กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/11423
ชื่อเรื่อง: | ผลของการผ่อนคลายกล้ามเนื้อแบบก้าวหน้าร่วมกับการสนับสนุนของสามีต่อความเครียดใหหญิงตั้งครรภ์วัยรุ่น |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | The effect of progressive muscular relaxation with husband support on stress of teenage pregnant women |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | ศศิกานต์ กาละ กาญจนา บัวหอม |
คำสำคัญ: | สตรีมีครรภ์;ครรภ์ในวัยรุ่น |
วันที่เผยแพร่: | 2017 |
สำนักพิมพ์: | มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ |
บทคัดย่อ: | This quasi-experimental study aimed to test the effect of progressive muscular relaxation with husband support on stress of teenage pregnant women. The sample consisted of 50 teenage pregnant women who were receiving antenatal care at a community hospital in Narathiwat province. They were purposively selected and assigned into the experimental group (n = 25) or the control group (n = 25). The control group received regular antenatal care service, while the experimental group received the progressive muscular relaxation with husband support in addition to regular antenatal care service. The research instruments consisted of (1) teaching plan of knowledge related to stress of teenage pregnant women, (2) teaching plan of progressive muscular relaxation, (3) teaching plan of husband support, (4) slides for teaching, and (5) handbook of progressive muscular relaxation with husband support. The data-collecting instruments consisted of (1) personal data form, (2) progressive muscular relaxation practice form, (3) telephone follow-up form, and (4) self-scoring stress questionnaire developed by the Department of Mental Health. Validity of the instruments in this study was approved by three experts. The reliability of the self-scoring stress questionnaire was examined using Cronbach's alpha coefficient, yieding a value of .81. Data were analyzed using frequency, percentage, mean, standard devition, and t-test. The results revealed that: 1) Teenage pregnant women who received the progressive muscular relaxation with husband support had a mean score of stress after intervention (M = 15.00, SD = 1.68) significantly lower than before intervention (M = 22.08, SD = 1.73) (p < .001). 2) Teenage pregnant women who received the progressive muscular relaxation with husband support had a mean score of stress (M = 15.00, SD = 1.68) significantly lower than that of teenage pregnant women who received regular antenatal care service (M = 22.20, SD = 1.75) (p < .001). The results showed that the effect of progressive muscular relaxation with husband support could reduce stress of teenage pregnant women. Therefore, it is recommended that the progressive muscular relaxation with husband support should be applied in caring for teenage pregnant women who have stress. |
Abstract(Thai): | การวิจัยแบบกึ่งทดลองนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการผ่อนคลายกล้ามเนื้อ แบบก้าวหน้าร่วมกับการสนับสนุนของสามีต่อความเครียดในหญิงตั้งครรภ์วัยรุ่น กลุ่มตัวอย่างเป็น หญิงตั้งครรภ์วัยรุ่นที่มารับบริการฝากครรภ์ ณ คลินิกฝากครรภ์ โรงพยาบาลชุมชนแห่งหนึ่งใน จังหวัดนราธิวาส จํานวน 50 ราย คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง และจัดเข้ากลุ่มทดลอง หรือกลุ่มควบคุม กลุ่มละ 25 ราย กลุ่มควบคุมได้รับบริการฝากครรภ์ตามปกติ และกลุ่มทดลอง ได้รับการผ่อนคลายกล้ามเนื้อแบบก้าวหน้าร่วมกับการสนับสนุนของสามี เพิ่มเติมจากการได้รับ บริการฝากครรภ์ตามปกติ เครื่องมือที่ใช้ในการทดลอง ประกอบด้วย (1) แผนการสอนความรู้ เกี่ยวกับความเครียดในหญิงตั้งครรภ์วัยรุ่น (2) แผนการสอนการผ่อนคลายกล้ามเนื้อแบบก้าวหน้า (3) แผนการสอนการสนับสนุนของสามี (4) สไลด์ประกอบการสอน และ (5) คู่มือการผ่อนคลาย กล้ามเนื้อแบบก้าวหน้าร่วมกับการสนับสนุนของสามี เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ประกอบด้วย (1) แบบบันทึกข้อมูลส่วนบุคคล (2) แบบบันทึกการฝึกการผ่อนคลายกล้ามเนื้อแบบ ก้าวหน้า (3) แบบบันทึกการติดตามเยี่ยมทางโทรศัพท์ และ (4) แบบประเมินความเครียดด้วยตนเอง ของกรมสุขภาพจิต ซึ่งเครื่องมือดังกล่าวได้รับการตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหาโดยผู้ทรงคุณวุฒิ จํานวน 3 ท่าน และทดสอบหาค่าความเที่ยงของแบบประเมินความเครียดด้วยตนเอง ได้ค่า สัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาค (Cronbach's alpha coefficient) เท่ากับ 81 วิเคราะห์ข้อมูลโดย หาค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตราฐานและสถิติที ผลการวิจัยพบว่า 1. หญิงตั้งครรภ์วัยรุ่นกลุ่มที่ได้รับการผ่อนคลายกล้ามเนื้อแบบก้าวหน้าร่วมกับ การสนับสนุนของสามีมีความเครียดภายหลังการทดลอง (M = 15.00, SD = 1.68) ต่ํากว่าก่อนการ ทดลอง (M = 22.08, SD = 1.73) อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ (p < .001) 2. หญิงตั้งครรภ์วัยรุ่นกลุ่มที่ได้รับการผ่อนคลายกล้ามเนื้อแบบก้าวหน้าร่วมกับ การสนับสนุนของสามีมีความเครียด (M-15.00, SD = 1.68) ต่ํากว่ากลุ่มที่ได้รับบริการฝากครรภ์ ตามปกติ (M = 22.20, SD = 1.75) อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ (p < .001) ผลการวิจัยแสดงว่าให้เห็นว่า การใช้การผ่อนคลายกล้ามเนื้อแบบก้าวหน้าร่วมกับ การสนับสนุนของสามีครั้งนี้สามารถช่วยลดความเครียดในหญิงตั้งครรภ์วัยรุ่น ดังนั้นจึงควรนําการ ผ่อนคลายกล้ามเนื้อแบบก้าวหน้าร่วมกับการสนับสนุนของสามีมาประยุกต์ใช้เป็นแนวทางการดูแล หญิงตั้งครรภ์วัยรุ่นที่มีความเครียด |
รายละเอียด: | วิทยานิพนธ์ (พย.ม. (การผดุงครรภ์)) มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, 2560 |
URI: | http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/11423 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | 648 Thesis |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
417020.pdf | 6.6 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น