Please use this identifier to cite or link to this item:
http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/11785
Title: | ผลของการจัดการเรียนรู้อิงแนวคิดจิตตปัญญาวิชาจิตวิทยาสำหรับครู ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความพร้อมในการเรียนรู้ด้วยการชี้นำตนเองของนักศึกษาที่มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนต่างกัน |
Other Titles: | Effects of Contemplative Learning in Psychology for Teachers on Learning Achievement and Self-Directed Learning Readiness of Students with Different Learning Levels of Achievement |
Authors: | คูหา, อริยา ปัญจะเพ็ชรแก้ว, อรรถพล Faculty of Education (Psychology and Counseling) คณะศึกษาศาสตร์ ภาควิชาจิตวิทยาและการแนะแนว |
Keywords: | การจัดการเรียนรู้;ผลสัมฤิทธิ์ทางการเรียน |
Issue Date: | 2560 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี |
Abstract: | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการจัดการเรียนรู้อิงแนวคิดจิตตปัญญาวิชาจิตวิทยาสำหรับครูที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความพร้อมในการเรียนรู้ด้วยการชี้นำตนเองของนักศึกษาที่มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนต่างกัน กลุ่มตัวอย่างเป็นนักศึกษาชั้นปีที่ 2 วิชาเอกพลศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ สถาบันการพลศึกษา วิทยาเขตยะลา ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2557 จำนวน 64 คน โดยแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มที่มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูง 32 คน และกลุ่มที่มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนต่ำ 32 คน โดยใช้เวลาในการทดลอง 9 สัปดาห์ สัปดาห์ละ 2 ชั่วโมง เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ 1) แผนการจัดการเรียนรู้อิงแนวคิดจิตตปัญญา จำนวน 9 แผน 2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน มีค่าความเชื่อมั่น .70 3) แบบประเมินความพร้อมในการเรียนรู้ด้วยการชี้นำตนเอง มีค่าความเชื่อมั่น .82 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่ามัชฌิมเลขคณิต ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที (t-test) และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบ Pearson Product-Moment ผลการวิจัยพบว่า นักศึกษาที่ได้รับการจัดการเรียนรู้อิงแนวคิดจิตตปัญญามีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาจิตวิทยาสำหรับครูหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาจิตวิทยาสำหรับครูของนักศึกษาที่มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูง สูงกว่า นักศึกษาที่มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนต่ำ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ความพร้อมในการเรียนรู้ด้วยการชี้นำตนเองหลังเรียน สูงกว่าความพร้อมในการเรียนรู้ด้วยการชี้นำตนเองก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ความพร้อมในการเรียนรู้ด้วยการชี้นำตนเองของนักศึกษาที่มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูง สูงกว่านักศึกษาที่มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนต่ำ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของคะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษาที่มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงมีความสัมพันธ์ทางบวกกับ ด้านที่ 1 การเปิดโอกาสต่อการเรียนรู้ (r = 0.457) และด้านที่ 4 ความรับผิดชอบต่อการเรียนรู้ของตนเอง (r = 0.237) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ส่วนความสัมพันธ์ทางบวกกับ ด้านที่ 8 ความสามารถใช้ทักษะศึกษาหาความรู้และทักษะ การแก้ปัญหา (r = 0.191) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของคะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษาที่มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนต่ำมีความสัมพันธ์ทางบวกกับ ด้านที่ 3 ความคิดริเริ่มเรียนรู้ด้วยตนเอง (r = 0.316) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และด้านที่ 4 ความรับผิดชอบต่อการเรียนรู้ของตนเอง (r = 0.197) และ ด้านที่ 8 ความสามารถใช้ทักษะศึกษาหาความรู้และทักษะการแก้ปัญหา (r = 0.182) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 The purposes of this study were to find out effects of Contemplative Learning approach in Psychology for Teacher subject towards learning achievement and self-directed learning readiness of students with different learning academic achievement levels. The subjects of the study were the Second Year Students from Physical Education Major, Faculty of Education of, the Institute of Physical Education, Yala in the Second Semester of Academic Year 2014. Samples were 64 Students divided into 2 groups 64 each i e., high academic achievement and low academic achievement. Tools used were 1) 9 Contemplative Learning lessons plan teaching in 9 weeks 2) Test of achievement in Psychology for Teachers with the reliability of .70 and 3) test of Self-Directed Learning with the reliability of .82 Data analyzed by using Average, Standard Deviation, T (t-test) and the Correlation Pearson Product-Moment. The results revealed that: Students who taught through Contemplative Learning approach gained higher scored after treatment than before treatment with the level of significant at .05 Learning Achievement in Psychology for Teacher subject of the students with high academic achievement showed higher scores than that low academic achievement with the level of significant at .05 Self-Directed Learning readiness of the students gained higher scored after treatment than before treatment with the level of significant at .05 Self-Directed Learning readiness of the students with high academic achievement showed higher scores that those low academic achievement with the level of significant at .05 There were the coefficient relationship between learning academic achievement with type 1 Openness to Learning Opportunities (r = 0.457) and type 4 Informed Acceptance of Responsibility for One’s Own Learning (r = 0.237) at the level of significant at .01 and Type 8 Ability to Use Basic Study Skill and Problem Solving Skills (r = 0.191) at the level of significant at .05 with regard to the high academic student Achievement. There were the coefficient relationship between learning academic achievement with Type 3 Initiative and Independence in Learning (r = 0.316) at the level of significant at .01 Type 4 Informed Acceptance of Responsibility for One’s Own Learning (r = 0.197) and Type 8 Ability to Use Basic Study Skill and Problem Solving Skills (r = 0.182) at Level of Significant at .05 with regard to the low academic student Achievement. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม.(วิชาจิตวิทยา))--มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, 2560 |
URI: | http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/11785 |
Appears in Collections: | 286 Thesis |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
TC1453.pdf | 4.64 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in PSU Knowledge Bank are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.