กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/11749
ชื่อเรื่อง: การพัฒนารูปแบบการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ผ่านเว็บบล็อกตามแนวคิดเพื่อนช่วยเพื่อน เรื่องการวิจัยในชั้นเรียน สำหรับครูผู้สอน สังกัดสำนักงาน เขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปัตตานี เขต 3
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Development of A Knowledge Sharing Model via Weblog by Using Peer-Assisted Learning on Classroom Research for Teachers in Pattani Primary Educational Service Area Office 3
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: เกาไศยาภรณ์, โอภาส
วาโดร์, อัลยานี
Faculty of Education (Educational Technology)
คณะศึกษาศาสตร์ ภาควิชาเทคโนโลยีการศึกษา
คำสำคัญ: การจัดการเรียนการสอน;เขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา
วันที่เผยแพร่: 2560
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
บทคัดย่อ: การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อพัฒนารูปแบบการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ผ่านเว็บบล็อกตามแนวคิดเพื่อนช่วยเพื่อน เรื่องการวิจัยในชั้นเรียน สำหรับครูผู้สอน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปัตตานี เขต 3 2) เพื่อเปรียบเทียบผลการประเมินตนเอง เกี่ยวกับความรู้ความเข้าใจ เรื่องการวิจัยในชั้นเรียน ก่อนและหลังการใช้รูปแบบการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ผ่านเว็บบล็อกของครูผู้สอนโรงเรียนชุมชนบ้านบางเก่า 3) เพื่อศึกษาผลการประเมินผลงานวิจัยในชั้นเรียน ของครูผู้สอนโรงเรียนชุมชนบ้านบางเก่า 4) เพื่อศึกษาระดับความพึงพอใจต่อการใช้รูปแบบการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ผ่านเว็บบล็อกตามแนวคิดเพื่อนช่วยเพื่อน เรื่องการวิจัยในชั้นเรียน ของครูผู้สอนโรงเรียนชุมชนบ้านบางเก่า กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการวิจัย คือ ครูผู้สอนโรงเรียนชุมชนบ้านบางเก่า จำนวน 20 คน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบค่าที (t-test dependent) ผลการวิจัยพบว่า 1) รูปแบบการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ผ่านเว็บบล็อกตามแนวคิดเพื่อนช่วยเพื่อน เรื่องการวิจัยในชั้นเรียน สำหรับครูผู้สอนโรงเรียนชุมชนบ้านบางเก่า ประกอบด้วย 5 องค์ประกอบ คือ คน องค์ความรู้และแหล่งความรู้ต่างๆ กระบวนการ เทคโนโลยีและสื่อสาร และการประเมินผล กระบวนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ผ่านเว็บบล็อกตามแนวคิดเพื่อนช่วยเพื่อน ประกอบด้วย 5 ขั้นตอน คือ ขั้นตอนวางแผนกิจกรรม กำหนดความรู้ และกำหนดบทบาท ขั้นตอนแสวงหาความรู้ ขั้นตอนพบปะ แลกเปลี่ยนเรียนรู้ ขั้นตอนรายงานความก้าวหน้าผลงาน และขั้นตอนประเมินผล ผ่านการประเมินโดยผู้เชี่ยวชาญ 3 ท่าน รูปแบบการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ผ่านเว็บบล็อกที่พัฒนาขึ้นในภาพรวม มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.81, S.D.= 0.58) 2) ผลการวิเคราะห์คะแนนการประเมินตนเอง เกี่ยวกับความรู้ความเข้าใจ เรื่องการวิจัยในชั้นเรียน หลังการใช้รูปแบบการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ผ่านเว็บบล็อกสูงกว่าก่อนการใช้รูปแบบการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ผ่านเว็บบล็อกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 3) ผลการวิเคราะห์คะแนนการประเมินผลงานวิจัยในชั้นเรียนของครูผู้สอนอยู่ในระดับยอดเยี่ยม 4) ครูผู้สอนมีความพึงพอใจต่อการใช้รูปแบบการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ผ่านเว็บบล็อกตามแนวคิดเพื่อนช่วยเพื่อน โดยมีประเด็นการประเมิน 3 ด้าน คือ ด้านรูปแบบการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ผ่านเว็บบล็อก อยู่ในระดับมาก ( = 3.90, S.D.= 0.55) ด้านแนวคิดเพื่อนช่วยเพื่อน อยู่ในระดับมาก ( = 3.87, S.D.= 0.56) และด้านระบบการใช้งาน อยู่ในระดับมาก ( = 4.20, S.D.= 0.58)The purposes of this research were 1) to develop a knowledge sharing model via weblog by using peer-assisted learning on classroom research for teachers in Pattani Primary Educational Service Area Office 3 2) to compare the self-assessment of cognitive in classroom research before and after using a knowledge sharing model via weblog of teachers in Chumchonbanbangkao School 3) to study the results of performance evaluation (classroom research) of teachers in Chumchonbanbangkao School 4) to study the level of satisfaction using a knowledge sharing model via weblog by using peer-assisted learning of teachers in Chumchonbanbangkao School. The sample used in this research covers 20 teachers in Chumchonbanbangkao School. The collected data were analyzed using a means, a standard deviation and t-test for dependent. The research finding were as follows : 1) A knowledge sharing model via weblog by using peer-assisted learning on classroom research for teachers in Primary Educational Service Area Office 3 consisted of five components: people, knowledge, process, technology and communications, and evaluation. A knowledge sharing model via weblog by using peer-assisted learning consisted of five steps: planning activities, Knowledge Identification and role assignment, knowledge acquisition, meeting and knowledge sharing, the progress report, and evaluation. The experts agree that a knowledge sharing model via weblog was appropriateness at a high level of satisfaction ( = 4.81, S.D.=0.58). 2) The analysis of the self-assessment of cognitive in classroom research before and after using a knowledge sharing model via weblog of teachers in Chumchonbanbangkao School is higher than the previous. The level of statistical significance was .01. 3) The analysis of performance evaluation were in a good level. 4) The teachers’ satisfaction using a knowledge sharing model via weblog by using peer-assisted learning consisted of three topics: 1) knowledge sharing model via weblog was at a high level ( =3.90, S.D.=0.55 2) peer assisted learning was at a high level ( = 3.87, S.D.=0.56) and 3) system applications was at a high level ( = 4.20, S.D.=0.58).
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (ศษ.ม.(เทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา))--มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, 2560
URI: http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/11749
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:263 Thesis

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
TC1416.pdf7.6 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น