กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/11786
ชื่อเรื่อง: ผลของการจัดการเรียนรู้อิงแนวคิดจิตตปัญญาที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความพึงพอใจในการเรียนวิชาภาษาไทยของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Effects of the Contemplative Learning Approach on Learning Achievement and Learning Satisfaction in Thai Subject of Grade Seventh Students
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: อริยา, คูหา
รอนิง, ฟาฎีลัด
Faculty of Education (Psychology and Counseling)
คณะศึกษาศาสตร์ ภาควิชาจิตวิทยาและการแนะแนว
วันที่เผยแพร่: 2560
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาภาษาไทยของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้อิงแนวคิดจิตตปัญญาและการจัดการเรียนรู้แบบปกติ ระหว่างก่อนและหลังได้รับการจัดการเรียนรู้ 2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความพึงพอใจในการเรียนวิชาภาษาไทยของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 หลังได้รับการจัดการเรียนรู้ระหว่างการจัดการเรียนรู้อิงแนวคิดจิตตปัญญาและการจัดการเรียนรู้แบบปกติ กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนสมานมิตรวิทยา อำเภอยี่งอ จังหวัดนราธิวาส ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2559 จำนวน 60 คน โดยแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม กลุ่มละ 30 คน เครื่องมือที่ใช้ได้แก่ 1) แผนการจัดการเรียนรู้อิงแนวคิดจิตตปัญญา จำนวน 7 แผน 2) แผนการจัดการเรียนรู้แบบปกติจำนวน 7 แผน 3) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาภาษาไทยมีค่าความเชื่อมั่น .80 4) แบบสอบถามความพึงพอใจในการเรียน มีค่าความเชื่อมั่น .80 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าเฉลี่ย (X̄) ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D) ค่าสถิติทดสอบ t (t-test) และการวิเคราะห์ความแปรปรวนพหุคูณ One Way Manova ผลการวิจัยพบว่า นักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้อิงแนวคิดจิตตปัญญามีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาภาษาไทยหลังได้รับการจัดการเรียนรู้สูงกว่าก่อนการจัดการเรียนรู้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ ระดับ .01 นักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบปกติมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาภาษาไทยหลังได้รับการจัดการเรียนรู้สูงกว่าก่อนการจัดการเรียนรู้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 นักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้อิงแนวคิดจิตตปัญญามีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาภาษาไทยหลังได้รับการจัดการเรียนรู้สูงกว่านักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบปกติอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 นักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้อิงแนวคิดจิตตปัญญามีความพึงพอใจในการเรียนวิชาภาษาไทยหลังได้รับการจัดการเรียนรู้สูงกว่านักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบปกติอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 The purposes of this research were 1) to compare learning achievements in Thai Subject of Grade Seventh Students who taught through the Contemplative Learning Approach with the traditional teaching between before and after treatment; and 2) to compare learning achievements and learning satisfactions of seventh grade students after taught through the Contemplative Learning Approach and the traditional teaching. The sample composed of 60 students divided into 2 groups i.e., the experimental and control group of 30 each of grade seventh in the second semester of the academic year 2016 from Smanmitr Wittaya School, Yi-ngo district, Narathiwat Province. The tools were 7 the Contemplative Learning Approach lesson plans as well as 7 the traditional lesson plans, Thai subject learning achievement test with reliability at .80; and satisfaction questionnaire with reliability at .80. The data were analysed by using X), S.D, t-test and One Way Manova. The research revealed that : After treatment, students who taught through the Contemplative Learning Approach gained higher scored before treatment with the level of significance at .01. After treatment, students who taught through the traditional teaching gained higher scored before treatment with the level of significance at .01. Students who taught through the Contemplative Learning Approach showed the higher score on learning achievement in Thai subject higher than those who taught through the traditional teaching with the level of significance at .05 Students who taught through the Contemplative Learning Approach showed higher score on Learning Satisfaction in Thai subject higher than those who taught through the traditional teaching with the level of significance at .05
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม.(วิชาจิตวิทยา))--มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, 2560
URI: http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/11786
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:286 Thesis

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
TC1454.pdf2.14 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น