Please use this identifier to cite or link to this item: http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/11362
Title: ผลของโปรแกรมส่งเสริมการจัดการกลุ่มอาการด้านทางเดินอาหารและอาการเหนื่อยล้าต่อประสบการณ์อาการและคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยมะเร็งเต้านมที่ได้รับเคมีบำบัด
Other Titles: The Effect of Gastrointestinal and Fatique Symptom Cluster Management Promoting Program on Symptom Experiences and Quality of Life in Patients With Breast Cancer Receiving Chemotherapy
Authors: วิภา แซ่เซี้ย
วรรณรัตน์ จงเขตกิจ
Institute of Research and Development for Health of Southern, Thailand
สถาบันวิจัยและพัฒนาสุขภาพภาคใต้
Keywords: เต้านม มะเร็ง ผู้ป่วย การดูแล
Issue Date: 2560
Publisher: มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
Abstract(Thai): การวิจัยกึ่งทดลองครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมส่งเสริมการ จัดการกลุ่มอาการด้านทางเดินอาหารและอาการเหนื่อยล้าต่อประสบการณ์อาการและคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยมะเร็งเต้านมที่ได้รับเคมีบำบัดที่เข้ารับการรักษา ณ หน่วยเคมีบำบัด โรงพยาบาลศูนย์แห่งหนึ่งในภาคใต้ โดยใช้แนวคิดการจัดการอาการเป็นกรอบแนวคิด คัดเลือกกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 48ราย แบ่งเป็นกลุ่มควบคุม 24 ราย ได้รับการพยาบาลตามปกติ และกลุ่มทดลอง 24 รายที่เข้าร่วมโปรแกรมส่งเสริมการจัดการกลุ่มอาการด้านทางเดินอาหารและอาการเหนื่อยล้าของผู้ป่วยมะเร็งเต้านมที่ได้รับเคมีบำบัด โดยโปรแกรมที่สร้างขึ้นรวมทั้งแบบประเมินประสบการณ์อาการในกลุ่มอาการด้านทางเดินอาหารและอาการเหนื่อยล้า และแบบประเมินคุณภาพชีวิตผู้ป่วยมะเร็งเต้านม ผ่านการตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหา โดยผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 3 ท่าน แบบประเมินประสบการณ์อาการในกลุ่มอาการด้านทางเดินอาหารและอาการเหนื่อยล้ามีค่าความเที่ยงแบบวัดซ้ำเท่ากับ 98 และแบบประเมินคุณภาพชีวิตผู้ป่วยมะเร็งเต้านมมีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของครอนบาดเท่ากับ 89 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนา และทดสอบสมมติฐานการวิจัยด้วยสถิติที่คู่ สถิติทีอิสระ และสถิติความแปรปรวนร่วม ผลการวิจัยพบว่า 1. ค่าเฉลี่ยประสบการณ์อาการของผู้ป่วยมะเร็งเต้านมที่ได้รับเคมีบำบัดหลังเข้า ร่วมโปรแกรมด้านความถี่และด้านความรุนแรง ต่ำกว่าก่อนเข้าร่วมโปรแกรม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (as) = 5.21, P <.001 และ 1ay - 3.93, P=.001 ตามลำดับ) และค่าเฉลี่ยประสบการณ์อาการของผู้ป่วยมะเร็งเต้านมที่ได้รับเคมีบำบัดหลังเข้าร่วมโปรแกรมด้านความถี่และด้านความรุนแรง ต่ำ กว่าผู้ป่วยที่ได้รับการพยาบาลตามปกติอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (Fiss = 28.31, P < 001 และ โพด= 4.2, p = .001 ตามลำดับ) 2. ค่าเฉลี่ยคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยมะเร็งเต้านมที่ได้รับเคมีบำบัดหลังเข้าร่วม โปรแกรมสูงกว่าก่อนเข้าร่วมโปรแกรม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (as) = 6.04, P < 001) และ ค่าเฉลี่ยคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยมะเร็งเต้านมที่ได้รับเคมีบำบัดหลังเข้าร่วมโปรแกรม สูงกว่าผู้ป่วยที่ได้รับการพยาบาลตามปกติ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (as) = 5.93, p <.001) ผลการวิจัยแสดงให้เห็นว่าโปรแกรมส่งเสริมการจัดการกลุ่มอาการด้านทางเดิน อาหารและอาการเหนื่อยล้าของผู้ป่วยมะเร็งเต้านมที่ได้รับเคมีบำบัดช่วยให้ผู้ป่วยมะเร็งเต้านมที่ได้รับเคมีบำบัดสามารถจัดการกับกลุ่มอาการที่เกิดขึ้นกับตนเองได้ ส่งผลให้ผู้ป่วยมีอาการที่เกิดขึ้นลดลงและมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น ดังนั้นพยาบาลควรนำโปรแกรมส่งเสริมการจัดการกลุ่มอาการ ด้านทางเดินอาหารและอาการเหนื่อยล้าไปใช้กับผู้ป่วยกลุ่มดังกล่าว เพื่อลดประสบการณ์อาการกลุ่มอาการด้านทางเดินอาหารและอาการเหนื่อยล้า และเพิ่มคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น
Description: วิทยานิพนธ์ (พย.ม. (การพยาบาลผู้ใหญ่))--มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, 2560
URI: http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/11362
Appears in Collections:646 Thesis

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
419732.pdf1.67 MBAdobe PDFView/Open


Items in PSU Knowledge Bank are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.