Please use this identifier to cite or link to this item: http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/11636
Title: การมีส่วนร่วมของชุมชนในการจัดการเขตอนุรักษ์สัตว์น้ำ : กรณีศึกษา หมู่ที่ 1 ตำบลป่าขาด อำเภอสิงหนคร จังหวัดสงขลา
Other Titles: Community Participation in Management of Aquatic Animals Protected Area : A Case Study of Moo 1, Pa-Khad Sub-District, Singhanakhon District, Songkhla Province
Authors: เยาวนิจ กิตติธรกุล
อรทัย หนูสงค์
Faculty of Environmental Management (Environmental Management)
คณะการจัดการสิ่งแวดล้อม สาขาวิชาการจัดการสิ่งแวดล้อม
Keywords: การอนุรักษ์ทรัพยากรทางน้ำ สงขลา การมีส่วนร่วมของประชาชน
Issue Date: 2017
Publisher: มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
Abstract: The research aims to study 1) stages and methods of building up community participation in aquatic animal protected Areas in Moo 1, Pa-khad Sub-district, Singhanakhon District, Songkhla Province, 2) level and outcomes of the participation. A mixed method approach was employed. Its focus of qualitative research methods includes semi-structured interviews, participatory obscrvation and focus group discussion with twelve core-team members of the committee of marine animal protected area. The quantitative research method entails questionnaires with representatives of ninety-two households. Statistical analyses are based on frequency, percentage, mean standard deviation, and t-test for the participation outcomes. Results found that the level of overall community participation was high. The levels of participation in five stages were as follows: 1) searching for causes and problems was high (X=3.68). 2) planning for solution was medium (X=3.18), 3) implementation was high (X-3.50), 4) obtaining benefits was highest (X=3.92), and 5) follow-up and evaluation was medium (X=3.20). Based on the concept of livelihoods approach, and the t-test analysis the outcomes of community participation at the household and community levels were ranked in the same way: increasing in natural capital were the highest, then human capital, financial capital, social capital and physical capital respectively. With statistical significance at 0.01 Factors facilitative to the participation promotion were as follows: 1) leaders and core-team members; 2) kinship networks or social capital; 3) interactions of natural, social and human capital in the community; 4) mechanisms contributing to consistent interactions; 5) collective sense of the protected area as public property; 6) promotions from governmental agencies; and 7) social attentions from outside organizations. Obstructive factors were: 1) time constraints for villagers' participation, 2) lack of younger generations to carry on the activities.
Abstract(Thai): งานวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ขั้นตอนและวิธีการสร้างการมีส่วนร่วม ของชุมชนในการจัดการเขตอนุรักษ์สัตว์น้ํา หมู่ที่ 1 ตําบลป่าขาด ในช่วง พ.ศ. 2555 - 2559 2) ระดับและผลลัพธ์ของการมีส่วนร่วมในการจัดการเขตอนุรักษ์สัตว์น้ํา รวมทั้งปัจจัยที่เอื้อและเป็น อุปสรรคในการสร้างการมีส่วนร่วมของชุมชน โดยใช้การวิจัยแบบผสม ซึ่งเน้นวิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ ใช้วิธีการสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้าง การสังเกตการณ์แบบมีส่วนร่วม และการสนทนากลุ่ม กับแกน นําคณะกรรมการเขตอนุรักษ์สัตว์น้ํา จํานวน 12 คน ส่วนวิธีการวิจัยเชิงปริมาณใช้แบบสอบถามกับ กลุ่มตัวอย่างที่เป็นตัวแทนครัวเรือน จํานวน 92 ครัวเรือน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยวิธีการหาค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ t-test เพื่อเปรียบเทียบความแตกต่างทางสถิติของ ค่าเฉลี่ยก่อน-หลัง การมีส่วนร่วมของชุมชนในการจัดการเขตอนุรักษ์สัตว์น้ําในระดับครัวเรือนและ ระดับชุมชน ผลการวิจัยพบว่า การมีส่วนร่วมของชุมชนในการจัดการเขตอนุรักษ์โดยรวมอยู่ใน ระดับมาก สมาชิกชุมชนมีส่วนร่วมทั้ง 5 ขั้นตอนดังนี้ ขั้นที่ 1 การค้นหาสาเหตุและปัญหาอยู่ในระดับ มาก (X=3.68) ขั้นที่ 2 การวางแผนเพื่อแก้ปัญหาอยู่ในระดับปานกลาง (X=3.18) ขั้นที่ 3 การปฏิบัติ และดําเนินกิจกรรมอยู่ในระดับมาก (X=3.50) ขั้นที่ 4 การรับผลประโยชน์อยู่ในระดับมากที่สุด (X=3.92) และขั้นที่ 5 การติดตามและประเมินผลอยู่ในระดับปานกลาง (X-3.20) ส่วนผลลัพธ์ของ การมีส่วนร่วมทั้งในระดับครัวเรือนและชุมชนตามแนวคิดการทํามาหากิน พบว่า ค่า t-test ของทุน ธรรมชาติเพิ่มมากที่สุด รองลงมาคือทุนมนุษย์ ทุนเงินตรา ทุนสังคม และทุนกายภาพตามลําดับ โดยมี ค่านัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 ปัจจัยที่เอื้อในการสร้างการมีส่วนร่วมของชุมชน ได้แก่ 1) ผู้นํา และแกนนํา 2) ความเป็นสังคมเครือญาติ หรือทุนทางสังคม 3) ปฏิสัมพันธ์ของทุนธรรมชาติในชุมชน ทุน ทางสังคม และทุนมนุษย์ 4) การมีกลไกที่เอื้อให้เกิดการปฏิสัมพันธ์กันอยู่เสมอ 5) ความรู้สึกร่วมกันว่าเขต อนุรักษ์สัตว์น้ําเป็นสาธารณสมบัติ 6) การส่งเสริมจากหน่วยงานของภาครัฐ 7) การได้รับความสนใจจาก กลุ่มองค์กรภายนอก ปัจจัยที่เป็นอุปสรรค ได้แก่ 1) เงื่อนไขเวลาของประชาชนในการเข้าร่วมกิจกรรม 2) การขาดเยาวชนรุ่นหลังที่จะมาสานต่อกิจกรรม
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม. (การจัดการสิ่งแวดล้อม))--มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, 2560
URI: http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/11636
Appears in Collections:820 Thesis

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
419553.PDF3.47 MBAdobe PDFView/Open


Items in PSU Knowledge Bank are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.