Please use this identifier to cite or link to this item:
http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/11077
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | อริยา, คูหา | - |
dc.contributor.author | จิรารัตน์, บุญส่งค์ | - |
dc.date.accessioned | 2017-10-18T06:50:11Z | - |
dc.date.available | 2017-10-18T06:50:11Z | - |
dc.date.issued | 2558 | - |
dc.identifier.uri | http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/11077 | - |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม.(สาขาวิชาจิตวิทยา))--มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, 2558 | th_TH |
dc.description.abstract | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาสังคมศึกษาของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ก่อนและหลังการจัดการเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐาน 2) เพื่อเปรียบเทียบความคิดสร้างสรรค์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ก่อนและหลังการจัดการเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐาน และ3) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาสังคมศึกษาและความคิดสร้างสรรค์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ที่มีคะแนนเฉลี่ยสะสมวิชาสังคมศึกษาสูง ปานกลาง และต่ำ หลังการจัดการเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐาน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ เป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาที่ปี 2/2 โรงเรียนกอบกุลวิทยาคม อำเภอสะเดา จังหวัดสงขลา ซึ่งเป็นโรงเรียนในสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 16 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2559 รวมนักเรียนทั้งสิ้น 32 คน โดยการสุ่มแบบแบ่งกลุ่ม (Cluster Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 1) แผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐาน จำนวน 8 แผน 16 ชั่วโมง 2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาสังคมศึกษามีค่าความเชื่อมั่น .78 และ3) แบบทดสอบวัดความคิดสร้างสรรค์มีค่าความเชื่อมั่น .61 ใช้แบบแผนการทดลองแบบทดสอบก่อนและหลังแบบกลุ่มเดียว (One Group Pre-test Post-test) สถิติที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที (t-test) และ One - way MANOVA ผลการวิจัยพบว่า 1. นักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐาน มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาสังคมศึกษาหลังการจัดการเรียนรู้สูงกว่าก่อนการจัดการเรียนรู้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 2. นักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐาน มีความคิดสร้างสรรค์หลังการจัดการเรียนรู้สูงกว่าก่อนการจัดการเรียนรู้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 3. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาสังคมศึกษาและความคิดสร้างสรรค์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ที่มีคะแนนเฉลี่ยสะสมวิชาสังคมศึกษาระดับสูง ปานกลาง และต่ำหลังการจัดการเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐาน แตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญที่ระดับ .05 The objectives of this study were 1) to compare of achievement social studies subject of grade eight students before and after taught with brain based learning activities 2) to compare of creativity of grade eight students before and after taught with brain based learning activities. and3) to compare the achievement social studies subject and creativity of grade eight students with an average on social studies subject among high, medium and low, group of students that taught with brain based learning activities. The samples were 22 students of grade eight students in the second academic semester 2016 from Kobkulwitayakom School, Sadao District, Songkhla Province with cluster sampling. The research instruments consisted of 1) 8 Brain Based Learning lessons plan of plan. 2) Test of social studies achievement with the reliability of .78 and3). Test of creativity with the reliability of .61. The statistics used in this study were mean and standard deviation T-test and One - way MANOVA The findings were as follows 1. After social studies achievement with brain based learning activities score higher than before of at a statistically significant level of .01 2. After creativity with brain based learning activities score higher than before of at a statistically significant level of .01 3. The social studies achievement and creativity scores of grade eight students with different levels of grade; high, medium and low, group of students didn’t show any significant differences level of .05. | th_TH |
dc.language.iso | th | th_TH |
dc.publisher | มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี | th_TH |
dc.subject | ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน | th_TH |
dc.subject | การจัดการเรียนรู้ | th_TH |
dc.title | ผลของการจัดการเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐานที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และความคิดสร้างสรรค์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 | th_TH |
dc.title.alternative | Effects of Brain Based Learning Activities on Achievement and Creativity of Grade Eight Students. | th_TH |
dc.type | Thesis | th_TH |
dc.contributor.department | Faculty of Education (Psychology and Counseling) | - |
dc.contributor.department | คณะศึกษาศาสตร์ ภาควิชาจิตวิทยาและการแนะแนว | - |
Appears in Collections: | 286 Thesis |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
TC1340.pdf | 21.2 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in PSU Knowledge Bank are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.