Please use this identifier to cite or link to this item: http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/11425
Title: การย่อยสลายถุงมือยางโดยแบคทีเรียที่คัดแยกได้จากดินที่ปนเปื้อนยาง
Other Titles: Degradation of rubber gloves by bacteria isolated from soil contaminated with latex
Authors: กมลธรรม อ่ำสกุล
ชัยรัฐ นะวงศ์
Faculty of Science (Microbiology)
คณะวิทยาศาสตร์ ภาควิชาจุลชีววิทยา
Keywords: การสลายด้วยแบคทีเรีย;ถุงมือยาง การย่อยสลายทางชีวภาพ;แบคทีเรีย;นิเวศวิทยาจุลินทรีย์
Issue Date: 2560
Publisher: มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
Abstract: An increasing production and demand of natural rubber products has caused problems in waste management. Biodegradation is environmentally friendly but normally extremely slow. Therefore there is a need to reduce the time for decomposing. In this study, natural rubber degrading bacteria were isolated from 80 latex-contaminated soll samples in the southern Thailand. 120 of possible rubber degrading bacteria were isolated and tested for their abilities to degrade rubber gloves in a mineral salt medium (MSM), Isolate pn 12.1 gave 8.53% weight loss of the rubber gloves. Ten isolates were also isolated from a soil consortium from previous study (F1-F10), Isolate F5 gave 9.36% weight loss of the rubber gloves and produced 4.89% of CO, evolution in the degradation process. Changes in appearance were observed by scanning electron microscopy (SEM), rubber gloves seemed to undergo degradation which resulted in the deterioration of glove's surface. FTIR method was also performed to confirm the degradation. Isolate F5 was then Identifiod as Rhodococcus pyridinivorans with 99% similarity by 16S rRNA analysis. The prosence of a gene encoding a latex clearing protein (lep gene) was determined to confirm the latex degradation ability, Consortium and the mixed culture gave the highest percentage weight losses of rubber gloves of 18.38% and 18.82% respectively, which were more effective than using single strain of isolate F6. Consortium and mixed culture could use rubber gloves as the sole carbon source as can be seen by growth and many deteriorated holes on rubber surfacos.
Abstract(Thai): ผลิตภัณฑ์จากยางธรรมชาติ มีการผลิตและใช้เพิ่มขึ้นในทุกวัน ก่อให้เกิดปัญหาในการ จัดการขยะ โดยการกำจัดขยะยางธรรมชาติโดยใช้จุลินทรีย์นั้น เป็นวิธีที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม แต่เป็นวิธีที่ใช้เวลานาน จึงต้องมีการศึกษาเพื่อลดเวลาในการย่อยสลายลง ในการศึกษาครั้งนี้ ได้แยกแบคทีเรียที่มีความสามารถในการย่อยสลายยางธรรมชาติ จากดินตัวอย่างที่มีการปนเปื้อนยางธรรมชาติทั้งหมด 80 ตัวอย่าง จากบริเวณต่างๆในภาคใต้ คัดแยกได้ 120ไอโซเลท การทดสอบความสามารถในการย่อยสลายถุงมือยางพบว่า เชื้อ pn 12.1 มีความสามารถในการย่อยสลายสูงสุดทำให้น้ำหนักถึงมือยางลดลง 8.53 % ที่ 30 องศาเซลเซียส ใน 30 วันเปรียบเทียบกับเชื้อ 10 ไอโซเลท (F1-F10) ที่แยกได้จากเชื้อกลุ่ม (natural consorium) จากการศึกษาที่ผ่านมา พบว่าเชื้อ F 5 มีความสามารถในการย่อย 9.36% และทำให้ถุงมีอยางเปลี่ยนแปลงลักษณะมากที่สุด จึงนำไปศึกษาภายใต้กล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนแบบส่องกราด พบ ลักษณะพื้นผิวเป็นรูพรุน และมีเชื้อเกาะติดจำนวนมาก วัดปริมาณคาร์บอนไดออกไซด์ที่เกิดขึ้นในกระบวนการย่อยสลายได้ 4.89% ที่ 30 องศาเซลเซียส ใน 30 วัน เมื่อทำการวิเคราะห์โดยวิธี FTIR พบมีการเปลี่ยนแปลงของหมู่พังก์ชั่นที่เกี่ยวข้องกับการย่อยสลาย จากการบ่งชี้ชนิดของเชื้อโดยการ วิเคราะห์ลำดับเบสของยืน 16s TRNA พบว่าเชื้อ F5 เป็นเชื้อสายพันธุ์ Rhodococcus pyridinivorans โดยมีเปอร์เซ็นต์ความเหมือนอยู่ที่ 99% และการทดสอบหายืน lop พบว่าเชื้อ FS มียีน Icp ที่เกี่ยวข้องกับการย่อยสลายยางธรรมชาติ เมื่อนำเชื้อ F1-F10 มาผสมกัน โดยแบ่งเป็นสองกลุ่มคือ กลุ่มที่ผสมเชื้อทั้ง 10 ไอโซเลท และผสมเชื้อ 5 ไอโซเลทที่มีความสามารถในการย่อยสลายได้มากกว่า 5% พบว่าการย่อยสลายเพิ่มขึ้นเป็น 18.38% และ 18.82 % ที่ 30 องศาเซลเซียส ใน 30 วัน ตามลำดับซึ่งมากกว่าการใช้เชื้อ F5 เพียงตัวเดียว พบการเจริญของเชื้อเมื่อใช้ถุงมือยางเป็นแหล่งคาร์บอนเพียงแหล่งเดียว และพบรูพรุนบนแผ่นยางภายใต้กล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนแบบ ส่องกราด
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม. (จุลชีววิทยา)) มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, 2560
URI: http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/11425
Appears in Collections:326 Thesis

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
417023.pdf10.53 MBAdobe PDFView/Open


Items in PSU Knowledge Bank are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.