กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/11000
ชื่อเรื่อง: | ยุทธศาสตร์การพัฒนามหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์สู่การเป็นมหาวิทยาลัย สร้างเสริมสุขภาพ ด้านการส่งเสริมการออกกำลังกาย |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Strategies for Developing Prince of Songkla University into a Health Promotion University with an Emphasis on Exercise Promotion |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | เอกรินทร์ สังข์ทอง นพดล นิ่มสุวรรณ Faculty of Education (Educational Administration) คณะศึกษาศาสตร์ ภาควิชาบริหารการศึกษา |
คำสำคัญ: | สร้างเสริมสุขภาพ;ออกกำลังกาย |
วันที่เผยแพร่: | 2559 |
สำนักพิมพ์: | มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี |
บทคัดย่อ: | งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาบริบทและทิศทางการพัฒนามหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ สู่การเป็นมหาวิทยาลัยสร้างเสริมสุขภาพด้านการส่งเสริมการออกกำลังกาย และ 2) กำหนดยุทธศาสตร์การพัฒนามหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์สู่การเป็นมหาวิทยาลัยสร้างเสริมสุขภาพด้านการส่งเสริมการออกกำลังกาย โดยใช้การวิจัยแบบผสมผสาน (Mixed-Methods Research) ซึ่งประยุกต์ใช้เทคนิควิธีการวิจัยเชิงปริมาณ และเทคนิควิธีการวิจัยเชิงคุณภาพมาผสมผสานกันหลายขั้นตอน (Multi phases) โดยผู้วิจัยได้ดำเนินการ 3 ระยะ คือระยะที่ 1 การกำหนดทิศทางร่างยุทธศาสตร์ ซึ่งผู้วิจัยใช้การสัมภาษณ์แบบเจาะลึก (In-depth Interview) กับผู้ปฏิบัติงานด้านกีฬาและ ผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง (Stakeholders) รวมถึงอาจารย์ บุคลากร นักศึกษาของมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ทั้ง 5 วิทยาเขต จำนวน 30 คน โดยยึดหลักการวิเคราะห์สภาวะองค์กร (SWOT Analysis) เพื่อศึกษาบริบท และทิศทางการพัฒนามหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์สู่การเป็นมหาวิทยาลัยสร้างเสริมสุขภาพด้านการส่งเสริมการออกกำลังกาย และนำมาเป็นแนวทางในการกำหนดยุทธศาสตร์การพัฒนามหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์สู่การเป็นมหาวิทยาลัยสร้างเสริมสุขภาพด้านการส่งเสริมการออกกำลังกาย ระยะที่ 2 การพัฒนายุทธศาสตร์ ซึ่งผู้วิจัยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเทคนิคเดลฟาย (Delphi Technique) เพื่อรวบรวมความคิดเห็นของผู้ทรงคุณวุฒิ ด้านการออกกำลังกายและการดำเนินการด้านกีฬาจำนวน 23 คน เกี่ยวกับร่างยุทธศาสตร์ของการพัฒนามหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์สู่การเป็นมหาวิทยาลัยสร้างเสริมสุขภาพด้านการส่งเสริมการออกกำลังกายในอนาคต และเพื่อวิเคราะห์ความสอดคล้องของความคิดเห็นของผู้ทรงคุณวุฒิ และระยะที่ 3 การยืนยันความเป็นไปได้ของยุทธศาสตร์ โดยผู้มีอำนาจในการกำหนดนโยบายมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ จำนวน 8 คน ซึ่งประกอบด้วยผู้บริหารระดับสูงของมหาวิทยาลัยตำแหน่งอธิการบดี และรองอธิการบดี ทั้ง 5 วิทยาเขตได้ตรวจสอบความชัดเจน และยืนยันความเป็นไปได้ของร่างยุทธศาสตร์การพัฒนามหาวิทยาลัย สงขลานครินทร์สู่การเป็นมหาวิทยาลัยสร้างเสริมสุขภาพด้านการส่งเสริมการออกกำลังกาย ผลของการวิจัยมีดังนี้ 1. การวิเคราะห์สภาวะองค์กร พบว่ามีจุดแข็งคือ มหาวิทยาลัยมีสถานที่เพื่อการออกกำลังกายและการเล่นกีฬาที่ทันสมัย และมีงบประมาณเพื่อการส่งเสริมการออกกำลังกาย การที่มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์เป็นมหาวิทยาลัยที่มีชื่อเสียงทั้งในระดับภูมิภาคและระดับประเทศทำให้มีโอกาสที่จะได้รับความเชื่อมั่น ไว้วางใจ และการสนับสนุนจากหน่วยงานภายนอกด้านการกีฬา และการส่งเสริมการออกกำลังกายสูง แต่มหาวิทยาลัยก็มีจุดอ่อน อุปสรรค และปัญหาหลายประการที่ส่งผลต่อการพัฒนาเป็นมหาวิทยาลัยสร้างเสริมสุขภาพด้านการส่งเสริมการออกกำลังกาย ส่วนใหญ่เกี่ยวข้องกับตัวบุคคล (ทั้งนักศึกษา บุคลากร อาจารย์ และผู้บริหาร) การใช้สถานที่ และอุปกรณ์สำหรับการออกกำลังกาย การจัดสรรงบประมาณ การประชาสัมพันธ์ การกำหนดนโยบาย แผน และทิศทางการส่งเสริมสุขภาพ และการบริหารจัดการ 2. ยุทธศาสตร์การพัฒนามหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์สู่การเป็นมหาวิทยาลัยสร้างเสริมสุขภาพด้านการส่งเสริมการออกกำลังกายมีดังนี้ วิสัยทัศน์ : เป็นองค์กรทางการศึกษาในภาคใต้ที่มุ่งพัฒนาการออกกำลังกายเพื่อสุขภาพให้บุคลากรทุกภาคส่วนบนรากฐานของความสำเร็จอย่างยั่งยืน พันธกิจ ประกอบด้วย 1) พัฒนาการบริหารจัดการด้านการกีฬาและการออกกำลังกายอย่างเป็นระบบ โดยการมีส่วนร่วมของนักศึกษา บุคลากรฝ่ายวิชาการ ฝ่ายสนับสนุนและเจ้าหน้าที่ ทุกภาคส่วน 2) สร้างความตระหนักถึงการส่งเสริมสุขภาพด้านการออกกำลังกายของบุคลากร ทุกภาคส่วนในมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ 3) ดำเนินการพัฒนาประชากรของมหาวิทยาลัยสร้างองค์ความรู้วัฒนธรรม และเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการออกกำลังกายของประชากรในมหาวิทยาลัย 4) พัฒนาสุขภาพดีชีวีมีสุขให้กับบุคลากรมหาวิทยาลัยและชุมชนในสังคมส่งเสริมและพัฒนาการออกกำลังกายให้เป็นวัฒนธรรมและวิถีชีวิตสำหรับประชากรของมหาวิทยาลัย 5) ส่งเสริมและสนับสนุนการพัฒนาผู้นำทางการกีฬาและการออกกำลังกายให้มีขีดความสามารถ และความรู้สูงขึ้น ยุทธศาสตร์ ประกอบด้วย 1) ยุทธศาสตร์ด้านคน ประกอบด้วยยุทธศาสตร์การพัฒนาบุคลากรด้านกีฬาและ การออกกำลังกาย 13 กลยุทธ์ ยุทธศาสตร์การพัฒนาบุคลากรสายวิชาการและสายสนับสนุน 10 กลยุทธ์ ยุทธศาสตร์การพัฒนานักศึกษา 7 กลยุทธ์ 2) ยุทธศาสตร์ด้านการจัดสรรงบประมาณ ประกอบด้วยยุทธศาสตร์การจัดสรร งบประมาณ 8 กลยุทธ์ และยุทธศาสตร์การหาแหล่งทุน 6 กลยุทธ์ 3) ยุทธศาสตร์ด้านสถานที่และอุปกรณ์ ประกอบด้วย 16 กลยุทธ์ 4) ยุทธศาสตร์ด้านการประชาสัมพันธ์ ประกอบด้วย 11 กลยุทธ์ 5) ยุทธศาสตร์ด้านการกำหนดนโยบาย แผน และทิศทางการส่งเสริมสุขภาพ ประกอบด้วย13 กลยุทธ์ 6) ยุทธศาสตร์ด้านการบริหารและการจัดการ ประกอบด้วย 17 กลยุทธ์ |
รายละเอียด: | วิทยานิพนธ์ (ศษ.ด.(สาขาวิชาการบริหารการศึกษา))--มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, 2559 |
URI: | http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/11000 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | 260 Thesis |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
TC1310.pdf | 13.91 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น