กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/11765
ชื่อเรื่อง: Factors Influencing Successful Doctoral Completion: A Case Study in Thailand
ชื่อเรื่องอื่นๆ: ปัจจัยที่ส่งผลต่อการสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาเอก: กรณีศึกษาในประเทศไทย
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: McNeil, Don
Watthanapradith, Montri
Faculty of Sciecnce and Technology (Mathematics and Computer Science)
คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ภาควิชาคณิตศาสตร์และวิทยาการคอมพิวเตอร์
คำสำคัญ: Doctoral Completion
วันที่เผยแพร่: 2016
สำนักพิมพ์: Prince of Songkla University, Pattani Campus
บทคัดย่อ: Doctoral completion rates are of concern to human resources development policy of universities as they endeavor to enhance the academic excellence of their universities. The purpose of this study is to investigate the factors influencing of doctoral completion success rates amongst staff of a public university in Thailand and focuses on models that include success, difficulties in doctoral studies, relationship with supervisor, and recommendation to further doctoral students. This study used a data set obtained from staff records maintained by university’s human resources department. The data contained individual information on gender, age at commencement of doctoral degree, country, field of study, and doctoral completion status (successful, still studying, and unsuccessful). Another data set was collected using questionnaires regarding recommendation to further doctoral students, student-supervisor relationship, and problems that they perceived in their doctoral studies. The difficulties in doctoral studies were classified into 8 groups; time, language, materials, research design, money and scholarship, data, supervisor availability, and academic efficiency of the supervisor. The categories of the binary outcome variable, the doctoral achievement, were (1) successful and (2) unsuccessful or incomplete. The determinant variables include gender, age at the commencement of the doctoral degree, country group of doctoral study, and the major or field of doctoral study. For statistical analysis, Pearson’s chi-squared test was used to evaluate the association between the explanatory variables and the outcome. Fisher’s Exact test was used when the data table contained small counts. Logistic regression was employed to model the effects of multiple determinants on doctorate achievement. A data modification method was used to modify the data table by replacing the zero count by 1 and doubling a corresponding non-zero count. Linear regression was employed to model the association between such determinants and the score assigned to the supervisor. Content analysis was employed to cluster reported types of problems. The results showed that gender, country, and field of doctoral study were significant factors leading to successful doctoral completion, but age at the commencement of a doctoral degree was not a significant factor. The result from responding questionnaires showed that country of doctoral study was statistically significant by associated with problems in time, language, and materials. For problems with research design, money and scholarship, data, supervisor availability, and academic efficiency of the supervisor, no significant differences were found. Age at commencement and country of doctoral study were also statistically significantly associated with the recommendation to further students. Students selecting their own research topics and supervisors for their doctoral degrees appeared more likely to achieve eventual success. Although there were some negative responses indicating common difficulties during the studies, these did not necessarily impact achieving the doctoral degree. Identification of such factors could be identified for other universities so they can modify their human resources development strategies to support candidates who may be at risk of failure.แผนพัฒนาการศึกษาของมหาวิทยาลัยให้ความสำคัญกับอัตราการสำเร็จศึกษาระดับปริญญาเอกซึ่งเป็นประเด็นหนึ่งในการประเมินคุณภาพของมหาวิทยาลัย วิทยานิพนธ์นี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อการสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาเอกของบุคลากรมหาวิทยาลัย ข้อมูลหลักได้มาจากฐานข้อมูลบุคลากรที่ได้รับอนุญาตจากมหาวิทยาลัยแล้ว ประกอบด้วยตัวแปรสำคัญคือ เพศ อายุเมื่อเริ่มศึกษาระดับปริญญาเอก ประเทศที่ไปศึกษา สาขาวิชาที่ศึกษา และความสำเร็จของการศึกษา ข้อมูลอีกส่วนหนึ่งได้มาจากการสำรวจโดยใช้แบบสอบถาม เกี่ยวกับความสัมพันธ์กับอาจารย์ที่ปรึกษา การแนะนำนักศึกษาอื่น ๆ ให้ไปศึกษาในมหาวิทยาลัยนั้น และปัญหาที่พบในขณะที่ศึกษา แบ่งออกเป็น ปัญหาเกี่ยวกับเวลา ภาษา กระบวนการวิจัย เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา เงินทุนสนับสนุนการศึกษา ข้อมูล และอาจารย์ที่ปรึกษา การวิเคราะห์ข้อมูลใช้การทดสอบไคสแควร์ การสร้างตัวแบบการถดถอยลอจิสติก (Logistic regression model) และการถดถอยเชิงเส้น (Linear regression model) นอกจากนี้ ยังใช้วิธีการสร้างตัวแบบการถดถอยลอจิสติก กรณีข้อมูลแบบกลุ่ม เมื่อมีความถี่เป็นศูนย์ เพื่อให้สามารถวิเคราะห์ด้วยวิธีการทางสถิติต่อไปได้ ผลการศึกษาจากกลุ่มตัวอย่างทั้งหมดพบว่า เพศ ประเทศที่ไปศึกษา และสาขาวิชาที่ศึกษา เป็นปัจจัยที่ส่งผลต่อการสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาเอกของบุคลากรอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ผลการศึกษาจากแบบสอบถามพบว่า ผู้ที่ศึกษาในประเทศแถบทวีปยุโรป จะประสบปัญหามากเกี่ยวกับเวลาในการศึกษา ผู้ที่ศึกษาในกลุ่มประเทศออสเตรเลียและนิวซีแลนด์ และกลุ่มประเทศแถบทวีปยุโรป จะประสบปัญหามากในด้านภาษา ในขณะที่ผู้ที่ศึกษาในประเทศไทย จะประสบปัญหาด้านภาษาน้อย แต่จะพบปัญหาเกี่ยวกับเครื่องมือในการวิจัยมาก ส่วนปัญหาด้านการออกแบบการวิจัย เงินทุนสนับสนุนการศึกษา ข้อมูล อาจารย์ที่ปรึกษามีภาระงานมาก และอาจารย์ที่ปรึกษาไม่มีความสามารถ ไม่พบความแตกต่าง ส่วนคำแนะนำสำหรับการไปศึกษาในมหาวิทยาลัยนั้น ๆ พบว่า อายุเมื่อเริ่มศึกษาและประเทศที่ศึกษา มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ผลการศึกษาจากกระบวนการวิจัยเชิงคุณภาพพบว่า นักศึกษาที่เลือกหัวข้อวิจัย และเลือกอาจารย์ที่ปรึกษาด้วยตนเองมีโอกาสสูงที่จะสำเร็จการศึกษา ถึงแม้ว่าความคิดเห็นของผู้ตอบแบบสอบถามในบางประเด็นจะเป็นไปในเชิงลบ แต่ก็ไม่สามารถบ่งชี้ถึงความสำเร็จด้านการศึกษาระดับปริญญาเอกของบุคลากรได้
รายละเอียด: Thesis (Ph.D.(Research Methodology))--Prince of Songkla University, 2016
URI: http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/11765
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:746 Thesis

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
TC1433.pdf5.35 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น