กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/11027
ชื่อเรื่อง: การเพิ่มผลิตภาพในกระบวนการบรรจุน้ำหนัก ผลิตภัณฑ์อาหารสัตว์เลี้ยงบรรจุถ้วยพลาสติก
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Productivity Improvement in the Packing Process of Pet Food in Plastic Cup
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: เจริญ เจตวิจิตร
ดาริน เปรมปรีชา
Faculty of Engineering (Industrial Engineering)
คณะวิศวกรรมศาสตร์ ภาควิชาวิศวกรรมอุตสาหการ
คำสำคัญ: การเพิ่มผลิตภาพ;กระบวนการบรรจุน้ำหนัก;ผลิตภัณฑ์อาหารสัตว์เลี้ยง;FMEA;การควบคุมด้วยการมองเห็น (Visual control)
วันที่เผยแพร่: 2560
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
บทคัดย่อ: งานวิจัยฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อลดความสูญเสียของวัตถุดิบ ในกระบวนการบรรจุอาหารสัตว์เลี้ยงบรรจุถ้วยพลาสติกในโรงงานแห่งหนึ่ง โดยมีเป้าหมายในการลดความสูญเสียของวัตถุดิบลงอย่างน้อยร้อยละ 10 เมื่อเทียบกับกระบวนการทำงานเดิมก่อนการปรับปรุง โดยไม่ส่งผลกระทบต่อเวลาในการทำงานของพนักงานบรรจุ และไม่ทำให้เพิ่มจำนวนผลิตภัณฑ์ที่มีน้ำหนักบรรจุต่ำกว่ามาตรฐานมากขึ้น การวิจัยเริ่มต้นด้วยการศึกษากระบวนการผลิต พิจารณาของเสียในกระบวนการผลิตที่ส่งผลต่อต้นทุนการผลิตและผลิตภาพ วิเคราะห์หาสาเหตุที่แท้จริงของปัญหาโดยใช้แผนผังก้างปลา พร้อมทั้งตั้งสมมติฐาน และการทดสอบสมมติฐาน แล้วนำมาวิเคราะห์เชิงตัวเลข เพื่อให้ทราบสภาวการณ์ก่อนการปรับปรุงงาน โดยใช้เทคนิคการวิเคราะห์ข้อบกพร่องและผลกระทบ (Failure Mode and Effect Analysis, FMEA) ผลการศึกษาพบว่าค่าตัวเลขความเสี่ยง (RPN) แสดงให้เห็นว่าปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อปัญหาการสูญเสียของวัตถุดิบมากที่สุดคือ วิธีการชั่งน้ำหนักอ่านค่ายาก (RPN = 560) ผู้วิจัยจึงเสนอแนวทางในการปรับปรุงงานจำนวน 2 แนวทางคือ 1) การปรับปรุงวิธีการชั่งน้ำหนักใหม่โดยนำหลักการการควบคุมด้วยการมองเห็น (Visual control) มาใช้ และ 2) การจัดสมดุลสายการผลิต ผลการปรับปรุงวิธีชั่งน้ำหนักสามารถลดการสูญเสียวัตถุดิบจากการบรรจุน้ำหนักเกินมาตรฐานได้ร้อยละ 28.31 โดยไม่ได้ส่งผลกระทบต่อจำนวนผลิตภัณฑ์ที่ พบปัญหาน้ำหนักต่ำกว่ามาตรฐานเพิ่มขึ้น และช่วยเพิ่มอัตราเร็วในการทำงานในขั้นตอนการชั่งน้ำหนักจาก 19.5 ถ้วยต่อคนต่อนาที เป็น 21.7 ถ้วยต่อคนต่อนาที จากการปรับปรุงการทำงานสามารถลดพนักงานในขั้นตอนการชั่งได้จำนวน 2 คน เมื่อนำมาคำนวณหาผลิตภาพแรงงาน ก่อนการปรับปรุงคิดเป็น 417.4 ถ้วยต่อคนต่อชั่วโมงและหลังการปรับปรุงคิดเป็น 505.3 ถ้วยต่อคนต่อชั่วโมง และสามารถลดต้นทุนค่าแรงงานจากการลดพนักงานในจุดชั่งบรรจุน้ำหนักได้ถึง 192,192 บาทต่อปี
รายละเอียด: วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต (การจัดการอุตสาหกรรม), 2560
URI: http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/11027
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:228 Minor Thesis

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
Productivity Improvement in the Packing Process of Pet Food in Plastic Cup.pdf394.91 kBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น