Please use this identifier to cite or link to this item: http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/11702
Title: การประเมินความเสี่ยงต่อสุขภาพของช่างซ่อมเครื่องใช้ไฟฟ้าและอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์จากการสัมผัสตะกั่ว แคดเมียม และโครเมียมในร้านซ่อมขนาดเล็ก เขตเทศบาลนครหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา
Other Titles: Health Risk Assessment of Electric Appliance Repairers from Exposure Lead, Cadmium and Chromium at Small Repair Shops: A Case study in Hat Yai City Municipality, Songkhla Province, Southern Thailand
Authors: ดุษฎี หมื่นห่อ
อรอนงค์ คงสวัสดิ์
Faculty of Environmental Management (Environmental Management)
คณะการจัดการสิ่งแวดล้อม สาขาวิชาการจัดการสิ่งแวดล้อม
Keywords: ช่างไฟฟ้า การประเมินความเสี่ยงด้านสุขภาพ หาดใหญ่ (สงขลา);เครื่องมือเครื่องใช้ไฟฟ้า การบำรุงรักษาและการซ่อมแซม
Issue Date: 2560
Publisher: มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
Abstract: This study monitors concentrations of lead, cadmium and chromium in indoor air samples from small electrical/electronic repair shops in Songkhla Province, Southern Thailand. A health risk assessment was also conducted to assess the risks owing to lead, cadmium and chromium in the indoor air of the shops, Indoor air contents of lead, cadmium and chromium varied between 0.00800 - 0.02953 mg/m', 0.00003 - 0.00010 mg/m and 0.00010 - 0.00768 mg/m respectively. Levels of the selected heavy metals in all indoor air samples were lower than the established safe levels recommended by NIOSH (National Institute for Occupational Safety and Health) and American Conference of Governmental Industrial Hygiene (ACGIH). The indoor air concentrations were used to evaluate non-cancer and cancer risk assessment by calculating the hazard quotient (HQ) and lifetime cancer risk 5.60 x 10°- 2.03 x 10* and 1.00 x 10'-3.61 x 10' respectively. Non-cancer risk assessment revealed that the electric appliance repairers do not pose non-cancer risk from inhalation exposure. Conversely, the probabilities of cancer risk due to cadmium and chromium are significant.
Abstract(Thai): การศึกษาครั้งนี้เป็นการประเมินความเสี่ยงต่อสุขภาพของช่างซ่อมเครื่องใช้ไฟฟ้า และอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์จากการสัมผัสตะกั่ว แคดเมียม และโครเมียมในอากาศของร้านซ่อมขนาดเล็กเขตเทศบาลนครหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา ผลการศึกษาพบว่าค่าความเข้มข้นของตะกั่ว แคดเมียม และโครเมียม เท่ากับ 0.00800 - 0.02953 mg/m, 0.00003 - 000010mg/m และ 000010- 0.00768 mg/m' ตามลำดับ ซึ่งมีค่าไม่เกินเกณฑ์มาตรฐานความเข้มข้นที่ NIOSH (National Institute for Occupational Safety and Health) uas American Conference of Govermental Industrial Hygiene (ACGIH) กำหนด การประเมินความเสี่ยงต่อการเกิดโรคอื่นที่ไม่ใช่มะเร็ง (Non-cancer Risk) ของ ตะกั่ว แคดเมียม และโครเมียม โดยการคำนวณค่า HO (Hazard Quotient) พบว่าค่า HQ น้อยกว่า 1แสดงให้เห็นว่าปริมาณของตะกั่ว แคดเมียม และโครเมียมในอากาศนั้น ไม่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพอนามัยหรือไม่อยู่ในเกณฑ์ที่เสี่ยงต่อความเป็นพิษของโลหะหนักดังกล่าว ส่วนค่าดัชนีความเสี่ยง (Hazard Index: HI) พบว่ามีค่า HI น้อยกว่า 1 แสดงว่าช่างซ่อมเครื่องใช้ไฟฟ้าไม่มีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคอื่นที่ไม่ใช่มะเร็งอย่างมีนัยสำคัญ สำหรับความเสี่ยงต่อการเกิดโรคมะเร็ง (Cancer Risk) เนื่องจากการสุดหายใจเอา สารแคดเมียมและโครเมียมเข้าสู่ร่างกาย พบว่าค่าความเสี่ยงที่ก่อให้เกิดมะเร็งเป็นการคำนวณค่าความเสียงตลอดชีวิต (Lifetine Cancer Risk) ของแคดเมียม และโครเมียม มีค่าอยู่ในช่วง 5.60 x 10 - 2.03 x 10*และ 1.00 x 10"- 3.61 x 10* ตามลำดับ แสดงว่ามีความเสี่ยงที่อาจเป็นไปได้อย่างมีนัยสำคัญ
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม. (การจัดการสิ่งแวดล้อม))--มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, 2560
URI: http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/11702
Appears in Collections:820 Thesis

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
420080.pdf2.77 MBAdobe PDFView/Open


Items in PSU Knowledge Bank are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.