Please use this identifier to cite or link to this item: http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/11642
Title: Effect of Feeding Concentrate Containing Crude Glycerin and Castration on Carcass Characteristics and Meat Quality of Thai Native x Anglo-Nubian Goats
Other Titles: ผลของการให้อาหารข้นที่ผสมกลีเซอรีนดิบกับการตอนต่อลักษณะซากและคุณภาพของเนื้อแพะลุกผสมพื้นเมือง x แองโกลนูเบียน
Authors: Chaiyawan Wattanachant
Anneke
Faculty of Natural Resources (Animal science)
คณะทรัพยากรธรรมชาติ ภาควิชาสัตวศาสตร์
Keywords: Goats Food;Goat meat Quality
Issue Date: 2017
Publisher: Prince of Songkla University
Abstract: Twenty of Thai Native x Anglo-Nubian crossbred (50:50%) male goats with about 24.75 +1.33 kg of initial body weight at about twelve months old from Small Ruminant and Development Center, Prince of Songkla University were randomly from the flock and used in the study. The goats were allotted into 2x2 factorial arrangement in completely randomized design. The factors were sex (intact and castrated male goats) and type of concentrate diet (control concentrate and concentrate supplemented with 10% of crude glycerin (CG)). Goats were fed Atratum grass (Paspalum atratum) ad libitum and supplemented with concentrate at 2% of their body weight for 90 days. At the end of the study, three goats from each treatment combination were sampled and slaughtered for carcass determination and meat quality study. From the study, goats received diet with 10% of CG supplementation had higher (P<0.01) meat and fat percentages than those received control diet. The darker colour of loin muscle and lighter back fat colour were also found in goat received concentrate diet with CG supplementation. Cooking loss percentage of both loin (Longissimus dorsi) and Biceps femoris muscles from those received diet with CG supplementation had lower than those received the control diet (P<0.05). However, type of concentrate diets did not affect the shear force value of both raw and cooked muscles. Castration improved (P<0.05) carcass fat percentage and crude fat percentage of both muscle types when compared with the intact males. No effect on drip loss and cooking loss percentages of both muscle types (P>0.05) by castration. In conclusion, CG supplementation and castration could be alternative management for fattening goats since carcass and meat quality of goat could be improved.
Abstract(Thai): สุ่มแพะลูกผสมพื้นเมือง x แองโกลนูเบียน (50:50%) เพศผู้ จากศูนย์วิจัยและ พัฒนาสัตว์เคี้ยวเอื้องขนาดเล็ก มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ จํานวน 20 ตัว มีน้ําหนักตัวเฉลี่ย 24.75 + 1.33 กก. เข้าศึกษาแบบ 2 x 2 แฟกตอเรียล ตามแผนการทดลองแบบสุ่มสมบูรณ์ แบ่งปัจจัยที่ ศึกษาออกเป็น 2 ปัจจัย ได้แก่ ปัจจัยที่ 1 คือ สูตรอาหารข้น มี 2 ระดับ (อาหารข้นสูตรควบคุม และ อาหารข้นสูตรที่เสริมกลีเซอรีนดิบในระดับ 10%) และปัจจัยที่ 2 คือ เพศ มี 2 ระดับ (เพศผู้ปกติ และเพศผู้ตอน) ในระหว่างการเลี้ยงแพะทุกตัวได้รับหญ้าพลิแคททูลั่มสด (Paspalum atratum) และน้ําอย่างเต็มที่ และได้รับการเสริมอาหารข้นในปริมาณ 2 เปอร์เซ็นต์ของน้ําหนักตัว นาน 90 วัน จากนั้นจึงสุ่มแพะจํานวน 3 ตัว จากทุกทรีทเมนต์คอมบิเนชั่นมาทําการฆ่าเพื่อศึกษาลักษณะซากและ คุณภาพเนื้อ ผลจากการศึกษาพบว่า แพะกลุ่มที่ได้รับอาหารข้นเสริมกลีเซอรีนดิบ มีเปอร์เซ็นต์เนื้อ แดงและเปอร์เซ็นต์ไขมันมากกว่าแพะกลุ่มที่ได้รับอาหารข้นสูตรควบคุม (P<0.01) สําหรับลักษณะ ทางกายภาพของเนื้อสันนอก พบว่าแพะกลุ่มที่ได้รับอาหารข้นเสริมกลีเซอรีนดิบมีค่าความสว่าง (L) น้อยกว่า แต่มีค่าความแดง (a) มากกว่าเนื้อส่วนเดียวกันของแพะกลุ่มที่ได้รับอาหารสูตรควบคุม (P<0.01) สําหรับเปอร์เซ็นต์การสูญเสียน้ําขณะทําให้สุกของเนื้อสันนอกและเนื้อขาหลังส่วน Biceps femoris พบว่า แพะกลุ่มที่ได้รับอาหารข้นเสริมกลีเซอรีนดิบมีค่าต่ํากว่าเนื้อส่วนเดียวกันของแพะ กลุ่มที่ได้รับอาหารข้นสูตรควบคุม (P<0.05) แต่ชนิดของอาหารข้นไม่มีผลทําให้กล้ามเนื้อทั้งสองส่วน ทั้งเนื้อดิบและเนื้อสุก มีค่าแรงตัดผ่านแตกต่างกันทางสถิติ (P>0.05) สําหรับปัจจัยของเพศ พบว่า แพะกลุ่มที่ตอนมีเปอร์เซ็นต์ไขมันในซาก และไขมันรวมจากกล้ามเนื้อทั้งสองชนิดมากกว่าแพะกลุ่มที่ ไม่ตอน (P<0.05) อย่างไรก็ตาม การตอนไม่มีผลต่อเปอร์เซ็นต์การสูญเสียน้ําขณะเก็บรักษา และ เปอร์เซ็นต์การสูญเสียน้ําขณะทําให้สุกของกล้ามเนื้อทั้งสองชนิด (P>0.05) จากผลการศึกษาสรุปได้ ว่า การเสริมกลีเซอรีนดิบในสูตรอาหารข้นและการตอนแพะเป็นทางเลือกในการจัดการขุน เนื่องจาก แต่ละปัจจัยสามารถปรับปรุงคุณภาพซากและคุณภาพของเนื้อแพะได้
Description: Thesis (M.Sc., Animal Science)--Prince of Songkla University, 2017
URI: http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/11642
Appears in Collections:515 Thesis

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
419560.pdf2.99 MBAdobe PDFView/Open


Items in PSU Knowledge Bank are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.