Please use this identifier to cite or link to this item: http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/10637
Title: แนวทางการจัดฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู ของคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
Other Titles: Management Guideline for Teaching Profession Experience Training in Faculty of Education, Prince of Songkla University, Pattani Campus.
Authors: เรชา, ชูสุวรรณ
บุรินทร, สหะวิริยะ
Faculty of Education (Educational Administration)
คณะศึกษาศาสตร์ ภาควิชาบริหารการศึกษา
Keywords: วิชาชีพครู;คุณครู
Issue Date: 2558
Publisher: มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
Abstract: การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาป'ญหาและสร้างแนวทางการจัดฝาก ประสบการณ์วิชาชีพครูของคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ การดำเนินการวิจัยแบ่งเป็น 2 ระยะ คือ ระยะที่ 1 ศึกษาป'ญหาการจัดฝากประสบการณ์วิชาชีพครู ของคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ 5 ด้าน คือ 1) การปฐมนิเทศและส่งตัวนักศึกษาฝากสอน 2) การสังเกตการสอนของอาจารย์พี่เลี้ยง 3) การเยี่ยมสถาบันปฏิบัติการสอน 4) การประชุมอภิปรายการสัมมนาระหว่างปฏิบัติการสอนและการวิจัยในชั้นเรียน 5) การสัมมนาหลังปฏิบัติการสอน ซึ่งกลุ่มตัวอย่างเป็นผู้บริหารสถานศึกษา 74 คน อาจารย์พี่เลี้ยง 212 คน อาจารย์นิเทศก์45 คน และนักศึกษาปฏิบัติ การสอน 212 คน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถามสำรวจรายการและมาตราประมาณค่า 5 ระดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าความถี่ ระยะที่ 2 การสร้างแนวทางการจัดฝากประสบการณ์วิชาชีพครูของคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี โดยมีขั้นตอนดำเนินการ 1) นำผลการวิเคราะห์ปัญหาการจัดฝากประสบการณ์ วิชาชีพครูของคณะศึกษาศาสตร์ และศึกษาเอกสารการจัดฝากประสบการณ์วิชาชีพครูของมหาวิทยาลัยของรัฐ มาร่างเป็นแนวทางการจัดฝากประสบการณ์วิชาชีพครู 2) ตรวจสอบความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของร่างแนวทางการจัดฝากประสบการณ์วิชาชีพครู ในทางนโยบาย โดยมีผู้ทรงคุณวุฒิ คือ ผู้บริหารคณะศึกษาศาสตร์ 1 คน คณะกรรมการบริหารงานการฝากประสบการณ์วิชาชีพและปฏิบัติการสอน 12 คน โดยใช้เครื่องมือเป็นแบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง วิเคราะห์ข้อมูลโดยวิธีการวิเคราะห์เนื้อหา 3)ตรวจสอบความคิดเห็นกับผู็ปฏิบัติโดยการจัดประชุมกลุ่มแบบ Focus Group ประกอบด้วย อาจารย์นิเทศก์ 5 คน อาจารย์ พี่เลี้ยง 5 คน และผู้บริหารสถานศึกษา 5 คน และทำการวิเคราะห์เอกสารทางราชการที่น่าเชื่อถือ เพื่อสนับสนุนการวิจัย วิเคราะห์ข้อมูลโดยวิธีการวิเคราะห์ เนื้อหา ซึ่งผลการวิจัย มีดังนี้ 1. ปัญหาการดำเนินการจัดฝากประสบการณ์วิชาชีพครูของ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ พบว่า ผู้บริหารสถานศึกษา มีปัญหาโดยภาพรวม อยู่ในระดับปานกลางส่วนอาจารย์พี่เลี้ยง อาจารย์นิเทศก์ นักศึกษาปฏิบัติการสอน มีปัญหาโดยภาพรวม อยู่ในระดับมากโดยผู้บริหารสถานศึกษา อาจารย์พี่เลี้ยง และนักศึกษา มีปัญหาด้านการปฐมนิเทศและส่งตัวนักศึกษาฝากสอน มีปัญหาสูงที่สุด ส่วนอาจารย์นิเทศก์ มีปัญหาด้านการเยี่ยมสถาบันปฏิบัติการสอน มีปัญหาสูงที่สุด เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า 1.1 ด้านการปฐมนิเทศและส่งตัวนักศึกษาฝากสอน พบว่า ผู้บริหารสถานศึกษา อาจารย์พี่เลี้ยง อาจารย์นิเทศก์ และนักศึกษา มีปัญหาสูงที่สุด ในเรื่อง การประสานงานระหว่างผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่ายก่อนที่ส่งนักศึกษาไปฝากประสบการณ์วิชาชีพครู1.2 การสังเกตการสอนของอาจารย์พี่เลี้ยง พบว่า ผู้บริหารและนักศึกษา มีปัญหาสูงที่สุด ในเรื่องการกำหนดวัน ? เวลาในการสังเกตการสอนให้กับนักศึกษา และการพูดคุยและร่วมกันทำความรู้จักกับบุคคลที่เกี่ยวข้องภายในโรงเรียน ส่วนอาจารย์พี่เลี้ยงมีปัญหาระดับปานกลาง 1.3 การเยี่ยมสถาบันปฏิบัติการสอน พบว่า ผู้บริหารสถานศึกษา อาจารย์พี่เลี้ยงอาจารย์นิเทศก์ มีปัญหาสูงที่สุด เรื่อง การให้ข้อมูลย้อนกลับเรื่องการจัดฝากประสบการณ์ วิชาชีพครูแก่ คณะศึกษาศาสตร์ 1.4 ด้านการประชุมอภิปรายการสัมมนาระหว่างปฏิบัติการสอนและการวิจัยในชั้นเรียน พบว่า อาจารย์นิเทศก์ และนักศึกษา มีปัญหาสูงที่สุด ในเรื่อง การกำหนดกระบวนการและแนวทางการทำวิจัยในชั้นเรียนที่ชัดเจน1.5 ด้านการสัมมนาหลังปฏิบัติการสอน พบว่า อาจารย์นิเทศก์และนักศึกษา มีปัญหาสูงที่สุด ในเรื่อง ความสามารถในการนำหลักการ ทฤษฎี ทักษะที่ศึกษามาสรุปและจัดทำเป็นผลงานของนักศึกษา และการจัดกิจกรรมหลังการฝากสอนที่มีความชัดเจน 2. แนวทางการจัดฝากประสบการณ์วิชาชีพครูของ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี มีดังนี้ 2.1 การปฐมนิเทศและส่งตัวนักศึกษาปฏิบัติการสอน มีแนวทางการดำเนินงาน ดังนี้ 1)การติดต่อประสานงานกับสถานศึกษาโดยจัดทำหนังสือสำรวจความต้องการพร้อมข้อมูลพื้นฐานสถานศึกษาและแผนงานการจัดฝากประสบการณ์วิชาชีพครูให้สถานศึกษาปฏิบัติการสอนทราบล่วงหน้าไปยังสถานศึกษาที่มีมาตรฐานตามที่คุรุสภากำหนด 2) กระบวนการเลือกสถานศึกษาปฏิบัติการสอนโดยจัดประชุมนักศึกษาปฏิบัติการสอนเพื่อทำความเข้าใจนโยบายของคณะศึกษาศาสตร์ในการเลือกโรงเรียน และศึกษาคู่มือการฝากประสบการณ์วิชาชีพครูของคณะศึกษาศาสตร์ และแจ้งไปยังหัวหน้าโปรแกรม/ผู้ประสานงานโปรแกรมวิชาเอกก่อนเลือกสถานศึกษาปฏิบัติการสอน 3) การส่งนักศึกษาไปสถานศึกษาปฏิบัติการสอน คณะศึกษาศาสตร์ มอบหมายผู้บริหารหรือตัวแทน มาส่งตัวนักศึกษาด้วยตัวเองเพื่อพบปะพูดคุยกับสถานศึกษาปฏิบัติการสอน และจัดทำหนังสือส่งตัวพร้อมข้อมูลส่วนตัวของนักศึกษา คู่มือการฝากประสบการณ์วิชาชีพครู และกำหนดวันและเวลาการส่งตัวนักศึกษาไปยังสถานศึกษาปฏิบัติการสอน 4) การประชุมอาจารย์นิเทศก์ ผู้บริหารสถานศึกษาและอาจารย์พี่เลี้ยงประจำสถานศึกษาปฏิบัติการสอนเพื่อวางแผน สร้างความเข้าใจตรงกันเรื่องนโยบาย/วัตถุประสงค์ การจัดฝากประสบการณ์วิชาชีพครู 5) การประชุมและอภิปรายกลุ่มใหญ่ในการปฐมนิเทศนักศึกษาก่อนไปปฏิบัติการสอนโดยหน่วยฝากประสบการณ์วิชาชีพ คณะศึกษาศาสตร์ เพื่อทำความเข้าใจบทบาทหน้าที่สร้างความเข้าใจตรงกันเรื่องนโยบาย/วัตถุประสงค์ การจัดฝากประสบการณ์วิชาชีพครู โดยฝ่ายฝากประสบการณ์วิชาชีพ2.2 การสังเกตการสอนของอาจารย์พี่เลี้ยง เป็นการดำเนินการปฏิบัติการสอนและปฏิบัติงานในหน้าที่ครูและงานครูอื่นๆ ที่ได้รับมอบหมาย 1) กำหนดวัน เวลาในการสังเกตการสอนให้กับนักศึกษา 2) การพูดคุยและร่วมกันทำความรู้จักกับบุคคลที่เกี่ยวข้องภายในโรงเรียน อาจารย์พี่เลี้ยงควรให้คำปรึกษาอย่างใกล้ชิด 3) วางแผนการสังเกตการสอนร่วมกันระหว่างนักศึกษา อาจารย์นิเทศก์ อาจารย์พี่เลี้ยง 4) อาจารย์พี่เลี้ยง ติดตามและตรวจสอบผลงานตามข้อกำหนด 2.3 การเยี่ยมสถาบันปฏิบัติการสอน 1) คณะศึกษาศาสตร์สนับสนุนยานพาหนะให้เพียงพอและสะดวกในการเดินทางไปประสานงานและไปนิเทศ 2) ผู้บริหารคณะศึกษาศาสตร์วางแผนการออกเยี่ยมหน่วยฝากสอนร่วมกับอาจารย์นิเทศก์ 3) สถานศึกษาให้ข้อมูลย้อนกลับเรื่องการจัดฝากประสบการณ์วิชาชีพครูแก่คณะศึกษาศาสตร์ 4) นักศึกษาเข้ารับการนิเทศ จากอาจารย์นิเทศก์ตามข้อกำหนดโดยมีการแจ้งวันเวลาในการออกนิเทศนักศึกษาล่วงหน้า 5) อาจารย์นิเทศก์ทำการประเมินผลชี้แจงข้อดี ข้อบกพร่อง และเสนอแนะวิธีการแก้ไข2.4 การประชุมอภิปรายการสัมมนาระหว่างปฏิบัติการสอนและการวิจัยในชั้นเรียนมีแนวทางการดำเนินงาน 1) นักศึกษาปฏิบัติการสอน ต้องปรับปรุงแก้ไขวิจัยในชั้นเรียนตามข้อเสนอแนะจากอาจารย์นิเทศก์ เขียนและนำเสนอความก้าวหน้าของโครงร่างวิจัยในชั้นเรียน 2) การสัมมนาระหว่างฝากประสบการณ์วิชาชีพครู เพื่อวิเคราะห์ ปรับปรุง พัฒนาการสอน การปฏิบัติงานในหน้าที่ครูระหว่างปฏิบัติการสอน การทบทวนการทำวิจัยในชั้นเรียน โดยการเข้าร่วมสัมมนาของนักศึกษาปฏิบัติการสอน แต่ละครั้ง ใช้ประกอบการวัดผลประเมินผลการปฏิบัติการสอนได้ 2.5 การสัมมนาหลังปฏิบัติการสอน 1) ประเมินผลการปฏิบัติการสอนและการปฏิบัติหน้าที่ครูโดยผ่านการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ที่ประสบความสำเร็จในการทำงานและด้านที่เป็นปัญหา 2) นำเสนอวิจัยในชั้นเรียนที่ผ่านการประเมินจากอาจารย์นิเทศก์ เพื่อสรุปเป็นบทเรียน 3)นำเสนอเป็นผลงานนิทรรศการเวทีนำเสนอการปฏิบัติที่เป็นเลิศ Best Practice 4) จัดโครงการเตรียมความพร้อมเพื่อการสอบเข้าบรรจุครูและควรมีการแนะนำการทำงาน 5) การพูดคุยสรุปถึงข้อปฏิบัติในการออกไปประกอบวิชาชีพ 6) การกำหนดวัน-เวลาการส่งงานของนักศึกษาปฏิบัติการสอนและการส่งผลการประเมินการปฏิบัติการสอนให้มีความชัดเจน The objectives of this research aim to study the issues and to establishthe guidelines for student teachers of the Faculty of Education, Prince of SongklaUniversity. The study was divided into two phases: Phase 1-The study of 5 problems of pre-service teacher practicum experience, Faculty of Education Prince of SongklaUniversity; 1) Student Orientation and Conveyance. 2) The Observation of School Advisor. 3) Visiting teaching institution. 4) Meeting discussion, Seminar between teachingand Research in class 5) After teaching seminar. The sample groups were 74 schooladministrators, 212 school advisors, 45 university supervisors, 212 student teacherswho came from the tools called the questionnaire survey items 5 levels which weremeasured by the percentage value, the average, the standard deviation and thefrequency. Phase 2 To establish guidelines for the pre-service student teaching practicum experience of Faculty of Education, Prince of Songkla University Pattani Campus by 1) To bring the results of the analysis of the pre-service student teachingpracticum experience of Faculty of Education and to study documents of the preservicestudent teaching practicum experience from the other State universities to create the draft for the pre-service student teaching practicum experience guidelines. 2) To determine the suitability and feasibility of the guideline daft in terms of policiesby qualified experts -one of Board of Education and 12 executive committees includingprofessional and teaching experienced people by using a semi-structured interview. Data to be analyzed by content analysis. 3) To check the comments of the practices organizing the Focus Group meeting. The core attendees were 5 university supervisor, 5 mentor teachers and 5 school administrators who conducted the analysis of reliable (8) 9 government documents to support research by using the content analysis. The resultswere as follows1. The problems of the pre-service student teaching practicumexperience of Faculty of Education, Prince of Songkla University were the schooladministrators which were overall moderate whereas the school advisors, universitysupervisors and student teachers were clearly in the high level. The most problematicissues for the school administrators, advisors and student teachers were the studentorientation and conveyance while the university supervisors had the problem onvisiting the teaching institution at the most .When considering, it could be classified as follows; 1.1 Issue on the orientation and student conveyance. It revealed that the school administrators, student advisors and university supervisors had the highest problem on the coordination of all stakeholders before sending students to teaching practicum experience. 1.2 Observation of school advisor. The highest trouble that the schooladministration and the student have faced were the way to set up the day and timeto observe the student, the communication and relationship between the peopleinvolved in the school while the school advisors seemed in the moderate level. 1.3 Visiting Teaching Institute. It was found that school administrators. advisors and university supervisors had the highest problem in regards of the feedbackon the pre-service student teaching practicum experience to the Board of Education. 1.4 The seminar discussion in between teaching practice and researche in class. The highest trouble for the university supervisors and the interns was the formulation of the clearly process and approach for classroom research. 1.5 After teaching practice seminar. It was found that the supervisorsand the interns had the highest problem in regard with the capability to use principles, theories and skills that were studied to summarize and arrange the students' performancesand including the unclear activity after teaching practice. 2. Guidelines for Teacher Professional Experience, Faculty of EducationPrince of Songkla University Students are2.1 The orientation and the conveyance of the student teacher wereadvised as follows; 1) Liaising with schools by providing books with basic needs for education and programs for Teacher Professional Experience to teaching schools prior to the practice to the institution standardized by the Council, 2) Setting teaching school selection process through the meeting among the teaching practices to let them understand the policy of the Faculty of Education in terms school selection and study guides for professional teachers of the Faculty of Education and report to the head of the program / major program coordinator before selecting a teaching school 3) Sending student teachers to teaching institution. Faculty of Education assigned the managements or their representatives themselves come forward to meet, talk and discuss with the teaching school including to carry on the a letter of transfer with personal information of students, guidelines for teacher professional experience and to determine the date and time to send students to the teaching school. 4) Arranging the conference between supervisor, school administrators and school advisors to set the teaching plan and create the same understanding on the policies/ objectives of the teacher professional experience. 5) Conducting the meeting and discussion groups during the orientation prior to teaching practice by the teacher professional experience team of the. Faculty of Education to repeat the roles and responsibilities and create the understanding about the policy / objectives of teacher professional experience program. 2.2 The observation of school advisor. It was a teaching practice and mission for the teacher and other teachers? duties assigned as follows: 1) To set the day and time to observe the teaching of the students 2) To communicate, talk and get to know the persons involved the school. The advisors should closely give the advices. 3) To plan for the observation together with the students, the university supervisors and the school advisors 4) To track and monitor the students? Performance as required. 2.3 Visiting Teaching Institute. The guidelines are as follows: 1) The Board of Education should visit teaching schools, support adequately vehicle to serve the convenience on coordination and supervision. 2) Executive Board of Education should plan to visit with teaching institutes along. 3) The supervisors to exchange the feedbacks on teacher professional experience. 4) Students should be supervised according to supervisory requirements. The students should be informed prior to the scheduled date. 5) The supervisors? evaluation should be clarified the strengths and weaknesses and give the clear advise how to fix them. 2.4 Discussion meetings, seminars between teaching and research in the classroom; the guidelines are as follows: 1) The teaching practices had to improve the classroom research according to the feedback from the supervisors and to write and present the progress of the research outlined in the class. 2) The seminar during teacher professional experience was to analyze, improve, and develop the teaching practices and to review the research in the classroom by participating each seminar of teacher students which could be used for the tools to measure and evaluate the teaching. 2.5 After teaching seminars were instructed as follows: 1) Evaluating teaching and teacher performing through the exchange of successful experience and the problems. 2) Presenting the research in classroom which passed the supervisor?s evaluation to conclude the contents and be the lesson. 3) Arranging the exhibition for the Best Practice. 4) Organized the program of teacher admission preparation including the working introduction.5) Discussing and summarizing the practice of the profession 6) Scheduling the clear day and time to deliver the student teacher?s assignment and evaluation result of teaching practice.
Description: วิทยานิพนธ์ (ศษ.ม.(สาขาวิชาการบริหารการศึกษา))--มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, 2558
URI: http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/10637
Appears in Collections:260 Thesis

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
TC1231.pdf2.09 MBAdobe PDFView/Open


Items in PSU Knowledge Bank are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.