Please use this identifier to cite or link to this item: http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/10635
Title: กระบวนการบริหารงานตามทัศนะของครูโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลามจังหวัดยะลา
Other Titles: Administrative Process as Perceived by Islamic Private Teachers in Yala Province.
Authors: นิเลาะ, แวอุเซ็ง
มูฮัมมัด, อาเซ็งบาราแม
College of Islamic Studies (Islamic Studies)
วิทยาลัยอิสลามศึกษา (อิสลามศึกษา)
Keywords: ศาสนาอิสลาม;ไทย (จังหวัดชายแดนภาคใต้)
Issue Date: 2558
Publisher: มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษากระบวนการบริหารงานตามทัศนะของครูโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลามจังหวัดยะลา 2) เปรียบเทียบกระบวนการบริหารงานตามทัศนะของครูโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลามจังหวัดยะลาที่มี เพศ วุฒิการศึกษา ประสบการณ์และขนาดสถานศึกษาที่มีความแตกต่างกัน และ 3) ประมวลข้อเสนอแนวทางการพัฒนากระบวนการบริหารงานของโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลามในจังหวัดยะลา โดยมีกลุ่มตัวอย่างเป็นครูที่ปฏิบัติหน้าที่ในโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลามจังหวัดยะลา จำนวน 337 คน และผู้บริหารโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลามจังหวัดยะลาจำนวน 6 คน โดยใช้แบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบ t-test และ F-test ผลการวิจัยพบว่า 1) ครูมีความคิดเห็นเกี่ยวกับกระบวนการบริหารงานโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลามจังหวัดยะลาในภาพรวม อยู่ในระดับมากและเมื่อศึกษาเป็นรายด้านพบว่า มี 4 ด้านที่อยู่ในระดับมาก และมี 1 ด้านอยู่ในระดับปานกลาง ดังนี้ ระดับมาก คือ ด้านการวางแผน ด้านการกระตุ้นหรือการส่งเสริมให้ปฏิบัติงาน ด้านการประสานงาน และด้านการประเมินผล ระดับปานกลาง คือ ด้านการจัดสรรทรัพยากร 2) ครูมีความคิดเห็นเกี่ยวกับกระบวนการบริหารงานโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลามจังหวัดยะลาจำแนกตาม ประสบการณ์ วุฒิการศึกษา เพศ และขนาดสถานศึกษาที่มีความแตกต่างกัน พบว่าครูผู้สอนที่มีวุฒิการศึกษา และปฏิบัติงานในโรงเรียนที่มีขนาดแตกต่างกันมีความคิดเห็นแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ 3) แนวทางการพัฒนากระบวนการบริหารงานของโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลามในจังหวัดยะลา พบว่า 3.1) ด้านการวางแผน ควรให้บุคลากรในโรงเรียนมีส่วนร่วมในการวางแผนมากยิ่งขึ้น โรงเรียนจำเป็นที่จะต้องมีที่ปรึกษาเพื่อให้คำแนะนำในการจัดทำแผนที่ดี ควรมีการติดตามและประเมินแผนเพื่อให้การดำเนินงานของโรงเรียนมีประสิทธิภาพ 3.2) ด้านจัดสรรทรัพยากร ควรมีการวางแผนการจัดสรรทรัพยากรเพื่อที่จะสามารถจัดสรรทรัพยากรที่จำเป็นให้เพียงพอต่อความต้องการของโรงเรียน และให้มีการพัฒนาครูเพื่อให้สามารถสอนได้อย่างมีคุณภาพ 3.3) ด้านการกระตุ้นหรือส่งเสริมให้ปฏิบัติงาน ผู้บริหารจำเป็นที่จะต้องสร้างความเข้าใจให้แก่บุคลากรในการทำงานในโรงเรียน มีการมอบหมายงานที่ตรงกับความสามารถ และมีการนำหลักคำสอนของศาสนาอิสลามเพื่อช่วยกระตุ้นในการทำงาน 3.4) ด้านการประสานงาน โรงเรียนจำเป็นที่จะต้องมีการนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ให้เกิดประโยชน์เพื่อให้บุคลากรทุกคนสามารถเข้าถึงข้อมูลและมีความสะดวกรวดเร็วในการติดต่อสื่อสาร และ3.5) ด้านการประเมิน โรงเรียนควรแต่งตั้งผู้ที่มีความรู้ด้านการประเมินเป็นผู้รับผิดชอบ ผู้บริหารควรมีการตรวจสอบแบบประเมินก่อนนำไปใช้ทุกครั้ง และให้มีการสรุปผลการประเมินเพื่อใช้เป็นข้อมูลในการปรับปรุงและพัฒนาการดำเนินงาน This research aims to 1) study administration process as perceived by Islamic private school teachers in Yala, 2) to compare administration process as perceived by Islamic private school teachers in Yala based on their gender, educational qualification, experience and school size, and 3) to provide suggestion for administration process development of Islamic private schools in Yala. Questionnaires and interviews as data collection methods were used to collect data from 337 teachers and 6 administrators of Islamic private schools in Yala. The collected data was analyzed through descriptive statistics (such as percentage, mean, and standard deviation), t-test and f-test. The results of study as bellows : 1) Overall average mean of administration process of Islamic private schools in Yala as perceived by teachers was found to be high. With regard to mean of each dimension, mean of 4 dimensions were found to be high, namely, dimension of planning, encouragement/support for work operation, work coordination and evaluation; and mean of 1 dimension was found to be moderate, which was resource management. 2) Regarding to administration process of Islamic private schools in Yala as perceived by teachers based on their experience, educational qualification, gender and school size, the results showed that teachers who hold different educational qualification and worked in different school size have different perception towards administration process of the schools with statistical significance at .05. 3) Regarding to suggested ways for administration process development of Islamic private schools in Yala, the results revealed as follows 3.1) on planning, it was suggested that school personnel should involve themselves more in school planning and the schools need to have an adviser to guide in creating a good school plan. There also should be a monitoring and evaluating system in order to ensure the school effective operation. 3.2) on resource management, there should be a plan for resource management in order to manage a necessary resource to sufficiently fulfil the school needs, and teacher development was also required to ensure quality teaching. 3.3) on encouragement/support for work operation, administrators have to create an understanding on school work among personnel, to assign work suitable with personnel’s ability, and to adopt the tenets of Islam as a way to encourage work operation in the schools. 3.4) on work coordination, the schools have to bring in and use information technology to help school personnel accessing the data and to provide a quick and easy communication. 3.5) on planning, schools should appoint persons who are knowledgeable in planning to be responsible of school planning, administrators need to examine evaluation form each time before using it and have to make a conclusion of evaluation results as this information could be used to improve and develop work operation.
Description: วิทยานิพนธ์ (ศษ.ม.(การบริหารและการจัดการการศึกษาอิสลาม))--มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, 2558
URI: http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/10635
Appears in Collections:761 Thesis

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
TC1229.pdf4.95 MBAdobe PDFView/Open


Items in PSU Knowledge Bank are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.