Please use this identifier to cite or link to this item: http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/11632
Title: ความสัมพันธ์ระหว่างการเปิดเผยข้อมูลการบริหารความเสี่ยงกับการตกแต่งกำไร กรณีศึกษา : บริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
Other Titles: The Relationship Between Disclosure Risk Management and Earnings Management Case Study : Companies Listed on the Stock Exchange of Thailand
Authors: มัทนชัย สุทธิพันธุ์
ทิพวรรณ สวัสดี
คณะวิทยาการจัดการ ภาควิชาบริหารธุรกิจ
Faculty of Management Sciences (Accountancy)
Keywords: การจัดการกำไร;กำไรของบริษัท ไทย;บริษัทมหาชน ไทย การเงิน
Issue Date: 2560
Publisher: มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
Abstract: This study aims to investigate the level of risk management disclosures, and test for the relationship between the risk management disclosures and earning management of listed companies from the Stock Exchange of Thailand (SET). Population is 569 companies from the SET. By Yamane's sampling, 235 firms are used as sample of the study. Descriptive analysis and multiple regression are used to analyze the data. As the results, the companies from the SET provide risk management disclosures in the good level. The most common issues of risk management disclosures are internal environment and feedback, while event identification is the less common disclosures. Moreover, risk management feedback and size of companies have a negative correlation with the level of risk management disclosures at 0.05, and 0.01 level.
Abstract(Thai): การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับการเปิดเผยข้อมูลการบริหารความ เสี่ยง ปีพ.ศ. 2558 และทดสอบความสัมพันธ์ระหว่างการเปิดเผยข้อมูลการบริหารความเสี่ยงกับการตกแต่งกำไร ปีพ.ศ. 2558 ของบริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ประชากร ที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้คือบริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ประชากร ทั้งหมดจำนวน 569 บริษัท ได้กลุ่มตัวอย่างที่นำมาใช้ในการศึกษาจำนวน 235 บริษัท จากการสุ่ม ตัวอย่างของ Yamane การเปิดเผยข้อมูลการบริหารความเสี่ยง เก็บรวบรวมข้อมูล จากรายงานประจำปีหรือแบบแสดงรายการข้อมูลประจำปี(แบบ 56-1) ในส่วนของการตกแต่งกำไรจะใช้การหาค่ารายการค้างรับค้างจ่ายโดยดุลยพินิจของผู้บริหาร โดยใช้แบบจำลองของ Modified Jones สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา และการวิเคราะห์ความถดถอย เชิงพหุ ผลการศึกษาพบว่า บริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยมีการ เปิดเผยข้อมูลการบริหารความเสี่ยง อยู่ในระดับ ดี ซึ่งมี 2 องค์ประกอบที่ระดับการเปิดเผยอยู่ในระดับการเปิดเผย ดีมาก คือ สภาพแวดล้อมภายในองค์กร และ การติดตามผล โดยพบว่าการเปิดเผย ข้อมูลการบริหารความเสี่ยงที่น้อยที่สุด คือ ด้านการระบุเหตุการณ์ ซึ่งอยู่ระดับ พอใช้ ผลการทดสอบความสัมพันธ์ระหว่างการเปิดเผยข้อมูการบริหารความเสี่ยงกับการตกแต่งกำไร พบว่าการเปิดเผยข้อมูลการบริหารความเสี่ยงด้านการตอบสนองความเสี่ยงมีความสัมพันธ์เชิงลบกับการตกแต่งกำไร ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.05 และขนาดของกิจการ มีอิทธิพลต่อความสัมพันธ์เชิงลบระหว่างการเปิดเผยข้อมูลการบริหารความเสี่ยงกับการตกแต่งกำไร ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.01
Description: วิทยานิพนธ์ (บช.ม. (การบัญชี))--มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, 2560
URI: http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/11632
Appears in Collections:464 Thesis

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
419546.pdf1.08 MBAdobe PDFView/Open


Items in PSU Knowledge Bank are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.