กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/11709
ชื่อเรื่อง: | อิทธิพลของการกำกับดูแลกิจการที่มีต่อการจัดการกำไร และมูลค่าเพิ่มเชิงเศรษฐศาสตร์ : กรณีศึกษาบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย กลุ่ม SET 100 |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | The Effects of Corporate Governance on Earnings Management and Economic Value Added (EVA) : A Case Study of Listed Companies in the Stock Exchange of Thailand SET 100 |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | กุลวดี ลิ่มอุสันโน ทิพย์ธัญญา หริณานนท์ คณะวิทยาการจัดการ ภาควิชาการบัญชี Faculty of Management Sciences (Accountancy) |
คำสำคัญ: | การจัดการกำไร;การกำกับดูแลกิจการ |
วันที่เผยแพร่: | 2017 |
สำนักพิมพ์: | มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ |
บทคัดย่อ: | The purpose of this research is to study corporate governance, earnings management and economic value added and study the effects of corporate governance on earnings management and economic value added of listed companies in SET 100. The samples are companies that have the complete information. The total samples of 87 companies are between 2011 and 2015. The data was analyzed by implementing multiple regression analysis at 95% confidence. The earnings management were measured by discretionary accruals which were calculated by Modified Jones model. The independent variables were board size, proportions of independent directors, split between the chairman and CEO of firm, proportion of shareholding of major shareholders and shareholding of management and board of directors. The control variables were firm size, growth and leverage. The dependent variable was earnings management and economic value added. The results of study reveal that size of board, proportion of shareholding of major shareholders and the growth of company have significant influence on earnings management. And the results of study reveal that proportions of independent directors and proportion of shareholding of major shareholders have significant influence on economic value added. |
Abstract(Thai): | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับการกํากับดูแลกิจการ การจัดการกําไร มูลค่าเพิ่มเชิงเศรษฐศาสตร์ และศึกษาอิทธิพลของการกํากับดูแลกิจการที่มีต่อการจัดการกําไร และ มูลค่าเพิ่มเชิงเศรษฐศาสตร์ ของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย กลุ่ม SET 100 เลือกเฉพาะบริษัทที่มีข้อมูลที่ใช้ในการศึกษาครบถ้วน จํานวนทั้งสิ้น 87 บริษัท ทําการเก็บข้อมูลระหว่างปี พ.ศ. 2554-2558 ข้อมูลถูกนํามาวิเคราะห์โดยการใช้ความถดถอยเชิงพหุ ในการทดสอบความสัมพันธ์ ที่ระดับความเชื่อมั่น 95% วัดการจัดการกําไรผ่านรายการคงค้างที่อยู่ ภายใต้ดุลยพินิจของผู้บริหาร (Discretionary accruals) ตามแบบจําลองการพัฒนาทฤษฎี Jones (1991) ตัวแปรอิสระที่ศึกษา ได้แก่ ขนาดของคณะกรรมการบริษัท สัดส่วนกรรมการอิสระ การแยก ระหว่างบุคคลที่ดํารงตําแหน่งประธานกรรมการกับประธานเจ้าหน้าที่บริหาร สัดส่วนการถือหุ้น ของผู้ถือหุ้นรายใหญ่ และสัดส่วนการถือหุ้นของผู้บริหารและคณะกรรมการ ตัวแปรควบคุม ได้แก่ ขนาดของกิจการ การเติบโตของกิจการ และความเสี่ยงทางการเงิน ส่วนตัวแปรตาม คือ การจัดการ กําไร และมูลค่าเพิ่มเชิงเศรษฐศาสตร์ (Economic Value Added หรือ EVA) ผลจากการศึกษา พบว่า ตัวแปรที่ใช้แทนการกํากับดูแลกิจการโดยบทบาท คณะกรรมการและโครงสร้างผู้ถือหุ้น พบว่า ตัวแปรที่มีผลกระทบต่อการจัดการกําไร ได้แก่ ขนาด ของคณะกรรมการ สัดส่วนการถือหุ้นของผู้ถือหุ้นรายใหญ่ของบริษัทมีอิทธิพลอย่างมีนัยสําคัญทาง สถิติที่ระดับความเชื่อมั่น 95% และยังพบว่าการเติบโตของบริษัทมีอิทธิพลอย่างมีนัยสําคัญทาง สถิติ และผลจากการศึกษาอิทธิพลของการกํากับดูแลกิจการที่มีต่อมูลค่าเพิ่มเชิงเศรษฐศาสตร์ พบว่า สัดส่วนคณะกรรมการอิสระ และ สัดส่วนการถือหุ้นของผู้ถือหุ้นรายใหญ่ของบริษัท มีอิทธิพลต่อมูลค่าเพิ่มเชิงเศรษฐศาสตร์อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับความเชื่อมั่น 95% ไม่พบว่าตัวแปรควบคุมมีอิทธิพลต่อการกํากับดูแลกิจการกับมูลค่าเพิ่มเชิงเศรษฐศาสตร์ |
รายละเอียด: | วิทยานิพนธ์ (บช.ม. (การบัญชี))--มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, 2560 |
URI: | http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/11709 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | 464 Thesis |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
420092.pdf | 1.61 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น