Please use this identifier to cite or link to this item: http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/11638
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorเกื้ออนันต์ เตชะโต-
dc.contributor.authorศุทธินี จริงจิตร-
dc.date.accessioned2018-02-23T03:09:00Z-
dc.date.available2018-02-23T03:09:00Z-
dc.date.issued2560-
dc.identifier.urihttp://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/11638-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (วท.ม. (การจัดการสิ่งแวดล้อม))--มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, 2560th_TH
dc.description.abstractThis study aims to investigate a possible phasing out of instantaneous water heaters in Thailand. Replacing instantaneous water heaters by more efficient water heating technologies such as solar water heaters and heat pumps seems reasonable, but requires economic analysis from the perspective of potential adopters such as households or the resort and hotel sector. The highest potential for technological change can be seen in the hotel business because of short payback periods, high net present values (NPV) and internal rates of return (IRR). The factors influencing changes in water heating technology in Thailand for the hotel sector was studied by using a SWOT-AHP process, and it was found that the most important factor for hotel business using instantaneous water heater is the easy installation followed by low investment volume. The most important factor for hotels adopting solar water heaters and heat pumps are energy savings and savings on electricity bills, followed by low availability of skilled technicians. In addition, the researcher developed the model by using Microsoft Excel 2010 under the name SWOT AHP program for AHP analysis and display of a SWOT-AHP graph. SWOT-AHP is a software tool that can be used to conduct a SWOT-AHP analysis with three factors per SWOT category. The result of the case study on energy saving by changing water heater technologies in 50-room-hotels in Thailand showed that solar water heater and heat pump can reduce energy consumption by 74.01% and 94.87%, respectively. The net present value (base on average electricity price at 3.58/unit and Ft at -24.77 Satang/unit) is 14.02 million Baht| and 9.8 million Baht when finished the Installation of solar water heater and heat pump project respectively. The sensitivity analysis found ratio of inclement and decrement of electric bill are the important factors which cause project's NPV changing. If electric bill increase 1% every year, the NPV will increase 14.27% and 10.69% for solar water heater and heat pump respectively. The Ft value has minor effect on NPV. The increment of total investment at 20% affect to NPV at 4.23% and 3.31% of solar water heater and heat pump respectively. The Monte Carlo analysis of 100 random cases using 6 years historical data found that the solar water heater NPV is 14.51 + 0.19 million Baht and the heat pump NPV is 9.37 $ 0.13 million Baht. The researcher designed a calculation program named AWHs cal in Microsoft Visual Studio Enterprise 2015 as an investment decision support tool for changing the water heating technology in the hotel sector. This study suggested the successful instantaneous water heater alteration to alternative technology for efficiency. However, present goverment's policy cannot response directly to consumers need. Almost people know technology alteration benefit through decrement of electric bill but they are not confident in professional of mechanic or after-sale service in Thailand. Moreover, the basic habits of Thai people who choose simplicity goods and service, easy to understanding and self-installation. Hence, the most important of arousing policy accomplish is building confident about technology to people, and eventually facilitate short-term and long-term sustainability goals.-
dc.language.isothth_TH
dc.publisherมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์th_TH
dc.subjectอุตสาหกรรมโรงแรม ไทยth_TH
dc.subjectเทคโนโลยีสิ่งแวดล้อมth_TH
dc.subjectเครื่องทำน้ำร้อน การผลิตth_TH
dc.subjectเครื่องทำน้ำร้อนพลังงานแสงอาทิตย์th_TH
dc.titleทางเลือกเทคโนโลยีผลิตน้ำร้อนเพื่อทดแทนเครื่องทำน้ำร้อนแบบไฟฟ้าในธุรกิจโรงแรมth_TH
dc.title.alternativeAlternative Water Heating Technologies Replacing Instantaneous Water Heater in Hotel Sectorth_TH
dc.typeThesisth_TH
dc.contributor.departmentFaculty of Environmental Management (Environmental Management)-
dc.contributor.departmentคณะการจัดการสิ่งแวดล้อม สาขาวิชาการจัดการสิ่งแวดล้อม-
dc.description.abstract-thการศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความเป็นไปได้ต่อการยกเลิกการใช้เครื่องทำน้ำร้อนแบบไฟฟ้าซึ่งจัดเป็นอุปกรณ์ไฟฟ้าที่มีกำลังไฟฟ้าสูงมาก โดยการเปลี่ยนมาใช้เทคโนโลยีผลิตน้ำร้อนน้ำอุ่นทดแทน เช่น เครื่องทำน้ำร้อนพลังงานแสงอาทิตย์ เครื่องทำน้ำร้อนแบบฮีทปั๊ม ซึ่งใช้การวิเคราะห์ทางเศรษฐศาสตร์เพื่อศึกษาความเป็นไปได้ต่อการลงทุนในภาคส่วนครัวเรือน ธุรกิจรีสอร์ท และธุรกิจโรงแรมของประเทศไทย พบว่าธุรกิจโรงแรมมีความเป็นไปได้ในการเปลี่ยนแปลงเทคโนโลยีสูงสุด มีระยะเวลาคืนทุนต่ำ มูลค่าปัจจุบันสุทธิและอัตราผลตอบแทนภายในสูง ซึ่งปัจจัยที่ส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงเทคโนโลยีผลิตน้ำร้อนน้ำอุ่นในประเทศไทยสำหรับธุรกิจโรงแรมโดยการใช้กระบวนการ ตัดสินใจ SWOT-AHP พบว่าธุรกิจโรงแรมที่ใช้เครื่องทำน้ำร้อนแบบไฟฟ้ามีปัจจัยสำคัญสูงสุดคือการ ติดตั้งง่าย (จุดแข็ง) รองลงมาคือการลงทุนต่ำ (จุดแข็ง) ในขณะที่ธุรกิจโรงแรมที่ใช้เครื่องทำน้ำร้อนพลังงานแสงอาทิตย์และเครื่องทำน้ำร้อนแบบอีทปั๊มมีปัจจัยสำคัญสูงสุดคือ การประหยัดพลังงาน+ค่าไฟ (จุดแข็ง) รองลงมาคือ ช่างชำนาญการน้อย (อุปสรรค) นอกจากนี้ผู้วิจัยได้พัฒนาแบบจำลองด้วยโปรแกรม Microsoft Excel 2010 ภายใต้ชื่อ โปรแกรม SWOT AHP เพื่อสะดวกในการวิเคราะห์และแสดงผลด้วยกราฟ SWOT-AHP ซึ่งถือเป็นโปรแกรมสำเร็จรูปที่ใช้สำหรับการวิเคราะห์ปัจจัยย่อยที่มีจำนวน 3 ปัจจัยเท่านั้น ผลการศึกษาการประหยัดพลังงานในการเปลี่ยนแปลงเทคโนโลยีผลิตน้ำร้อน น้ำอุ่นกรณีศึกษาโรงแรมในประเทศไทยซึ่งมีจำนวน 50 ห้องพัก พบว่าเครื่องทำน้ำร้อนพลังงาน แสงอาทิตย์และเครื่องทำน้ำร้อนแบบฮีทปั๊ม สามารถลดการใช้พลังงานลงได้ 74.01% และ 94.87%ตามลำดับ โดยมีมูลค่าปัจจุบันสุทธิในสภาวการณ์ปัจจุบัน (ค่าไฟฟ้าเฉลี่ย 3.50 บาทต่อหน่วยและมี Ft -24,77 สตางค์ต่อหน่วย) คือ 14.02 ล้านบาท และ 9.8 ล้านบาทเมื่อสิ้นสุดโครงการติดตั้งเครื่องทำน้ำ ร้อนพลังงานแสงอาทิตย์และเครื่องทำน้ำร้อนแบบฮีทปั๊ม ตามลำดับ จากการวิเคราะห์ Sensitivity Analysis พบว่าอัตราการเพิ่มขึ้นและลดลงของค่าไฟฟ้าจัดเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้มูลค่าปัจจุบันสุทธิของโครงการเปลี่ยนแปลงไปในอัตราที่สูงมาก ซึ่งหากค่าไฟฟ้ามีอัตราเพิ่มขึ้นเพียง 1% ของทุกปี จะทำให้มูลค่าปัจจุบันสุทธิสูงขึ้น 14.27% เมื่อสิ้นสุดโครงการ ในการติดตั้งเครื่องทำน้ำร้อนพลังงานแสงอาทิตย์ และ 10.69% ในการติดตั้งเครื่องทำน้ำร้อนแบบฮีทปั้ม ในขณะที่ค่า Ft ถือเป็นปัจจัยที่ส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงของมูลค่าปัจจุบันสุทธิได้น้อยมาก รวมทั้งมูลค่าการลงทุนซึ่งการเพิ่มราคาของเครื่องทำน้ำร้อนพลังงานแสงอาทิตย์ 20% ส่งผลต่อมูลค่าปัจจุบันสุทธิประมาณ 4.23% และ 3.31% สำหรับเครื่องทำน้ำร้อนแบบฮีทปั๊ม เมื่อใช้การวิเคราะห์ Monte Carlo จากการสุ่มตัวอย่าง 100 กรณี จะได้ค่ามูลค่าปัจจุบันสุทธิของเครื่องทำน้ำร้อนพลังงานแสงอาทิตย์ในการติดตั้งในธุรกิจโรงแรมเมื่อสิ้นสุดโครงการ คือ 14.51 + 0.19 ล้านบาท และมูลค่าปัจจุบันสุทธิของเครื่องทำน้ำร้อนแบบอีทปั๊ม คือ 9.37 + 0.13 ล้านบาท โดยใช้ข้อมูลย้อนหลังเป็นเวลา 6 ปี จากนั้นผู้ศึกษาได้ทำการออกแบบโปรแกรมคำนวณภายใต้ชื่อ AWHs cal เพื่อการตัดสินใจสำหรับการเปลี่ยนแปลงเทคโนโลยีผลิตน้ำร้อนน้ำอุ่นสำหรับธุรกิจโรงแรมด้วยโปรแกรม Microsoft Visual Studio Enterprise 2015เพื่อสะดวกในการคำนวณเพื่อการลงทุนได้มากขึ้น ผู้ศึกษาเสนอแนวทางประสบผลสำเร็จต่อการยกเลิกการใช้เครื่องทำน้ำร้อนแบบไฟฟ้า โดยเปลี่ยนมาใช้เทคโนโลยีผลิตน้ำร้อนน้ำอุ่นทดแทน เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงานของอุปกรณ์ไฟฟ้า แต่อย่างไรก็ตามนโยบายของรัฐบาลในปัจจุบันไม่สามารถตอบสนองความต้องการที่แท้จริงของ ผู้บริโภคได้ แม้ว่าประชาชนส่วนใหญ่จะมองเห็นผลกำไรที่ได้รับจากการเปลี่ยนแปลงเทคโนโลยีจากคำไฟฟ้าที่ลดลง แต่ประชาชนก็ไม่มั่นใจในความสามารถของช่างชำนาญการ หรือบริการหลังการขายในประเทศไทย ประกอบกับนิสัยโดยพื้นฐานของประชาชนที่มักเลือกสินค้าและบริการที่ไม่ซับซ้อนสามารถทำความเข้าใจได้ง่าย ติดตั้งได้ด้วยตัวเอง ดังนั้นเพื่อกระตุ้นให้นโยบายสัมฤทธิ์ผล สิ่งที่สำคัญเป็นอันดับแรก คือ สร้างความเชื่อมั่นด้านเทคโนโลยีให้แก่ประชาชนเพื่อการบรรลุเป้าหมายอย่างยั่งยืน ทั้งในระยะสั้นและระยะยาว-
Appears in Collections:820 Thesis

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
419555.pdf8.23 MBAdobe PDFView/Open


Items in PSU Knowledge Bank are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.