กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/11733
ชื่อเรื่อง: | การบริหารจัดการที่ดินสาธารณะประโยชน์แบบมีส่วนร่วมในระดับชุมชน : ตัวชี้วัดและปัจจัยเชิงสาเหตุ |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Public land management based on community participation : Examining indicators and causal factors |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | คณน ไตรจันทร์ คมสัน หลงละเลิง Faculty of Management Sciences (Public Administration) คณะวิทยาการจัดการ ภาควิชารัฐประศาสนศาสตร์ |
คำสำคัญ: | ที่ดินสาธารณะ การมีส่วนร่วมของประชาชน |
วันที่เผยแพร่: | 2560 |
สำนักพิมพ์: | มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ |
บทคัดย่อ: | The objectives of this study were to develop indicators for public land management based on community participation, and to analyze causal factors affecting public land management based on community participation in Ban Khuan Sub-district, Mueang District, Trang Province. The study was divided into two phases. Phase 1 was a qualitative study; the subjects were 14 community leaders selected through purposive sampling. Data were collected through in-depth interviews. In data analysis, the data were concluded, interpreted, synthesized, classified, and paired with seven levels of participation in each aspect consisting of seven indicators totaling 28 indicators. Phase 2 was a quantitative study with a population and a sample group of 200 people aged 20 or over selected using stratified sampling. The instrument was a questionnaire: data were analyzed using descriptive statistics and structural equation model analysis. The study found that the causal factors affecting public land management based on community participation in Ban Khuan Sub-district, Mueang District, Trang Province which were people satisfaction towards public land management, promotion and support from related governmental organizations, the occupation of private business, gender, primary education level, income in the range of 10,001-15,000 Baht, 15,001 - 20,000 Baht, and 20,001-25,000 baht had influence on public land management based on community participation in the aspect of natural balance protection. Promotion and support from related governmental organizations, people satisfaction towards public land management, the role of village leaders, village strength, and primary education level had influence on public land management based on community participation in the aspect of land use for highest benefits and fairness. People satisfaction towards public land management, promotion and support from related governmental organizations, gender, the role of village leaders, and the lower secondary education level had influence on public land management based on community participation in the aspect of land allocation for the underprivileged people. People satisfaction towards public land management, promotion and support from related govermental organizations, the occupation of government service, general employment occupations, the primary education level, the ower secondary education level, the role of village leaders, and the income range of 20,001 - 25,000 Baht had influence on public land management based on community participation in the aspect of land management with the cooperation of concerning parties. |
Abstract(Thai): | การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาตัวชี้วัดการบริหารจัดการที่ดินสาธารณะ ประโยชน์แบบมีส่วนร่วมในระดับชุมชน และวิเคราะห์ปัจจัยเชิงสาเหตุที่มีผลต่อการบริหารจัดการ ที่ดินสาธารณะประโยชน์แบบมีส่วนร่วมในระดับชุมชน ในพื้นที่ตำบลบ้านควน อำเภอเมือง จังหวัดตรัง การศึกษาแบ่งเป็น 2 ระยะ คือ ระยะที่ 1 เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ กลุ่มตัวอย่างเป็น ผู้นำชุมชนที่เลือกแบบเจาะจง จำนวน 14 คน โดยการสัมภาษณ์เจาะลึก และวิเคราะห์ข้อมูล ที่ได้มาด้วยการสรุปความ ดีความ สังเคราะห์ข้อมูลโดยพิจารณาข้อมูลที่ซ้ำๆ กันหลายๆ ตัวมาจัดเข้ากลุ่ม แล้วคัดแยกให้ตรงในแต่ละด้านของการบริหารจัดการที่ดิน และจับคู่กับระดับการมีส่วน ร่วมทั้ง 7 ระดับในแต่ละตัวชี้วัดของด้านต่างๆ ด้านละ 7 ตัวชี้วัด จำนวนทั้งสิ้น 28 ตัวชี้วัด ระยะที่ 2 ซึ่งเป็นการวิจัยเชิงปริมาณ ใช้ประชากรและกลุ่มตัวอย่างในตำบลบ้านควน อำเภอเมือง จังหวัดตรัง ที่มีอายุตั้งแต่ 20 ปีขึ้นไป จำนวน 200 ตัวอย่าง และใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้นเครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา และการวิเคราะห์โมเดล สมการโครงสร้าง ผลการวิจัย ปัจจัยเชิงสาเหตุที่มีผลต่อการบริหารจัดการที่ดินสาธารณะประโยชน์ แบบมีส่วนร่วมในระดับชุมชน ในพื้นที่ตำบลบ้านควน อำเภอเมือง จังหวัดตรัง พบว่าความพึงพอใจของประชาชนในการบริหารจัดการที่ดินสาธารณะประโยชน์ การส่งเสริมและสนับสนุนจากหน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้อง อาชีพธุรกิจส่วนตัว เพศ การศึกษาระดับประถม รายได้ในช่วง 10,001-15,000 บาทรายได้ในช่วง 15,001 - 20,000 บาท และรายได้ในช่วง 20,001-25,000 บาท มีอิทธิพลต่อการบริหาร จัดการที่ดินสาธารณะประโยชน์แบบมีส่วนร่วมในระดับชุมชนด้านการรักษาความสมดุลทางธรรมชาติการส่งเสริมและสนับสนุนจากหน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้อง ความพึงพอใจของประชาชนในการบริหาร จัดการที่ดินสาธารณะประโยชน์ บทบาทผู้นำหมู่บ้าน ความเข้มแข็งของหมู่บ้าน และการศึกษาระดับประถม มีอิทธิพลต่อการบริหารจัดการที่ดินสาธารณะประโยชน์แบบมีส่วนร่วมในระดับชุมชน ด้านการใช้ที่ดินเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดและเป็นธรรม ความพึงพอใจของประชาชนในการบริหาร (6) จัดการที่ดินสาธารณะประโยชน์ การส่งเสริมและสนับสนุนจากหน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้อง เพศบทบาทผู้นำหมู่บ้าน และการศึกษาระดับมัธยมต้น มีอิทธิพลต่อการบริหารจัดการที่ดินสาธารณะประโยชน์แบบมีส่วนร่วมในระดับชุมชนด้านการจัดที่ดินให้ประชาชนผู้ด้อยโอกาส ความพึงพอใจของประชาชนในการบริหารจัดการที่ดินสาธารณะประโยชน์ การส่งเสริมและสนับสนุนจากหน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้อง เพศ อาชีพรับราชการ อาชีพรับจ้างทั่วไป การศึกษาระดับประถมการศึกษาระดับมัธยมต้น บทบาทผู้นำหมู่บ้าน และช่วงรายได้ 20,001 - 25,000 บาท มีอิทธิพล ต่อการบริหารจัดการที่ดินสาธารณะประโยชน์แบบมีส่วนร่วมในระดับชุมชน ด้านการบริหาร จัดการที่ดินเพื่อให้มีเอกภาพในการบริหารจัดการที่ดินที่อาศัยความร่วมมือจากทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง |
รายละเอียด: | วิทยานิพนธ์ (รป.ม. (รัฐประศาสนศาสตร์))--มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, 2560 |
URI: | http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/11733 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | 465 Thesis |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
420139.pdf | 6.5 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น