Please use this identifier to cite or link to this item: http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/10741
Title: วัจนกรรมการตำหนินักเรียนของครูในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้
Other Titles: Reprimand of Teachers towards Students in Three Southern Border Provinces in Thailand.
Authors: ตามใจ, อวิรุทธิโยธิน
วิฑูรย์, เมตตาจิตร
Faculty of Humanities and Social Sciences (Thai)
คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ภาควิชาภาษาไทย
Keywords: การจัดการเรียนการสอน;ผลสัมฤิทธิ์ทางการเรียน;ไทย (จังหวัดชายแดนภาคใต้)
Issue Date: 2558
Publisher: มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
Abstract: การศึกษานี้มุ่งศึกษาวัจนกรรมการตำหนินักเรียนโดยเก็บข้อมูลจากครูจำนวน 60 คน ในโรงเรียนสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ ผู้วิจัยเก็บข้อมูลด้วยวิธีการเติมบทสนทนาให้สมบูรณ์ โดยก าหนดสถานการณ์ขึ้นมา 8 สถานการณ์ ตามคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียนที่ระบุไว้ในหลักสูตรแกนกลางของกระทรวงศึกษาธิการ ผลการศึกษาโดยภาพรวมพบวัจนกรรมการตำหนิดังนี้ 1) วัจนกรรมตรง จำนวน 7 กลวิธี ได้แก่ บอกให้ปฏิบัติ บอกผลของการกระทำ บอกความผิด ย้ำกฎเกณฑ์ สร้างเงื่อนไข กระตุ้นในรูปแบบการถาม และประเมินค่าทางลบ 2) วัจนกรรมอ้อม จำนวน 6 กลวิธี ได้แก่ บอกข้อมูลบางอย่าง บอกให้ทำบางอย่าง ยกถ้อยคำมากล่าว ให้โอกาส ใช้ถ้อยคำเชิงบวก และถาม 3) วิธีการเสริม จำนวน 7 กลวิธี ได้แก่ เรียกว่านักเรียน ใช้คำสรรพนาม เรียกชื่อ ใช้คำชม ใช้คำอุทาน ใช้คำว่านี่ และใช้คำทักทาย เมื่อพิจารณาโดยภาพรวม พบว่า พฤติกรรมการตำหนิของครูมีดังนี้ ใช้วัจนกรรมตรงมากที่สุด ตามด้วยวัจนกรรมอ้อม และวิธีการเสริม ตามลำดับ เมื่อพิจารณาร่วมกับปัจจัยเพศของผู้ตำหนิ พบว่า ครูเพศชายและครูเพศหญิงใช้วัจนกรรมการตำหนิที่คล้ายคลึงกัน เมื่อพิจารณาร่วมกับปัจจัยเพศของผู้ถูกตำหนิ พบว่า นักเรียนหญิงถูกใช้วัจนกรรมอ้อมมากกว่านักเรียนชาย และนักเรียนชายถูกใช้วิธีการเสริมมากกว่านักเรียนหญิง และเมื่อพิจารณาร่วมกับปัจจัยภาษาแม่ของผู้ตำหนิ พบว่า ครูที่พูดภาษาไทยเป็นภาษาแม่และภาษามลายูเป็นภาษาแม่ใช้วัจนกรรมการตำหนิที่คล้ายคลึงกัน The purpose of this research was to study the teachers’ reprimand towards students. The strategies of data collection adopted in this research was to interview with 60 teachers in 3 southern border provinces using 8 discourse completion tests based on the desirable characteristics of students from the basic education core curriculum. The results show that there are 7 strategies of direct speech acts which are telling students to act, informing students the consequences of action, pointing out the mistakes, repeating the rules and regulations, constructing conditions, stimulating through the act of inquiring, and foresting negative assessment. As for indirect speech acts, there are 6 strategies as follows: telling students information, commanding students to discard inappropriate behaviors, quoting others’ remarks, giving chances, complimenting, and asking for behavior correction. Lastly, here are 7 strategies for supportive strategies and these strategies are using the word “student” , using pronouns, using names, using compliments, using interjection, using the word “นี่” and using greeting words. The overall results show that teachers had behavior as following, They preferred using direct speech acts to indirect speech acts, followed by supportive strategies. Considering teachers’ genders, they used similar reprimand approaches. In the case of students, female students were treated with indirect speech act rather than male students while male students were more likely to be treated with supportive strategies than female students. Considering teachers’ mother tongues which are Thai and Malay, the study showed that they used similar approaches.
Description: วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม.(สาขาวิชาภาษาไทย))--มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, 2558
URI: http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/10741
Appears in Collections:411 Thesis

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
TC1221.pdf3.19 MBAdobe PDFView/Open


Items in PSU Knowledge Bank are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.