กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/11628
ชื่อเรื่อง: ผลของโดโลไมต์และคีเซอไรต์ต่อการเจริญเติบโตของต้นยางเล็ก
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Effects of Dolomite and Kieserite on growth of Rubber Tree Sapling
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: จำเป็น อ่อนทอง
ธนพันธ์ พงษ์ไทย
Faculty of Natural Resources (Earth Science)
คณะทรัพยากรธรรมชาติ ภาควิชาธรณีศาสตร์
คำสำคัญ: การปรับปรุงดิน;ยางพารา ปุ๋ย;ดิน ปริมาณแมกนีเซียม
วันที่เผยแพร่: 2560
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
บทคัดย่อ: Most of rubber plantation areas in Thailand are low magnesium (Extr. Mg) soils. It decreased growth and yield of rubber. This study investigated the effect of dolomite and kieserite on growth and nutrient uptake of rubber tree sapling. Budded stump RRIM 600 rubbers were planted in low extractable Mg soil (<0.30 cmol, Ms kg'). The experiments consisted of 2 experiments. 1) Rubber tree sapling were planted in soil containing 0, 0.5, 1.0, 1.5 and 2.0 cmol, Mg kg and as dolomite and 2) kieserite containing 0, 0.5 and 1.0 cmol, Mg kg with 5 replicates. The results showed that the applying Mg increased magnesium concentration in rubber. Application of 0.5 cmol, Mg kg made plant height and stem diameter highest than other treatments (P≤0.05). However, applying 2.0 cmol, Mg kg decreased rubber growth and calcium concentration in petiole, stem, primary root and lateral root (P≤0.05). Moreover, high Mg was likely to decrease potassium concentration in rubber and caused potassium deficient symptoms in leaf. Kieserite 0.5 mol, Mg kg' increased growth of rubber (P≤0.05). The applying kieserite increased magnesium, sulfur and chlorophyll concentration in leaf rubber. But high kieserite was likely to decrease potassium and calcium uptake in rubber (P≤0.05). Moreover, the applying dolomite (0.5 cmol, Mg kg") increased rubber growth but lower than kieserite treatments Most of rubber plantation areas are low magnesium soils. Mg application made response on growth of rubber. Kieserite application at 0.5 cmol. Ms kg" increased rubber growth better than dolomite. Therefore, rubber plantation areas should be applied Mg fertilizer as kieserite and considered appropriate nutrient management for rubber growth.
Abstract(Thai): พื้นที่ปลูกยางพาราส่วนใหญ่ในประเทศไทยเป็นดินที่มีแมกนีเซียมต่ำ ซึ่งอาจส่งผล กระทบต่อการเจริญเติบโตและผลผลิตของยางพารา จึงศึกษาผลของโดโลไมต์และคีเซอไรต์ต่อการเจริญเติบโต และการดูดใช้ธาตุอาหารของต้นยางเล็ก โดยทำการทดลองปลูกยางพารา (พันธุ์ RRIM 600) ในดินที่มีแมกนีเซียมที่สกัดได้ต่ำ (<0.30 cmol kg) ประกอบด้วย 2 การทดลอง คือ 1) เติมแมกนีเซียม (kieserite) ในอัตราต่าง ๆ คือ 0, 0.5, 1.0, 1.5 และ 2.0 เซนติโมลประจุต่อ กิโลกรัม และ 2) เติมแมกนีเซียมในรูปโดโลไมต์และคีเซอไรต์ คือ 0, 0.5 และ 1.0 เซนติโมลประจุของแมกนีเซียมต่อกิโลกรัม ทำการทดลอง 5 ซ้ำ ผลการทดลอง พบว่า การใส่แมกนีเซียม ทำให้ความเข้มข้นของแมกนีเซียมในส่วน ต่าง ๆ ของยางพาราเพิ่มขึ้น โดยตำรับที่เติมแมกนีเซียม 0.5 เซนติโมลประจุต่อกิโลกรัม ทำให้ความสูงและเส้นผ่านศูนย์กลางลำต้นเพิ่มขึ้นสูงที่สุด เมื่อเปรียบเทียบกับตำรับการทดลองอื่น ๆ (P≤0.05) แต่เมื่อยางพาราได้รับแมกนีเซียมมากเกินความเหมาะสมทำให้การเจริญเติบโตและความเข้มข้นของแคลเซียมในส่วนของก้าน ลำต้น รากแก้ว และรากแขนงลดลง (P≤0.05) และความเข้มข้นของโพแทสเซียมในส่วนต่าง ๆ มีแนวโน้มลดลงเช่นกัน โดยเฉพาะตำรับที่ใส่แมกนีเซียม 2.0 เซนติโมล-ประจุต่อกิโลกรัม ส่งผลให้ใบของยางพาราแสดงอาการขาดธาตุโพแทสเซียม การใส่คีเซอไรต์ 0.5 เซนติโมลประจุของแมกนีเซียมต่อกิโลกรัม ทำให้ การเจริญเติบโตของยางพาราสูงที่สุด (Ps0.05) โดยยางพารามีการดูดใช้และสะสมแมกนี้เซียมและกำมะถัน รวมถึงปริมาณคลอโรฟิลล์ในใบเพิ่มขึ้น แต่มีการดูดใช้และสะสมโพแทสเซียมและแคลเซียมลดลง (P<0.05) ส่วนการเติมโดโลไมต์ 0.5 เซนติโมลประจุของแมกนีเซียมต่อกิโลกรัม ทำให้ยางพารา มีการเจริญเติบโตน้อยกว่าการใส่ดีเซอไรต์แต่มากกว่าตำรับควบคุม เมื่อมีการใส่แมกนีเซียมในดินที่มีแมกนีเซียมต่ำ ทำให้ยางพารามีการตอบสนองต่อ การใส่แมกนี้เซียมได้ดี โดยการใส่แมกนีเซียม 0.5 เซนติโมลประจุต่อกิโลกรัม ในรูปของดีเซอไรต์ทำให้การเจริญเติบโตของยางพาราดีกว่าการใส่โดโลไมต์ ดังนั้น ในพื้นที่ปลูกยางพาราจึงต้องมีการเพิ่มปุ๋ยแมกนีเซียมในรูปของดีเซอไรต์ในอัตราที่เหมาะสม
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (วท.ม. (การจัดการทรัพยากรดิน))--มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, 2560
URI: http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/11628
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:542 Thesis

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
419513.pdf4.02 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น