Please use this identifier to cite or link to this item: http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/11589
Title: กลยุทธ์การพัฒนาชุมชนนักปฏิบัติผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ตเพื่อการอนุรักษ์สาหร่ายผมนางของชุมชนบางปู อำเภอยะหริ่ง จังหวัดปัตตานี
Other Titles: A Strategy for Developing Community of Practice through Internet Networks to Conserve the Gracilaria fisheri in Bangpu Community, Yaring District, Pattani Province
Authors: เกิดทิพย์, ชวลิต
เจะเอาะ, ฟัฎลีนี
Faculty of Education (Educational Technology)
คณะศึกษาศาสตร์ ภาควิชาเทคโนโลยีการศึกษา
Keywords: การอนุรักษ์สาหร่ายผมนาง;จังหวัดปัตตานี
Issue Date: 2560
Publisher: มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
Abstract: งานวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ มีวัตถุประสงค์ เพื่อ (1) ศึกษาความพร้อมของชุมชนในการพัฒนาชุมชนนักปฏิบัติผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ตเพื่อการอนุรักษ์สาหร่ายผมนางของชุมชนบางปู อำเภอยะหริ่ง จังหวัดปัตตานี (2) นำเสนอกลยุทธ์การพัฒนาชุมชนนักปฏิบัติผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ตเพื่อการอนุรักษ์สาหร่ายผมนางของชุมชนบางปู ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ คือ ผู้นำชุมชน ผู้นำทางศาสนา ประธานกลุ่มสาหร่ายผมนาง ผู้แทนกลุ่มเยาวชน และชาวบ้านตำบลบางปูที่เป็นผู้ประกอบอาชีพเก็บสาหร่ายผมนางและผู้ใช้ประโยชน์จากสาหร่ายผมนาง ใช้วิธีเลือกแบบเจาะจงและแบบเครือข่ายก้อนหิมะ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสัมภาษณ์เชิงลึกแบบกึ่งโครงสร้าง และการสนทนากลุ่มโดยผู้เชี่ยวชาญจำนวน 10 คน ใช้การวิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา (Content analysis) การวิเคราะห์แบบ SWOT และการวิเคราะห์แบบ TOWS matrix ผลการวิจัยพบว่า 1. ความพร้อมของชุมชนในการพัฒนาชุมชนนักปฏิบัติเพื่อการอนุรักษ์สาหร่าย ผมนางของชุมชนบางปู อำเภอยะหริ่ง จังหวัดปัตตานี ประกอบด้วย 2 ประเด็น (1) มีความพร้อม ในองค์ประกอบของชุมชนนักปฏิบัติ ได้แก่ 1) ด้านข้อความรู้ คือ ชาวบ้านมีแรงปรารถนาที่จะร่วมมือร่วมใจกันอนุรักษ์สาหร่ายผมนางและมีองค์ความรู้หรือภูมิปัญญาชาวบ้านเกี่ยวกับปัจจัยการเจริญเติบโตของสาหร่ายผมนาง 2) ด้านสมาชิกในชุมชน คือ ชุมชนมีทรัพยากรบุคคลที่มาจากหลายอาชีพและมีบทบาทที่หลากหลาย 3) ด้านแนวปฏิบัติของชุมชน คือ ชุมชนมีกระบวนการทำงานที่มีประสิทธิภาพและมีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างสมาชิกในชุมชนตลอดเวลา (2) ปัจจัยความสำเร็จที่ส่งผลต่อความพร้อมของชุมชน ได้แก่ การมีผู้นำที่มีวิสัยทัศน์ มีการจัดการชุมชนที่ดีและมีทีมงานที่เข้มแข็ง มีเป้าหมายในการดำเนินงานที่ชัดเจน มีมัสยิดเป็นศูนย์รวมของชุมชนที่เอื้อต่อการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และมีความพร้อมด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ ซึ่งนับเป็นจุดแข็งของชุมชน2. กลยุทธ์การพัฒนาชุมชนนักปฏิบัติผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ตเพื่อการอนุรักษ์สาหร่ายผมนางของชุมชนบางปู อำเภอยะหริ่ง จังหวัดปัตตานี ประกอบด้วย 2 ประเด็น (1) กลยุทธ์องค์ประกอบของชุมชนนักปฏิบัติ คือ 1) จัดการฝึกอบรมความรู้แก่ชาวบ้านอย่างต่อเนื่อง เช่น การเพาะเลี้ยงสาหร่ายผมนางในแหล่งน้ำธรรมชาติและในบ่อดินทั้งแบบเผชิญหน้าและผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต เช่น Blog Facebook Website เป็นต้น 2) จัดตั้งทีมชุมชนนักปฏิบัติร่วมวางแผนบริหารจัดการความรู้เพื่อการอนุรักษ์สาหร่ายผมนางในชุมชนให้เหมาะสมในแต่ละบทบาทหน้าที่ ประกอบด้วย คุณอำนวย คุณกิจ คุณลิขิต ผู้เชี่ยวชาญ คุณวิศาสตร์ และคุณเอื้อ 3) สร้างพันธมิตรกับภาครัฐและเอกชนเพื่อร่วมกันจัดการทรัพยากรสาหร่ายผมนาง 4) พัฒนาแนวปฏิบัติที่ดีโดยอาศัยระบบการจัดการความรู้ในการบริหารจัดการทรัพยากรสาหร่ายผมนาง มี 6 ขั้นตอน คือ การเตรียมการ การบ่งชี้ความรู้ การแสวงหาความรู้ การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ การประมวลและกลั่นกรองความรู้ และการจัดเก็บและเผยแพร่ความรู้ผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต 5)ส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ท่องป่าชายเลนเพื่อปลูกจิตสำนึกการรักษ์ป่าชายเลนซึ่งเป็นแหล่งต้นกำเนิดของสาหร่ายผมนางและเผยแพร่ข้อมูลหรือกิจกรรมผ่านเว็บ 6)ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของชุมชนในเรื่องการอนุรักษ์สาหร่ายผมนาง 7) การให้ทุนสนับสนุนโครงการ และ (2) กลยุทธ์ปัจจัยความสำเร็จของชุมชนนักปฏิบัติ คือ 1) ผู้นำต้องมีความมุ่งมันในการทำงานอย่างต่อเนื่อง 2) ส่งเสริมภาวะผู้นำก้าวทันการเปลี่ยนแปลง 3) วางแผนและปรับระบบการทำงานปัจจุบันให้รับกับการดำเนินงานสู่จุดที่ต้องการในอนาคต 4) เพิ่มเป้าหมายด้านการจัดการและอนุรักษ์ทรัพยากรสาหร่ายผมนางในแผนยุทธ์ศาสตร์ชุมชน 5) จัดกิจกรรมส่งเสริมการถ่ายทอดความรู้และแลกเปลี่ยนเรียนรู้ 6) การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการสื่อสาร แลกเปลี่ยน และเผยแพร่ความรู้และปลูกฝังจิตสำนึกด้านการอนุรักษ์สาหร่ายผ่านรายการวิทยุหรือทีวีชุมชนออนไลน์ This research was a qualitative study. The purpose of this study were intended to study the readiness of community for developing community of practice through internet networks to conserve the Gracilaria fisheri in Bangpu community, Yaring district, Pattani province, and to study the strategy for developing community of practice through internet networks to conserve the Gracilaria fisheri in Bangpu community, Yaring district, Pattani province. The subjects of this research were sub district headmans, a village headman, a religious leader, representatives of youth group and villagers who worked about getting and using Gracilaria fisheri (selected by network or snowball selection) The data were collected through a number of Semi-structured in-depth interview and analyzed by content analysis, SWOT and TOWS analysis methods. The result of this research were as follows: 1. The readiness of community for developing community of practice through internet networks to conserve the Gracilaria fisheri in Bangpu community, Yaring district, Pattani province composed of two categories : (1) The radiness of element community of practice such as 1) in terms of domain wishing to gather community to conserve Gracilaria fisheri with the intellectual villagers and knowledgeable about the factor of Gracilaria fisheri’s growth. 2) The community is a human resources from various jobs and variety of roles. 3) Community of practice is the procedure of efficiency work and the exchanging between the community members. (2) The achievement factors that effected to the readiness of community such as a visional leader who can manage a quality community and his strong team work with clear objective. Mosque is the center of sharing knowledge ideology and readiness of information technology. This is the strength of one community. 2. The strategy for developing community of practice through internet networks to conserve the Gracilaria fisheri in Bangpu community, Yaring district, Pattani province. This terms composed of two categories : (1) Strategy factors of community of practice are 1) Manage to train community continuously such as to foster on Gracilaria fisheri in natural place and in soil pond. Both facing on internet network for example Blog Facebook Website and so on. 2) Conduct community team of developers and plan to manage and educate of conserving Gracilaria fisheri in community suitability and functional character by Kun Amnoui (Facilitator), Kun Kit (Knowledge worker), Kun Likhit (Note taker), the expert, Kun Wizard (IT Wizard) and Kun Eae (Sponsor). 3) To collaborate with the government and private sector in managing on Gracilaria fisheri. 4) To develop good practice by using of knowledge management systems in six steps : preparing step, knowledge identification step, knowledge acquisition step, knowledge sharing step, knowledge codification and refinement step, and knowledge storage and dissemination step. 5) To support the base travelling conserving mangrove in order to protect the Gracilaria fisheri and show the activities through website. 6) To promote public participation for conserving on Gracilaria fisheri 7) To support fund of every project. (2) The strategy factors of community of practice are 1) The attention of leaders continuously. 2) To support a new ideological leaders.3) Plan and improve working system to the future’s life. 4) Increase the objective management in order conserve Gracilaria fisheri as in community strategy. 5) Conduct and preaching knowledge about this term. 6) Using of communication technology, sharing, preaching knowledge and instill of conserving on Gracilaria fisheri through television or radio online.
Description: วิทยานิพนธ์ (ศษ.ม.(เทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา))--มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, 2560
URI: http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/11589
Appears in Collections:263 Thesis

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
TC1406.pdf6.1 MBAdobe PDFView/Open


Items in PSU Knowledge Bank are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.