กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/11086
ชื่อเรื่อง: | พินัยกรรมในอิสลาม ศึกษาการปฏิบัติจริงของมุสลิมในอำเภอเมือง จังหวัดสตูล |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Wills in Islam : The Actual Practice of Muslims in Muang District, Satun Province. |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | ซาฝีอี, อาดา ทนงศักดิ์, หมาดทิ้ง College of Islamic Studies (Islamic Studies) วิทยาลัยอิสลามศึกษา (อิสลามศึกษา) |
คำสำคัญ: | อิสลามศึกษา;มุสลิม |
วันที่เผยแพร่: | 2558 |
สำนักพิมพ์: | มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี |
บทคัดย่อ: | การศึกษาวิจัยเรื่อง พินัยกรรมในอิสลาม ศึกษาการปฏิบัติจริงของมุสลิมในอำเภอเมืองจังหวัดสตูล มีวัตถุประสงค์ดังนี้ 1. เพื่อศึกษาเกี่ยวกับพินัยกรรมในอิสลาม 2. เพื่อศึกษาระดับความรู้ ความเข้าใจในหลักการ เงื่อนไข องค์ประกอบเกี่ยวกับพินัยกรรมในอิสลามของมุสลิม ในอำเภอเมืองจังหวัดสตูล 3. เพื่อศึกษาถึงปัญหาอุปสรรคและแนวทางการแก้ไขเกี่ยวกับการ ปฏิบัติจริงในการทำพินัยกรรมของมุสลิมในอำเภอเมืองจังหวัดสตูล สำหรับวิธีการดำเนินการวิจัย ผู้วิจัยใช้วิธีการวิจัยเอกสารและวิจัยภาคสนาม การวิจัยเอกสารผู้วิจัยได้เก็บรวบรวมข้อมูลโดยยึดหลักฐานจากอัลกุรอาน อัลหะดีษ และทัศนะของนักวิชาการที่เกี่ยวข้องกับหลักการ เงื่อนไข และวิธีการทำพินัยกรรมตามบทบัญญัติของอิสลาม ตลอดจนศึกษาค้นคว้าจากเอกสารงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง จากอินเตอร์เน็ต และแหล่งข้อมูลสารสนเทศอื่นๆ เพื่อนำมาศึกษาวิเคราะห์และสรุปผล ส่วนการวิจัยภาคสนาม ผู้วิจัยใช้วิธีการสำรวจกลุ่มตัวอย่างจากแบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์ เพื่อเก็บรวบรวมข้อมูลมาวิเคราะห์เชิงปริมาณโดย ใช้สถิติแบบร้อยละ ซึ่งกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ อิหม่ามและคณะกรรมการมัสยิดในอำเภอเมืองจังหวัดสตูลจำนวน 70 คน มุสลิมและมุสลิมะฮฺในอำเภอเมืองจังหวัดสตูลจำนวน 60 คน รวมกลุ่มตัวอย่างทั้งสิ้น 130 คน และทำการเก็บข้อมูลโดยการสัมภาษณ์ประธานคณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัดสตูล 1 คน รองประธานคณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัดสตูล 3 คน หัวหน้าฝ่ายวิชาการของสำนักงานคณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัดสตูล 1 คน คณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัดสตูล 5 คน ดะโต๊ะยุติธรรมประจำศาลจังหวัดสตูล 1 คน นักวิชาการอิสลาม ในอำเภอเมืองจังหวัดสตูล 4 คน และอิหม่ามประจำมัสยิดในอำเภอเมืองจังหวัดสตูล 5 คน รวมกลุ่มตัวอย่างนี้จำนวน 20 คน เป็นการเก็บข้อมูลโดยการสัมภาษณ์เชิงลึก เพื่อนำมาสนับสนุนข้อมูลแบบสอบถามจากคณะกรรมการมัสยิด ผลการวิจัยพบว่า 1. พินัยกรรมเป็นนิติกรรมอย่างหนึ่ง ซึ่งกฎหมายอิสลามได้ให้การให้การยอมรับ ถือเป็นสุนนะฮฺสำหรับผู้ที่มีทรัพย์สินมากมายและทายาทของเขาไม่ใช่ผู้ที่ยากจนขัดสนให้เขาทำพินัยกรรมจากทรัพย์สินของเขาแก่บุคคลอื่นที่ไม่ใช่ทายาทโดยไม่เกินหนึ่งในสามของทรัพย์สินทั้งหมด 2. ผู้ทำพินัยกรรมในอำเภอเมืองจังหวัดสตูลไม่เคยได้รับการศึกษาเกี่ยวกับกฎหมายอิสลามที่ว่าด้วยเรื่องพินัยกรรมมาก่อน เป็นเหตุให้การทำพินัยกรรมนั้นผิดหลักการอิสลาม เช่น ทำพินัยกรรมตามความประสงค์ของตนเองไม่ยึดหลักการทางศาสนามาใช้ หรือทำพินัยกรรมเพื่อตัดสิทธิ์ทายาท และทำพินัยกรรมที่เกินว่าหนึ่งในสามของทรัพย์สินทั้งหมดโดยที่ทายาทที่มีสิทธิ์รับมรดกไม่ยินยอม 3. การศึกษาด้านศาสนาอิสลามของมุสลิมในอำเภอเมืองจังหวัดสตูลนั้นต่ำกว่า ษานะวีย์ เนื่องจากคนในพื้นที่บางส่วนจะศึกษานอกระบบ ตามมัสยิด ตามปอเนาะต่างๆที่สอนเฉพาะด้านศาสนาเพียงอย่างเดียว โดยไม่ได้เข้าศึกษาในโรงเรียน มหาวิทยาลัยหรือสถาบันที่มีการออกวุฒิทางการศึกษา และระดับความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับพินัยกรรมในอิสลามอยู่ในระดับ ปานกลาง รองลงมาคือระดับต่ำ เพราะยังขาดความเข้าใจเกี่ยวกับรายละเอียด ขั้นตอน เงื่อนไข และองค์ประกอบเกี่ยวกับพินัยกรรมในอิสลามที่จะนำไปสู่การปฏิบัติจริง 4. ปัญหาและอุปสรรคในการทำพินัยกรรมของมุสลิมในอำเภอเมืองจังหวัดสตูลเกิดจากความไม่เข้าใจหลักการและกระบวนการในการทำพินัยกรรมตามรูปแบบของอิสลาม และไม่สามารถแยกแยะระหว่างมรดกกับพินัยกรรม ขาดผู้รู้ที่มีความเข้าใจเกี่ยวกับพินัยกรรมในอิสลามในบางพื้นที่ และองค์กรหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น สำนักงานคณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัดรวมถึงอิหม่ามแต่ละมัสยิดไม่ได้ประสานความร่วมมือในการร่างกฎระเบียบเพื่อประกาศใช้อย่างเป็นทางการเกี่ยวกับการทำพินัยกรรมในอิสลามให้เป็นที่ประจักษ์แก่คนมุสลิมในพื้นที่ 5. แนวทางการแก้ไขเกี่ยวกับการปฏิบัติจริงในการทำพินัยกรรมของมุสลิมในอำเภอเมืองจังหวัดสตูลนั้นโดยจัดให้มีการเรียนการสอนองค์ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับพินัยกรรมในอิสลามในสถาบันภาครัฐและเอกชนทุกระดับ และจัดให้มีการเรียนการสอนรายละเอียดต่างๆ หลักการ เงื่อนไข องค์ประกอบและวิธีการทำพินัยกรรมในอิสลามตามโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลาม จัดอบรมภายในแก่กรรมการอิสลามประจำจังหวัดและอิหม่าม พร้อมทั้งมีการทดสอบ ประเมินผลและติดตามความคืบหน้าในการดำเนินงาน จัดตั้งฝ่ายรับผิดชอบมรดกและพินัยกรรม ในอิสลามแต่ละมัสยิดและทำแบบฟอร์มของการเขียนพินัยกรรมในอิสลามและคู่มือการทำพินัยกรรมในอิสลามแจกจ่ายตามมัสยิดในอำเภอเมือง จังหวัดสตูล จัดทำโปรแกรมการประมวลผลการทำพินัยกรรมในอิสลามแบบสำเร็จรูปและข้อมูลออนไลน์เกี่ยวกับองค์ความรู้ เงื่อนไข วิธีการ ขั้นตอนการทำพินัยกรรมในอิสลามให้แก่ผู้ที่สนใจ และมีการร่างเป็นระเบียบการทำพินัยกรรมแบบอิสลามให้ชัดเจนเสมือนกับพินัยกรรมฝ่ายเมือง มีการประกาศใช้อย่างเป็นทางการในแต่ละมัสยิด เพื่อเป็นการอำนวยความสะดวกในการทำพินัยกรรมให้แก่มุสลิมในพื้นที่ The objectives of the research on Wills in Islam: The Actual Practice of Muslims in Muang District, Satun Province are 1)to study wills in Islam, 2) to study the level of knowledge and understanding of principle, terms, and elements of wills in Islam by Muslims in Muang District, Satun Province, and 3) to study the problems or obstacles they faced while they were practically applying the Wills in Islam, and their resolution. The research is documentary and field survey. In the former the researcher collected material from al-Quran, al-Hadith, views of Muslim scholars related to the Islamic law of Wills, and relevant online research material and data for analysis and conclusion. In the latter the researcher used questionnaire and in-depth interview to collect data for quantitative analysis based on percentage statistics. The focus group used in the study is Imams and Masjid Committee members of Muang District area numbering 70, other Muslims and Muslimahs in the same area numbering 60. All combined are 130 persons. The interview was conducted on the chairman of the highest Islamic Committee Office of Satun Province, three vice chairmen, and head of the academic department of the Office, and another five committeemen. Dato of Justice of the provincial court of Satun, five Muslim scholars in Muang District, Satun Province, and five Imams of Masjid in the same area, all combined are 20 persons. The in-depth interview was conducted on them to achieve data in support of the questionnaire directed at the Masjid Committee members of Muang District. The study found that: 1) the wills is one the evidence Therefore law’s Islam was accepted, regard as the Sunnah for those who has a lot of wealth and his lineage must not be poor. Let him do the wills of his property to anyone other than the heirs by not more than one-third of total assets. 2) The testators who practiced the wills in Muang District, Satun Province never obtained proper education concerning the Islamic law of wills. They did it on their own and wrongly without being based on the religious principle of wills leading to the unjust practice of the wills and depriving heirs of their inheritance right and, hence, their disagreement. 3) The religious education of some Muslims in Muang District, Satun Province is lower than thanawiy (secondary level) because they resorted to traditional system of religious education offered in Masjids and pondok institutes of some areas. They did not study in schools, universities, other institutes which could confer a standard certificate and so their knowledge and understanding of wills in Islam is at moderate and lower level because they lacked the detailed understanding of principle, terms, and elements of wills in Islam which could lead to the right practice of the wills. |
รายละเอียด: | วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม.(สาขาวิชาอิสลามศึกษา))--มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, 2558 |
URI: | http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/11086 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | 761 Thesis |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
TC1352.pdf | 10.66 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น