กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/11666
ชื่อเรื่อง: ผลของโปรแกรมการส่งเสริมสุขภาพพอเพียงร่วมกับวิถีมุสลิมต่อพฤติกรรมการควบคุมโรคและระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยเบาหวานมุสลิมที่ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดไม่ได้
ชื่อเรื่องอื่นๆ: The Effect of Health Sufficiency Promotion Program With Muslim Ways of Living on Diabetes Control Behavior and Blood Sugar Level of Uncontrolled Diabetes in Muslims
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: กาญจน์สุนภัส บาลทิพย์
นฤมล สุขประเสริฐ
Faculty of Nursing (Medical Nursing)
คณะพยาบาลศาสตร์ ภาควิชาการพยาบาลอายุรศาสตร์
คำสำคัญ: เบาหวาน ผู้ป่วย สุขภาพและอนามัย ปัตตานี;การส่งเสริมสุขภาพ ปัตตานี
วันที่เผยแพร่: 2560
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
บทคัดย่อ: This quasi-experimental research aimed to examine the The Effect of Health Sufficiency Promotion Program with Muslim Ways of Living on Diabetic Control Behavior and Blood Sugar Level of Uncontrolled Diabetes in Muslims. The recruited sample comprised 60 uncontrolled DM Muslim patients who were attending two diabetes clinics at two secondary hospitals in Pattani Province. Purposive sampling was used to select subjects according to the inclusion criteria Sex, Age and Blood Sugar Level. Patients were divided into two groups: 30 patients in the experimental group received the Health Sufficiency Promotion Program for eight weeks and 30 patients in the control group received normal nursing care. The intervention tools that is the Health Sufficiency Promotion Program with Muslim Ways of Living and and data collection tools included demographic data and health data forms, diabetic control behavior questionnaires scored on a scale of 15-60, and glucometer. All instruments were examined for content validity by three experts. The program was tested for it applicability by five nurses. The reliability of diabetic control behaviors questionnaire was tested by using Cronbach's alpha coefficient yielding a value of 0.82. Demographic data were analyzed using descriptive statistics, differences in general data tested with chi square statistics and independent statistics, and the hypothesis tested through paired t-test and independent t-test. The result revealed that for the experimental group, the mean score of diabetic control behaviors posttest was significantly higher than that at pretest (42.23 vs 35.93, p < ,001) and the mean score of blood sugar level was lower than that at pretest (121,40 vs 225.13, p < .001). For the control group, the mean score of diabetic control behaviors posttest and pretest were not significantly different and the mean score of blood sugar level posttest and pretest were not significantly different (p = .823 and p = .713). The mean score of diabetic control behaviors posttest of the experimental group was significantly higher than that of the control group (42.23 vs 33.26 p < 001) and the mean score of blood sugar level was significantly lower than the control group (121.40 vs 230.53 p < .001) The result showed that the Health Sufficiency Promotion Program with Muslim ways of Living is effective in supporting uncontrolled diabetes in Muslims to increase diabetic control behavior and blood sugar level. Therefore, this program should be provided as a guideline-to care for uncontrolled diabetes in Muslims to increase and maintain the diabetic control behavior and blood sugar level,
Abstract(Thai): การวิจัยกึ่งทดลองนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการส่งเสริมสุขภาพ พอเพียงร่วมกับวิถีมุสลิมต่อพฤติกรรมการควบคุมโรคและระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยเบาหวาน มุสลิมที่ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดไม่ได้ กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ป่วยเบาหวานมุสลิมที่ควบคุมระดับ น้ำตาลในเลือดไม่ได้ มารับบริการคลินิกเบาหวาน โรงพยาบาลชุมชนจำนวน 2 แห่งในจังหวัด ปัตตานี คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจงตามคุณสมบัติที่กำหนด โดยการจับคู่ เพศ อายุ และระดับน้ำตาลในเลือด จำนวน 60 ราย โดยแบ่งเป็นกลุ่มทดลอง 30 ราย ได้รับโปรแกรมการส่งเสริม สุขภาพพอเพียง เป็นระยะเวลา 8 สัปดาห์ และ กลุ่มควบคุม 30 ราย ได้รับการพยาบาลตามปกติเครื่องมือที่ใช้ในการทดลอง คือ โปรแกรมการส่งเสริมสุขภาพพอเพียง และ เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บ ข้อมูล ได้แก่ แบบสอบถามข้อมูลทั่วไป แบบประเมินพฤติกรรมการควบคุมโรคเบาหวาน และเครื่องตรวจวัดระดับน้ำตาลในเลือด โดยโปรแกรมและแบบสอบถาม ผ่านการตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหาโดยผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 3 ท่าน โปรแกรมทดลองใช้โดยพยาบาล 5 คน และ แบบประเมินพฤติกรรมการควบคุมโรคเบาหวาน ผ่านการตรวจสอบความเที่ยง ได้ค่าสัมประสิทธ์แอลฟาของครอนบาด เท่ากับ 0.82 การวิเคราะห์และเปรียบเทียบความแตกต่างของข้อมูลทั่วไปด้วยสถิติเชิงบรรยาย สถิติไคสแควร์และสถิติทีอิสระ และ ทดสอบสมมติฐานด้วยสถิติทีู่่ และสถิติทีอิสระ ผลการวิจัย พบว่า กลุ่มทดลองมีค่าเฉลี่ยคะแนนพฤติกรรมการควบคุมโรคหลังการ ทดลองสูงกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (42.23 และ 35.93, p < 001) มีค่าเฉลี่ยระดับ น้ำตาลในเลือดต่ำกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (121.40 และ 225.13, p ≤.001) กลุ่มควบคุมมีค่าเลี่ยคะแนนพฤติกรรมการควบคุมโรค และระดับน้ำตาลในเลือด ก่อนและหลังการทดลองไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P = 823 และ p=.713) หลังได้รับโปรแกรม กลุ่มทดลองมีค่ำเฉลี่ยคะแนนพฤติกรรมการควบคุมโรคสูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (42.23 และ 33.26 p <.001) และมีระดับน้ำตาลในเลือดค่ำกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (121.40 และ 230.53 p < 001) ผลการวิจัยแสดงให้เห็นว่า โปรแกรมการส่งเสริมสุขภาพพอเพียงร่วมกับวิถีมุสลิม มีผลต่อพฤติกรรมการควบคุมโรคและระดับน้ำตาลในเลือด จึงควรนำโปรแกรมดังกล่าวมาใช้เป็นแนวทางส่งเสริมพฤติกรรมการควบคุมโรคและระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยเบาหวานมุสลิม ที่ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดไม่ได้เพื่อให้สามารถ ดูแลสุขภาพได้อย่างต่อเนื่อง และ ยั่งยืน
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (พย.ม. (การพยาบาลเวชปฏิบ้ติชุมชน)--มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, 2560
URI: http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/11666
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:646 Thesis

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
420054.pdf1.27 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น