษาในโรงเรียนของรัฐ ที่ใช้หลักสูตรอิสลามศึกษา (แบบเข้ม) จังหวัดนราธิวาส ประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ประกอบด้วย กลุ่มตัวอย่างผู้ตอบแบบสอบถาม ได้แก่ ครูอิสลามศึกษา จำนวน 224 คน ในโรงเรียนของรัฐที่ใช้หลักสูตรอิสลามศึกษา(แบบเข้ม) จังหวัดนราธิวาส สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษานราธิวาส เขต 1,2 และ 3 รวมทั้งหมด 3 เขต ได้มาด้วยการสุ่ม ส่วนกลุ่มเป้าหมายในการสัมภาษณ์ ได้แก่ ประชากรผู้บริหาร จำนวนทั้งหมด9 คน โดยการเลือกแบบเจาะจง ผลการวิจัยพบว่า 1. สภาพการจัดการเรียนการสอนอิสลามศึกษาตามความเห็นของครูสอนอิสลามศึกษาในภาพรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก และปัญหาการจัดการเรียนการสอนอิสลามศึกษาตามความเห็นของครูสอนอิสลามศึกษาในภาพรวมและรายด้านอยู่ในระดับปานกลาง 2. การเปรียบเทียบระดับความคิดเห็นของครูสอนอิสลามศึกษาในสภาพการจัดการเรียนการสอนอิสลามศึกษาในโรงเรียนของรัฐที่ใช้หลักสูตรอิสลามศึกษา (แบบเข้ม) จังหวัดนราธิวาส จำแนกตามเพศ ตำแหน่งการปฏิบัติหน้าที่ วุฒิการศึกษา(ศาสนา) วุฒิการศึกษา(สามัญ) โดยภาพรวมไม่แตกต่างกัน 3. ข้อเสนอแนะแนวทางการพัฒนาเกี่ยวกับการจัดการเรียนการสอนอิสลามศึกษาในโรงเรียนของรัฐที่ใช้หลักสูตรอิสลามศึกษา (แบบเข้ม) จังหวัดนราธิวาส การพัฒนามากที่สุด ด้านสื่อการเรียนการสอน คือ ผลิตสื่อให้มากๆ มีความหลากหลายและทันสมัย The present study aimed to 1) examine states and problems of teaching and learning Islamic studies in the selected public schools that implement intensive Islamic studies curriculum in Narathiwat province, 2) compare states and problems of teaching and learning Islamic studies in the selected public schools based on gender, work positions, religious and academic educational qualifications and 3) compile suggestions regarding guidelines for development of teaching and learning Islamic studies in the schools. The research questionnaire data was collected from 224 randomly selected Islamic studies teachers from the selected public schools that implement intensive Islamic studies curriculum, under the educational service area 1, 2 and 3 in Narathiwat province. The interview data was collected from 9 purposely selected school administrators. The Results of the Study 1. The overall level and each dimension’s level of states of teaching and learning Islamic studies, as perceived by Islamic studies teachers, were high. Whereas the overall level and each dimension’s level of problems in teaching and learning Islamic studies, as perceived by Islamic studies teachers, were moderate. 2. The results of comparison of the states of teaching and learning Islamic studies, as perceived by Islamic studies teachers, based on gender, work positions, religious and academic educational qualifications showed that there were no overall significant differences between groups with respect to this demographic data. |
รายละเอียด: | วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม.(อิสลามศึกษา))--มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, 2560 |
URI: | http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/11797 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | 761 Thesis |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
TC1466.pdf | 8.09 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น