Please use this identifier to cite or link to this item:
http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/11085
Title: | การจัดกิจกรรมหะละเกาะฮฺเพื่อพัฒนานักศึกษา วิทยาลัยอิสลามศึกษา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี |
Other Titles: | Organizing Halaqah Activities for Developing Students of College of Islamic Studies, Prince of Songkla University Pattani Campus. |
Authors: | อับดุลรอนิง สือแต ยาฮารี กาเซ็ง College of Islamic Studies (Islamic Studies) วิทยาลัยอิสลามศึกษา (อิสลามศึกษา) |
Keywords: | อิสลามศึกษา |
Issue Date: | 2558 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี |
Abstract: | เลี้ยงนำกิจกรรมจำนวน 30 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม และแบบสัมภาษณ์ในรูปแบบการสนทนากลุ่ม (Focus Group Discussion) สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ค่าความถี่ (Frequency) ค่าร้อยละ (Percentage) และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) ผลการวิจัย พบว่า 1.การจัดกิจกรรมหะละเกาะฮฺในอิสลาม เป็นกระบวนการขัดเกลาจิตใจ และพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ตามสุนนะฮฺของท่านนะบีมูหัมมัด ผู้ซึ่งได้ริเริ่มกิจกรรมนี้ และได้มีการสืบทอดกันต่อมา นับตั้งแต่ยุคของเศาะฮาบะฮ ยุคตาบีอีน ยุคฟื้นฟูอิสลาม จวบจนกระทั่งถึงยุคปัจจุบัน การจัดกิจกรรมหะละเกาะฮ์ ประกอบด้วย 4 ประการ ได้แก่ 1) พี่เลี้ยง (มูร็อบบีย์) 2) สมาชิกผู้เข้าร่วมกิจกรรม (มูตะร็อบบีย์) 3) วิธีการดำเนินการ และ 4) หลักสูตรกิจกรรม และมีเงื่อนไขในการจัดกิจกรรม 3 ข้อ คือ 1) สมาชิกทุกคนจะต้องรู้จักกัน 2) มีความเข้าใจกัน และ 3) ให้ความช่วยเหลือซึ่งกันและกัน 2.นักศึกษา วิทยาลัยอิสลามศึกษา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ มีความคิดเห็นเกี่ยวกับกิจกรรมหะละเกาะฮฺ อยู่ในระดับมากทุกด้าน พบว่า ด้านคุณภาพของพี้เลี้ยงกลุ่มมีค่าสูงสุด รองลงมา ด้านทัศนคติของนักศึกษาต่อกิจกรรมหะละเกาะฮฺ ด้านเป้าประสงค์ ด้านวิธีการดำเนินกิจกรรมหะละเกาะฮฺ ด้านหลักสูตร ด้านระบบการจัดการของงานกิจกรรมนักศึกษา ตามลำดับ 3.แนวทางการจัดกิจกรรมหะละเกาะฮเพื่อพัฒนานักศึกษา วิทยาลัยอิสลามศึกษา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ดังนี้ 3.1 ด้านเป้าประสงค์ คือ จะต้องคงอยู่ในเป้าประสงค์เดิม ซึ่งครอบคลุมทั้งจิตวิญญาณ สติปัญญา และร่างกาย มีการดำเนินกิจกรรมที่หลากหลาย เพื่อสร้างความเป็นพี่น้อง สร้างภาวะความเป็นผู้นำ พัฒนากิจกรรมที่สามารถสร้างทักษะต่างๆ มีกระบวนการตักเตือนระหว่างนักศึกษา ให้ความช่วยเหลือซึ่งกันและกัน และมีการกำหนดตัวชี้วัดอย่างชัดเจนเพื่อการประเมินนักศึกษาด้านคุณธรรมจริยธรรม 3.2 ด้านพี่เลี้ยง คือ จะต้องคัดเลือกพี่เลี้ยงที่มีความพร้อม มีจิตอาสา มีความรับผิดชอบ มีความจริงใจ และความตั้งใจที่จะเสียสละเพื่อส่วนรวม มีเทคนิคการบริหารและการจัดการกลุ่มศึกษาหะละเกาะฮ มีการอบรมพี่เลี้ยงเพื่อเสริมความรู้ พัฒนาศักยภาพภาวะความเป็นผู้นำ สามารถเป็นแบบอย่างที่ดี รวมถึงมีประสบการณ์และการประเมินตนเองและสมาชิกด้วย 3.3 ด้านหลักสูตร คือ ควรดำเนินการกิจกรรมตามหลักสูตรเดิม พัฒนาทักษะการอ่านอัลกุรอ่านให้ถูกต้อง มีการแยกหลักสูตรหะละเกาะฮฺตามระดับชั้นปีให้ชัดเจน เข้าใจง่าย มีการประยุกต์ใช้กับเทคโนโลยีสมัยใหม่ เป็นส่วนหนึ่งของหลักสูตรการเรียนการสอน และมีการบังคับนักศึกษาเข้าร่วมกิจกรรม 3.4 ด้านการดำเนินการ คือ ควรเริ่มต้นกิจกรรมหะละเกาะฮด้วยการอ่านอัลกุรอาน อรรถาธิบายอัลกุรอาน ตามด้วยรายวิชาต่างๆ ตามหลักสูตร การนำเสนอข่าวสาร และการสรุปผลเพื่อเป็นข้อคิดในการดำเนินชีวิต 3.5 ด้านงานกิจกรรมนักศึกษา คือ ควรจะต้องมีการกำหนดแผนการดำเนินกิจกรรมอย่างชัดเจน มีการติดตามประเมินและสรุปผล มีประสบการณ์และความเชี่ยวชาญในการบริหารจัดการกิจกรรมหะละเกาะฮฺ 3.6 ด้านทัศนคติ คือ จะต้องสามารถสร้างทัศนคติที่ดีแก่ผู้เข้าร่วมกิจกรรม สร้างแรงจูงใจ สร้างความรัก ให้ความอบอุ่น เป็นที่พึ่ง และเป็นแหล่งเรียนรู้ศาสนาในการดำเนินชีวิตประจำวัน และสามารถสร้างภาวะความเป็นผู้นำแก่ผู้เข้าร่วมกิจกรรมได้ This research aimed to study the Organizing Halaqah Activities For Developing Students of College of Islamic Studies, Prince of Songkla University Pattani Campus . The samples consisted 295 of students and 30 of Murabbi consulting. The instruments were a questionnaire and an interview form collected from Murabbi consulting by using the focus group method. The analyzing statistic was frequency percentages and Standard Deviation. The results found that 1.Halaqah activity program in Islam is socialization and develop human resources that are also known as the Sunnah (way) of Prophet Muhammad PHUB who was the initiator of this activity and handed down to the Sahaba, Tabiin to the present with including the four factors: Murabbi consulting, the member (Mutarabbi), operations and curriculums. The condition of Halaqah activity programs were the member known each other, understanding, helping each other. 2. The student of college of Islamic Studies in Prince of Songkla University rated in Halaqah activity program at the high level. The quality of Murabbi consulting is at the highest level,the student’s attitudes toward Halaqah activity program, the objectives, the operations, the curriculums and the student affairs. 3. The guidelines of Halaqah activity program for student development of college of Islamic Studies Prince of Songkla University were 1) The objectives: its remain the same, but must cover the entire of intelligence, soul and body, a variety of activities, creating fraternity, creating leadership, the skills development activities, the process of advice, to help each other and determined indicators that assess student' moral. 2) The murabbi consulting: to select Murabbi consulting which are ready and responsibility, sincere, intending to sacrifice for society, technique to manage Halaqah group, training of Murabbito increase knowledge, to develop leadership, good role model, experience and self-assessment and member. 3) The curriculum: should be operating according to the original course, to develop the Quran reading skill with correct pronunciation, develop the curriculums following for a year-level, easily understood, be application with new technology, be part of the curriculum, to control student' access to activities. 4) The operation: start Halaqah activity program with reading the Quran, commentary of the Quran, course, news, ending by conclusion for an idea of living. 5) The student affairs: to perform activities differently, monitoring and evaluating results, experience and expertise in the management activities of Halaqah activity program. 6. The attitude: to make the participants had a positive thinking, build up effective motivation, improving interpersonal relationships, interdependent, had the knowledge for living in daily and be activity of creating leadership. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม.(สาขาวิชาอิสลามศึกษา))--มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, 2558 |
URI: | http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/11085 |
Appears in Collections: | 761 Thesis |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
TC1351.pdf | 10.37 MB | Adobe PDF | View/Open |
This item is licensed under a Creative Commons License