กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/10639
ชื่อเรื่อง: การมีส่วนร่วมของผู้ปกครองในการจัดการศึกษาของโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลาม ในจังหวัดปัตตานี
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Guardians’ Participation in Education Provision of Islamic Private Schools in Pattani.
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: นิเลาะ, แวอุเซ็ง
มูฮัมหมัดนาซีรีน, โต๊ะลู
College of Islamic Studies (Islamic Studies)
วิทยาลัยอิสลามศึกษา (อิสลามศึกษา)
คำสำคัญ: ศาสนาอิสลาม;ไทย (จังหวัดชายแดนภาคใต้)
วันที่เผยแพร่: 2558
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์คือ 1. เพื่อศึกษาระดับการมีส่วนร่วมของผู้ปกครองในการจัดการศึกษาของโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลามในจังหวัดปัตตานี 2. เพื่อเปรียบเทียบระดับการมีส่วนร่วมของผู้ปกครองในการจัดการศึกษาของโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลามในจังหวัดปัตตานีจ าแนกตาม เพศ อายุ ระดับการศึกษา อาชีพ และรายได้ของผู้ปกครอง 3. เพื่อประมวลข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการมีส่วนร่วมของผู้ปกครองในการจัดการศึกษาของโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลามในจังหวัดปัตตานี กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ปกครองของนักเรียนที่กำลังศึกษาอยู่ในชั้นมัธยมศึกษาชั้นปีที่ 6 ของปีการศึกษา 2557 จำนวน 300 คน จากโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลามในจังหวัดปัตตานี จำนวน 56 โรง โดยได้ดำเนินการสุ่มกลุ่มตัวอย่างด้วยวิธีการสุ่มแบบง่าย เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่า t และค่า F ผลการวิจัยพบว่า 1) การมีส่วนร่วมของผู้ปกครองในการจัดการศึกษาของโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลามในจังหวัดปัตตานีมี พบว่า ค่าเฉลี่ยการมีส่วนร่วมของผู้ปกครองในภาพรวมอยู่ในระดับมากและเมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า ด้านการตัดสินใจร่วมกันระหว่างโรงเรียนกับผู้ปกครอง ด้านการเรียนรู้ที่บ้าน ด้านการอบรมเลี้ยงดูในฐานะผู้ปกครอง และด้านการร่วมมือระหว่างโรงเรียนกับชุมชน อยู่ในระดับมาก ยกเว้นด้านการอาสาสมัครของผู้ปกครองโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด 2) ผลการเปรียบเทียบการมีส่วนร่วมของผู้ปกครองในการจัดการศึกษาของโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลามในจังหวัดปัตตานี จำแนกตาม เพศ อายุ ระดับการศึกษา อาชีพรายได้ พบว่า ไม่แตกต่างกัน 3) ผลการประมวลข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการมีส่วนร่วมของผู้ปกครองในการจัดการศึกษาของโรงเรียนเอกชนอิสลามในจังหวัดปัตตานี พบว่า ด้านการอบรมเลี้ยงดูในฐานะผู้ปกครอง คือ ควรจัดระบบการทำงานให้เข็มแข็งและมีความสามัคคีกันไม่ว่าจะเป็นฝ่ายผู้ปกครองฝ่ายบุคลากรของโรงเรียน ด้านอาสาสมัครของผู้ปกครอง คือ ผู้ปกครองควรสังเกตการณ์เปลี่ยนแปลงของลูก ด้านการเรียนรู้ที่บ้าน คือทุกฝ่ายที่รับผิดชอบต้องช่วยกันดูแลไม่ควรปล่อยให้ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งรับผิดชอบโดยลำพัง ด้านการตัดสินใจร่วมกันระหว่างโรงเรียนกับผู้ปกครอง คือ ควรมีการบันทึกข้อมูล สังเกต สัมภาษณ์ เยี่ยมบ้านนักเรียน ศึกษาข้อมูล สอบถามผู้ปกครอง ผู้เกี่ยวข้อง เพื่อให้รู้ปัญหาต่างๆ และทำการจัดเก็บเป็นแฟ้มข้อมูล ด้านการร่วมมือระหว่างโรงเรียนกับชุมชน คือ ควรสร้างจิตสำนึกให้นักเรียนรักบ้านเกิดและชุมชน The purposes of this research are: 1) to study guardians’ level of participation in education provisions of Islamic private schools in Pattani, 2) to compare guardians’ level of participation in education provisions of Islamic private schools in Pattani based on gender, age, level of education, occupation and income of guardians and 3) to analyze opinions and suggestions in regard to guardians’ participation in education provisions of Islamic private schools in Pattani. The samples were 300 guardians of grade 6 high school students (academic year 2014) of 56 Islamic private schools in Pattani. Questionnaires and interview technique were used to collect data and the statistic technique employed to analyze the collected data were percentage, mean, standard deviation, T-test and F-test. Results of the Study: 1. Overall average mean of guardians’ level of participation in education provisions of Islamic private schools in Pattani was found to be high. With regard to mean of each dimensions of guardians’ level of participation, namely, joint decision making between schools and guardians, learning at learning, parenting, collaboration between schools and communities were also found to be high, with the exception of dimension of voluntary guardians which was found to be very high. 2. The results of comparison of guardians’ participation in education provisions of Islamic private schools in Pattani based on gender, age, level of education, occupation and income of guardians showed that their participation was not different. 3. The results of analysis on guardians’ opinions and suggestions in regard to their participation in education provisions of Islamic private schools in Pattani revealed that on the dimension of parenting, it was suggested to strengthen work management system and to build unity among guardians and school personnel. On the dimension of voluntary guardians, it was suggested that the guardians should observe changes that occurred on their children, while on the dimension of learning at home, it was suggested that all responsible parties have to mutually take care of their children’ learning at home and to avoid letting any party to be solely responsible on this matter. On the dimension of joint decision making between schools and guardians, it was suggested to have a data record, conduct observation and interview, visit students’ houses, study the data, ask guardians and relevant persons in order to learn about problems. On the dimension of collaboration between schools and communities, it was suggested to build a conscious mind in students to love their hometown and community.
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (ศษ.ม.(การบริหารและการจัดการการศึกษาอิสลาม))--มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, 2558
URI: http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/10639
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:761 Thesis

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
TC1233.pdf4.76 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น