Please use this identifier to cite or link to this item: http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/11716
Title: การพัฒนาตัวบ่งชี้สมรรถนะพยาบาลวิชาชีพ โรงพยาบาลสงขลานครินทร์
Other Titles: Development of Competency Indicators for Register Nurses of Songklanagarind Hospital
Authors: เกษตรชัย และหีม
ชลธิชา โภชนกิจ
Faculty of Liberal Arts (Educational Foundation)
คณะศิลปศาสตร์ ภาควิชาสารัตถศึกษา
Keywords: พยาบาล มาตรฐาน;พยาบาล การทำงาน
Issue Date: 2017
Publisher: มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
Abstract: The study aimed to develop indicators and examine the consistency of the structural relationship model of competency indicators for register nurses of Songklanagarind Hospital with empirical data. The study was conducted with 507 register nurses with at least 1 year experience. The questionnaire was tested for its content validity by seven experts, and its reliability was 0.968. The data were analyzed using percentage, mean and confirmatory factor analysis (CFA). The study found that the competency indicators for register nurses consisted of seven factors and 44 indicators. (1) Leadership, management and quality control; (2) communication and relationship consisted of nine and four indicators, respectively. These two factors had the highest weight (b=.71), followed by (3) academics and research (b=.66) consisted of five indicators. (4) Professional features (b=.59) consisted of ten indicators. (5) Nursing and midwifery practice (b=53) consisted of four indicators. (6) Ethics, code of conduct, and law (b=.48) consisted of seven indicators; and (7) Information technology and social aspect (b=.42) consisted of five indicators. The linear structural model of competency indicators for register nurses of Songklanagarind Hospital was significantly consistent with the empirical data at the level of .01. The findings could be used by those involved in nursing human resources administration as guidelines for competency development for register nurses or performance evaluation.
Abstract(Thai): การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาตัวบ่งชี้และทดสอบความสอดคล้องของโมเดล ความสัมพันธ์เชิงโครงสร้างตัวบ่งชี้สมรรถนะพยาบาลวิชาชีพ โรงพยาบาลสงขลานครินทร์กับข้อมูลเชิง ประจักษ์ โดยศึกษากับพยาบาลวิชาชีพ โรงพยาบาลสงขลานครินทร์ ที่มีประสบการณ์การทํางาน มากกว่า 1 ปีขึ้นไป จํานวน 507 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามที่ผ่านการตรวจสอบ ความตรงของเนื้อหาโดยผู้ทรงคุณวุฒิ จํานวน 7 คน และค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถามทั้งฉบับ เท่ากับ 0.968 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ การหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และการวิเคราะห์ องค์ประกอบเชิงยืนยัน ผลการวิจัย พบว่า ตัวบ่งชี้สมรรถนะพยาบาลวิชาชีพ โรงพยาบาลสงขลานครินทร์ มี 7 องค์ประกอบ 44 ตัวบ่งชี้ คือ องค์ประกอบด้านภาวะผู้นํา การจัดการและการพัฒนาคุณภาพ องค์ประกอบด้านการสื่อสารและสัมพันธภาพที่มีน้ําหนักองค์ประกอบเท่ากัน (b=.71) ประกอบด้วย 9 และ 4 ตัวบ่งชี้ตามลําดับ ซึ่งมีค่าน้ําหนักองค์ประกอบมากที่สุด รองลงมาองค์ประกอบด้านวิชาการ และการวิจัย (b=.66) ประกอบด้วย 5 ตัวบ่งชี้ องค์ประกอบด้านคุณลักษณะเชิงวิชาชีพ (b=.59) ประกอบด้วย 10 ตัวบ่งชี้ องค์ประกอบด้านการปฏิบัติการพยาบาลและการผดุงครรภ์ (b=.53) ประกอบด้วย 4 ตัวบ่งชี้ องค์ประกอบด้านจริยธรรม จรรยาบรรณและกฎหมาย (b=.48) ประกอบด้วย 7 ตัวบ่งชี้ และองค์ประกอบด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและสังคม (b=.42) ประกอบด้วย 5 ตัวบ่งชี้ ซึ่ง โมเดลโครงสร้างเชิงเส้นตัวบ่งชี้สมรรถนะพยาบาลวิชาชีพ โรงพยาบาลสงขลานครินทร์ มีความ สอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ผลการค้นพบครั้งนี้สามารถนําไปใช้ในการบริหารทรัพยากรมนุษย์ทางการพยาบาล ในลักษณะต่างๆ เช่น เป็นแนวทางในการพัฒนาสมรรถนะพยาบาลวิชาชีพ การประเมินผลการ ปฏิบัติงาน
Description: วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม. (พัฒนามนุษย์และสังคม))--มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, 2560
URI: http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/11716
Appears in Collections:895 Thesis

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
420101.pdf2.75 MBAdobe PDFView/Open


Items in PSU Knowledge Bank are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.