กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/11064
ชื่อเรื่อง: รูปแบบการจัดการความขัดแย้งในยุคสมัยการปกครองของเคาะลีฟะฮฺ อุษมาน อิบนฺ อัฟฟานกับการประยุกต์ใช้ในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้
ชื่อเรื่องอื่นๆ: The Conflict Management Model in the Age of Caliph Uthman Ibn Affan with Application in the three Southern Border Provinces.
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: อับดุลรอนิง, สือแต
ทิวากร, แย้มจังหวัด
College of Islamic Studies (Islamic Studies)
วิทยาลัยอิสลามศึกษา (อิสลามศึกษา)
คำสำคัญ: การจัดการความขัดแย้ง;อิสลามศึกษา;สามจังหวัดชายแดนภาคใต้
วันที่เผยแพร่: 2558
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
บทคัดย่อ: การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ชีวประวัติเคาะลีฟะฮฺอุษมาน อิบนฺ อัฟฟาน 2) ปัญหาความขัดแย้งที่เกิดขึ้นในสมัยการปกครองของเคาะลีฟะฮฺอุษมาน อิบนฺ อัฟฟาน 3) ปัญหาความขัดแย้งที่เกิดขึ้นในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ 4) เพื่อสังเคราะห์รูปแบบการจัดการความขัดแย้งในสมัยการปกครองของเคาะลีฟะฮฺอุษมาน อิบนฺ อัฟฟานกับการนำมาประยุกต์ใช้ในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้โดยใช้วิธีการวิจัยเชิงเอกสาร วิเคราะห์สภาพปัญหาที่เกิดในยุคการปกครองของเคาะลีฟะฮฺอุษมาน อิบนฺ อัฟฟานกับสภาพปัญหาความขัดแย้งในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ และสังเคราะห์รูปแบบโดยให้ผู้ทรงคุณวุฒิเป็นผู้ประเมินและตรวจสอบ ผลการวิจัยพบว่า 1.ชีวประวัติของเคาะลีฟะฮฺอุษมาน อิบนฺ อัฟฟาน อิบนฺ อบุลอาศ อิบนฺ อุมัยยะฮฺ อิบนฺ อับดิชัมสฺ อิบนฺ อับดิมะนาฟ อิบนฺ กุศ็อย อิบนฺ กิลาบ ส่วนหนึ่งที่ท่านเสียสละในหนทางของอัลลอฮฺ ได้แก่ ซื้อบ่อน้ำรูมะฮฺ ขยายมัสยิดนะบะวียฺ จัดเตรียมกองทัพยามยาก และการรวบรวมอัลกุรอาน คุณลักษณะอันโดดเด่นของท่านประกอบด้วย มีความรู้และมีวุฒิภาวะในการชี้แนะ มีความสุขุมรอบคอบ มีความยืดหยุ่นและประนีประนอม มีความอ่อนโยน ให้อภัยมีความนอบน้อม มีความละอาย มีจิตใจกุศล มีความกล้าหาญ มีความอดทน มีความยุติธรรม มีความเคร่งครัด มีความมักน้อย ในยุคการปกครองของท่านสามารถพิชิตแคว้นเมืองเป็นจำนวนมาก นอกจากนี้ท่านอุษมาน ได้ปกครองบริหารรัฐโดยการประกาศใช้ธรรมนูญ (الدستور) สูงสุดประกอบด้วย อัลกุรอาน (الكتاب) แบบฉบับของเราะสูล (السنة) ใช้หลักการปรึกษาหารือ (الشورى) หลักความยุติธรรม (العدالة) และหลักความอิสรเสรีภาพ (الحرية) 2. สภาพปัญหาความขัดแย้งที่เกิดขึ้นในสมัยการปกครองของเคาะลีฟะฮฺอุษมาน อิบนฺ อัฟฟาน ผลการศึกษาพบว่า ปัญหาความขัดแย้งที่เกิดขึ้นในสมัยการปกครองของท่านสามารถแบ่งออกเป็น 5 ด้าน ประกอบด้วย 1) ด้านการเมืองการปกครอง ได้แก่ กรณีการไม่ได้เข้าร่วมสมรภูมิบะดัร กรณีการถอยร่นจากสมรภูมิอุหุด กรณีการเข้าร่วมทำสัตยาบันอัล-ริฎวานล่าช้า กรณีการสั่งปลดอบูมูซา อัล-อัชอะรียฺ และกรณีการสั่งปลดมุฆีเราะฮฺ อิบนฺ ชุอ์บะฮฺ 2) ด้านสังคม ได้แก่ กรณีของอับดุลลอฮฺ อิบนฺ สะบะอ์ กรณีผู้ปกครองบางคนใช้ชีวิตอย่างฟุ่มเฟือย และกรณีการเนรเทศอบูซัร อัล-ฆิฟารียฺ 3) ด้านการปฏิบัติศาสนา ได้แก่ กรณีการรวบรวมอัลกุรอาน และการไม่ได้ละหมาดย่อที่ทุ่งมินา 4) ด้านเศรษฐกิจ ได้แก่ กรณีการจัดสรรที่ดินสงวน กรณีการอนุญาตให้ครอบครองที่ดินโดยอิสระ และกรณีนโยบายการบริหารกองคลังที่เปลี่ยนไป 5) ด้านกระบวนการยุติธรรม ได้แก่ กรณีการลงโทษอัมมาร อิบนฺ ยาสิร และกรณีที่ท่านไม่ได้ดำเนินการตัดสินคิศอศ(القصاص) แก่อุบัยดิลลาฮฺ อิบนฺ อุมัร 3. ปัญหาความขัดแย้งที่เกิดขึ้นในพื้นที่ของสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ แบ่งออกเป็น 7 ด้าน ประกอบด้วย 1) ด้านการเมืองการปกครอง การมีมุมมองที่แตกต่างกันระหว่างภาครัฐกับประชาชนในพื้นที่ ปัจจัยดังกล่าวถูกหยิบยกมาเป็นประเด็นทางการเมืองที่เอื้อต่อการก่อให้เกิดความขัดแย้งจนกระทั่งกลายมาเป็นความรุนแรงในที่สุด 2) ด้านศาสนาและความเชื่อ แม้ศาสนาจะไม่ใช่สาเหตุของความขัดแย้งในพื้นที่โดยตรงแต่ก็มีความเชื่อว่าศาสนาอิสลามได้ถูกนำมาอ้างเพื่อสร้างความชอบธรรมให้กับการกระทำของผู้ก่อความไม่สงบในพื้นที่ 3) ด้านเศรษฐกิจ ปัญหาความยากจนและปัญหาสิทธิในการเข้าถึงทรัพยากรธรรมชาติของคนในพื้นที่ 4) ด้านสังคมและวัฒนธรรม ภาครัฐยังขาดความรู้ความเข้าใจต่ออัตลักษณ์ความเป็นมุสลิมของประชาชนในพื้นที่จึงกลายเป็นการกดทับอัตลักษณ์ของความเป็นมุสลิม 5) ด้านการศึกษา สาเหตุจากการที่ภาครัฐพยายามเข้าไปควบคุมการจัดการการศึกษาของสถาบันปอเนาะจึงกลายเป็นอีกชนวนที่ทำให้คนในพื้นที่เกิดความหวาดระแวงและปฏิเสธระบบการศึกษาของรัฐไทยไปโดยปริยาย 6) ด้านกระบวนการยุติธรรม เกิดจากการละเมิดสิทธิมนุษยชนและสิทธิของความเป็นมนุษย์ขั้นพื้นฐาน 7) ด้านประวัติศาสตร์ ปัญหาความไม่สงบที่เกิดขึ้นส่วนหนึ่งเกิดจากปัญหาทางประวัติศาสตร์ที่ยังคงถูกนำมาใช้เพื่อสร้างความรู้สึก และแต่ละฝ่ายมีทัศนคติด้วยมุมมองที่ต่างกัน 4. รูปแบบการจัดการความขัดแย้งที่เกิดในสมัยการปกครองของเคาะลีฟะฮฺอุษมาน อิบนฺ อัฟฟานเพื่อประยุกต์ใช้ในการแก้ปัญหาสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ มี 3 รูปแบบคือ 1) กระบวนการจัดการความขัดแย้งของเคาะลีฟะฮฺอุษมาน อิบนฺ อัฟฟาน (Model Conflict Management of Uthman Ibn Affan) เป็นรูปแบบที่มุ่งเน้นการสร้างความสมานฉันท์ ท่านปฏิเสธการใช้ความรุนแรง เนื่องจากมีความตระหนักดีว่าแนวทางสันติวิธีจะเป็นทางออกของการแก้ปัญหาความขัดแย้งได้ดีที่สุด 2) การสานเสวนาเชิงอิสลาม (Model of Islamic Dialogue) รูปแบบการจัดการความขัดแย้งอีกรูปแบบที่พบในยุคสมัยของเคาะลีฟะฮอุษมานคือการใช้กระบวนการที่ให้ผู้มีความเกี่ยวข้องได้มีการปฏิสัมพันธ์กันอย่างลึกซึ้งทำให้เกิดการพูดคุยสนทนาระหว่างบุคคลหรือกลุ่มบุคคลที่เกี่ยวข้องในสถานการณ์ความขัดแย้งหนึ่งๆ โดยการพูดคุยจะมุ่งเน้นให้เกิดความเข้าใจอันดีแก่ทุกฝ่าย 3) การเจรจาสันติภาพเชิงอิสลาม (Model of Islamic Peace Talks) ในสมัยท่านเคาะลีฟะฮอุษมานพบว่าท่านมีการแสดงเจตจำนงอย่างชัดเจนที่จะเปิดโต๊ะเจรจาสันติภาพเพื่อปรับลดระดับปัญหาความขัดแย้งที่เกิดขึ้น ซึ่งแสดงถึงว่าท่านต้องการแก้ปัญหาด้วยสันติวิธี และพยายามหลีกเลี่ยงความสูญเสียอันจะเกิดขึ้นกับพี่น้องมุสลิมด้วยกันเอง This research aims to study; 1) the biography of Khalifah Uthman Ibn Affan , 2) the conflicts issues in the era of Khalifah Uthman Ibn Affan , 3) The conflicts issue in the three southern border province, 4) the synthetic model of conflict management in the era of Khalifah Uthman Ibn Affan  and the application of problem solving method with current area. The research was conducted by using document to analysis the states and problems in the age of Khalifah Uthman Ibn Affan  as well as the conflicts in southern border Province of Thailand and synthesized by a panel of experts to evaluate and verify the result. The results of this study were as follows: 1. The biography of Khalifah Uthman Ibn Affan  Ibn Abu al-‘As Ibn Umaiyah Ibn ‘Abd Shams Ibn ‘Abd Manaf Ibn Qusay Ibn Kilab, He had sacrificed much in the cause of Allah, e.g. purchased Rumah pond, enlarged the Nabawi Mosque, prepared the army during the difficult and compilation of the Qur'an. The great personality of Uthman Ibn Affan  included; knowledgeable, mature in guiding people under his command, calm, flexibility, compromise, forgiveness, gentle, volunteerism, courage, patience, justice, strenuous and humbly. He could conquer a number of cities during his period. Moreover the government of Khalifah Uthman Ibn Affan  was ruled by adoption of the highest constitution (الدستور) which consists of Quran (الكتاب), the typical of Rasulluah (السنة), the principle of consultation (الشورى), the justice (العدالة) and freedom (الحرية). 2. The conflicts issues in the age of Khalifah Uthman Ibn Affan  this study found that; there are 5 aspects of conflict issues during time of Khalifah Uthman Ibn Affan  including; 1) political issues, e.g. a case of did not join the battle of Badar, a case turned on the battle of U-hud, a case he was late in participation of Al-Ridwan, a case released of Abu Musa Al-Ashary and a case release of Mughirah Ibn Shu’bah 2) social issue, e.g. the case of Abdullah Ibnu Sa’ba’, case some of the rulers have a lavish lifestyle, deportation of Abu-zar al-Ghifari  3) religion issues, e.g. case compiling the Qur'an and he did not had a short prayer at Mina fields 4) economic issues, e.g. a case allocation of reserve land, a case permitted to own the land independently, case the management policy of treasury was changes and 5) judicial practice, e.g. case punishment of Ammar Ibn Yasir, case he did not make a judgment Qisos (القصاص) to Ubaidillah Ibn Umar. 3. There are 7 aspects of the controversial issues that occurred in the context of three southern border provinces including; 1) Politic, since the government and people in this area have a difference opinion and such factors are addressed as political issues contributing to causing the conflict and ultimately became violent. 2) Religion and belief, although religion issues is not the directly cause of conflict in the area, but yet Islam has been cited to justify the actions of the terrorists in the area. 3) Economic, issues of poverty and exploitation of natural resources in the area. 4) Social and cultural, the government lack of understanding the identity of the Muslim population in the area. Thus it pressed the Identity of being Muslim. 5) Educational, since in the past, the government had tried to control the educational system in the institutions of Pondok, so It became another reason for people to distrust and refused the national's education system, 6) justice, due to the violation of human rights and fundamental rights of a human being in that area, and 7) History, the violence which occurred some are caused by historical issue that are sensitive for people of different attitude. 4. The conflict resolution’s model in the age of Uthman Ibn Affan  could be applied to solve the conflict problem in the three southern border provinces in 3 models including; 1) Model Conflict Management of Uthman Ibn Affan , this model have focuses on a reconciliation. Since Uthman Ibn Affan  had refused any violence as he recognizes that peace process was the best way of conflict management. 2) Model of Islamic Dialogue, another form of conflict management process in a period of Uthman Ibn Affan  was a process of interaction and engages in conversation between the people who involved in the conflict, however the discussion will focus on the mutual understanding of all parties. 3) Model of Islamic Peace Talks, frequently Uthman Ibn Affan  has clearly expressed his intention to negotiate with a peace dialogue to reduce the conflicts. And to indicate that he really want to solve the problem with a peaceful method, as to avoid from any losses that could be happen to the Muslim’s brothers.
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (ปร.ด.(สาขาวิชาอิสลามศึกษา))--มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, 2558
URI: http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/11064
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:761 Thesis

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
TC1320.pdf11.34 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น