กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/11318
ชื่อเรื่อง: ปัจจัยที่มีผลต่อการเกิดหนี้ค้างชำระ สินเชื่อนโยบายรัฐ ของธนาคารออมสิน สาขาจะนะ จังหวัดสงขลา
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Factors Affecting the Outstanding Debt on Government Policy Loan of the Government Saving Bank, Chana Branch, Songkhla Province
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: กลางใจ แสงวิจิตร
วรรณี สมตัว
Faculty of Management Sciences (Business Administration)
คณะวิทยาการจัดการ ภาควิชาบริหารธุรกิจ
คำสำคัญ: สินเชื่อ จะนะ(สงขลา);เงินกู้ธนาคาร จะนะ(สงขลา)
วันที่เผยแพร่: 2559
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
บทคัดย่อ: งานวิจัยนี้ศึกษาถึงปัจจัยที่มีผลต่อการเกิดหนี้ค้างชำระ สินเชื่อนโยบายรัฐ ของธนาคารออมสิน สาขาจะนะ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการเกิดหนี้ค้างชำระสินเชื่อนโยบายรัฐ ของธนาคารออมสิน สาขาจะนะ และศึกษาข้อเสนอแนะของลูกหนี้ สินเชื่อนโยบายรัฐ ของธนาคารออมสิน สาขาจะนะ เกี่ยวกับปัจจัยที่มีผลต่อการเกิดหนี้ค้างชำระ ผู้วิจัยคาดว่าประโยชน์จากงานวิจัยนี้ จะช่วยให้ธนาคารออมสิน ทราบถึงปัจจัยต่างๆที่ส่งผล ต่อการเกิดหนี้ค้างชำระ และสามารถใช้เป็นแนวทางในการแก้ไขหนี้ค้างชำระที่มีอยู่ระบบ รวมถึงการจัดกระบวนการถ่ายทอดความรู้เพื่อช่วยในการพัฒนาขั้นตอนปล่อยสินเชื่อ ขั้นตอนการติดตามหนี้ให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น โดยงานวิจัยนี้ใช้วิธีการศึกษาเชิงสำรวจ เครื่องมือที่ใช้ ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถาม(Questionnaire) ซึ่งนำข้อมูลมาวิเคราะห์ด้วยวิธีการ ทางสถิติด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์ เพื่อสรุปผลของการศึกษา โดยขอบเขตของงานวิจัย และกลุ่มตัวอย่าง คือ กลุ่มลูกหนี้สินเชื่อนโยบายรัฐ ของธนาคารออมสิน สาขาจะนะ ผลการวิจัย พบว่า ปัจจัยที่มีผลต่อการเกิดหนี้ค้างชำระ สินเชื่อนโยบายรัฐ ของธนาคาร ออมสินโดยรวม พบว่า ปัจจัยภายนอกธนาคารมีผลต่อการเกิดหนี้ค้างชำระ ของธนาคารในระดับมาก ส่วนปัจจัยภายในธนาคาร และปัจจัยที่เกิดจากตัวบุคคล มีผลต่อการเกิดหนี้ค้างชำระของธนาคารในระดับปานกลาง ปัจจัยที่มีผลต่อการเกิดหนี้ค้างชำระสินเชื่อนโยบายรัฐ โดยจำแนกตามข้อมูลบุคคล พบว่า สถานภาพ ระดับการศึกษา อาชีพ ระดับรายได้เฉลี่ยต่อเดือน และจำนวนสมาชิกในครอบครัว มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 สำหรับปัจจัยที่มีผลต่อการเกิดหนี้ค้างชำระสินเชื่อนโยบายรัฐ โดยจำแนกตามข้อมูลการกู้เงิน พบว่า ประเภทของสินเชื่อ ระยะเวลาในการชำระคืน และภาระหนี้สินรวม มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05
รายละเอียด: บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต(บริหารธุรกิจ),2559
URI: http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/11318
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:460 Minor Thesis

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
wannee_Fulltext.pdf4.53 MBAdobe PDFดู/เปิด
wannee_Paper.pdf403 kBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น