Please use this identifier to cite or link to this item: http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/11747
Title: การพัฒนามาตรวัดความมีน้ำใจนักกีฬาของนักกีฬาสถาบันการพลศึกษา
Other Titles: A Development of the Sportsmanship Scale of Athletes in the Institute of Physical Education
Authors: รอบคอบ, ณรงค์ศักดิ์
รุ่งโรจน์รังสรร, กษมน
Faculty of Education (Measurement and Educational Research)
คณะศึกษาศาสตร์ ภาควิชาประเมินผลและวิจัยทางการศึกษา
Keywords: สถาบันการพลศึกษา;นักกีฬา
Issue Date: 2559
Publisher: มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนามาตรวัดความมีน้ำใจนักกีฬาของนักกีฬาสถาบัน การพลศึกษา ตัวอย่างวิจัยเป็นนักกีฬาของสถาบันการพลศึกษา จำนวน 1,184 คน โดยใช้วิธีการสุ่มแบบหลายขั้นตอน (Multi-stage Random Sampling) ในการพัฒนามาตรวัดมีการตรวจสอบความตรงเชิงโครงสร้างด้วยการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันอันดับที่สอง วิเคราะห์คุณภาพของรายการคำถามตามทฤษฎีการตอบสนองข้อสอบด้วยโมเดล GRM วิเคราะห์ความตรงเชิงสภาพโดยใช้การหาสหสัมพันธ์ระหว่างมาตรวัดที่สร้างขึ้นกับมาตรวัดมาตรฐาน และสร้างเกณฑ์ปกติในรูปเปอร์เซ็นต์ไทล์และคะแนนที ผลการวิจัยมีดังนี้ 1.มาตรวัดความมีน้ำใจนักกีฬาที่พัฒนาขึ้นมีองค์ประกอบ 7 ด้าน ได้แก่ การยอมรับตนเองและผู้อื่น ความมุ่งมั่นในเกมกีฬา ความเสียสละ การรู้แพ้ รู้ชนะ รู้อภัย ความมีวินัยนักกีฬา ความมีมารยาท และความยุติธรรม มีลักษณะคำถามแบบมาตรประเมินค่า 5 ระดับ จำนวน 41 ข้อ 2.ผลการตรวจสอบความตรงเชิงโครงสร้างด้วยการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันอันดับที่สอง พบว่า โมเดลมีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ (c2 = 328.73, df = 296, p = 0.09, RMSEA = 0.01, CFI=1.00, GFI= 0.99, c2/df = 1.11) 3.ผลการวิเคราะห์ตามทฤษฎีการตอบสนองข้อสอบด้วยโมเดล GRM พบว่า ค่าพารามิเตอร์ความชันร่วม (α) มีค่าอยู่ระหว่าง 2.10 ถึง 3.07 และค่าพารามิเตอร์ threshold ของแต่ละรายการคำตอบ (β) พบว่า β1 มีค่าอยู่ระหว่าง -3.97 ถึง -1.07 ส่วน β2 มีค่าอยู่ระหว่าง -1.55 ถึง -0.71 β3 มีค่าอยู่ระหว่าง -0.19 ถึง 0.34 และ β4 มีค่าอยู่ระหว่าง 1.16 ถึง 1.56 ค่าฟังก์ชั่นสารสนเทศของมาตรวัดความมีน้ำใจนักกีฬาสามารถวิเคราะห์ข้อคำถามได้ดีได้ช่วง θ ระหว่าง -1.2 ถึง 1.4 4.มาตรวัดความมีน้ำใจนักกีฬาที่สร้างขึ้นมีความสัมพันธ์ทางบวกกับแบบวัดมาตรฐานความมีน้ำใจนักกีฬาของกนกวลี เอ่งฉ้วน ในระดับสูง (r=0.931) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 5.เกณฑ์ปกติของมาตรวัดความมีน้ำใจนักกีฬาของนักกีฬาสถาบันพลศึกษาโดยรวม พบว่า มีคะแนนดิบอยู่ระหว่าง 84-205 คะแนน (คะแนนเต็ม 41-205 คะแนน) มีตำแหน่งเปอร์เซ็นต์ไทล์ อยู่ระหว่าง 0.05-96.18 และมีคะแนนทีปกติอยู่ระหว่าง T17-T68 This research was mainly aimed to develop the sportsmanship scale of athletes in the Institute of Physical Education. Samples were 1,184 athletes randomly selected from the Institute of Physical Education by using multistage stage sampling. The sportsmanship scale was examined the quality with employing the second-ordered confirmatory factor analysis for construct validity examination, verifying the items with Graded Response Model (GRM), analyzing a concurrent validity with another standard instrument by using Pearson Product Moment Correlation, and developing the percentile and T-score norms. The research findings were as the followings. 1.The sportsmanship scale comprises of 7 components: acceptance of ourselves and others, commitment in games, sacrifice, game spirits, discipline athletes, Courteousness, and Justice in games. The scale consists of 41 five-scale items. 2.The second-ordered confirmatory factor analysis showed the measurement model fit the empirical data (c2 = 328.73, df = 296, p = 0.09, RMSEA = 0.01, CFI = 1.00, GFI= 0.99, c2/df = 1.11). 3.The Graded Response Model analysis indicated that α-parameter ranges from 2.10 to 3.07. The β-parameters showed: β1 is between -3.97 and -1.07, β2 is between -1.55 and -0.71, β3 is between -0.19 and 0.34, and β4 is between 1.16 and 1.56. The item information values are between -1.2 and 1.4. 4.The sportsmanship scale showed the high concurrent validity with the standard scale (r=0.93). 5.The normal criteria for athlete athletic gauge of athletes in general were found to be between 84-205 points (41-205 points). The percentage score was between 0.05-96.18 and the score was normal. Between T17-T68
Description: วิทยานิพนธ์ (ศษ.ม.(การวิจัยและประเมินผลการศึกษา))--มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, 2559
URI: http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/11747
Appears in Collections:276 Thesis

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
TC1413.pdf6.56 MBAdobe PDFView/Open


Items in PSU Knowledge Bank are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.