กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/10630
ชื่อเรื่อง: สิทธิการชุมนุมในกฎหมายอิสลาม
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Right of Assembly in Islamic Law.
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: มะรอนิง, สาแลมิง
อรรณพ, แดงโกเมน
College of Islamic Studies (Islamic Studies)
วิทยาลัยอิสลามศึกษา (อิสลามศึกษา)
คำสำคัญ: อิสลาม;กฎหมายอิสลาม
วันที่เผยแพร่: 2557
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
บทคัดย่อ: ทธิการชุมนุมในกฎหมายอิสลาม เป็นงานวิจัยเอกสาร (Documentary Research) เชิงพรรณนา (Descriptive Research) โดยศึกษาข้อมูลและรวบรวมข้อมูลจากเอกสารและตำราที่เกี่ยวข้อง เช่น คัมภีร์อัลกุรอาน อัลหะดีษ ทัศนะของบรรดาปราชญ์อิสลามโดยเฉพาะในยุค 300 ปีแรกตามปฏิทินอิสลามเป็นสำคัญ และนักวิชาการอิสลามที่ได้ให้ทัศนะเกี่ยวกับประเด็นเรื่องการชุมนุมทั้งในด้านที่เกี่ยวข้องกับแนวคิด ข้อกฎหมาย กฎเกณฑ์ ประเด็นทางกฎหมายและประเด็นที่เกี่ยวข้องกับงานวิจัย การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 3 ประการด้วยกันคือ 1.) เพื่อศึกษาถึงแนวคิด หลักการเกี่ยวกับสิทธิเสรีภาพ รวมถึงประวัติและพัฒนาการการชุมนุมในยุค 300 ปีแรกตามปฏิทินอิสลาม 2.) เพื่อศึกษาถึงสิทธิและกฎเกณฑ์ต่างๆที่เกี่ยวข้องกับการชุมนุมในหลักการของกฎหมายอิสลาม 3.) เพื่อนำเสนอกรอบ ข้อกฎหมาย และแนวทางในการชุมนุมที่ถูกต้องตามหลักการและครรลองของอิสลาม จากการวิจัยพบว่า 1.) สิทธิเป็นเรื่องสำคัญในกฎหมายอิสลาม อิสลามได้บัญญัติให้การรับรองและคุ้มครองสิทธิเสรีภาพแก่ปัจเจกบุคคลในอันที่จะกระทำการใด หรือไม่กระทำการใด ดังกล่าว ก่อให้เกิดสิทธิเรียกร้องที่จะไม่ให้บุคคลหรือองค์กรใดแทรกแซงในสิทธิของบุคคลหนึ่ง จากสิทธิขั้นพื้นฐานที่สำคัญที่อิสลามปกป้องคุ้มครอง อันได้แก่ การปกป้องคุ้มครองสิทธิในความศรัทธาและความเชื่อ สิทธิในชีวิต สิทธิในทรัพย์สิน สิทธิทางสติปัญญา และคุ้มครองเกีรยติยศ เชื้อสายวงศ์ตระกูล ดังนั้นการละเมิดสิทธิมนุษยชนใดๆก็ตาม จึงเป็นเรื่องต้องห้ามในอิสลาม 2.) จากการศึกษาตัวอย่างหตุการณ์ต่างๆที่เกี่ยวข้องกับการชุมนุมชี้ให้เห็นว่า การชุมนุมเพื่อสนับสนุนหรือการชุมนุมเพื่อคัดค้านต่อกลุ่มบุคคลหรือหมู่คณะนั้นเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นมานับตั้งแต่อดีต ซึ่งพบว่ามีอยู่หลายรูปแบบด้วยกัน เช่น การชุมนุมกันเพื่อปรึกษาหารือในกิจการหนึ่งกิจการใดของผู้คนในสังคมเพื่อหาทางออกหรือเพื่อแก้ปัญหาอย่างใดอย่างหนึ่ง การชุมนุมเพื่อสนับสนุนหรือคัดค้านโดยใช้มวลชนเข้ากดดัน การบอยคอตหรือใช้ความรุนแรง เป็นต้น 3.) ชีวิตและทรัพย์สิน เกียรติของพลเมืองทุกคนในรัฐอิสลามถือว่าเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์ ไม่ว่าบุคคลนั้นจะเป็นชาวมุสลิมหรือไม่ก็ตาม อีกทั้งอิสลามยังคงดำรงรักษาไว้ซึ่งเกียรติยศและศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์ การพูดจาจาบจ้วง ล้อเลียนผู้อื่น หรือการกระทำที่ไปกระทบสิทธิ์และทำให้ผลประโยชน์ของผู้อื่นเสียหาย ดังกล่าวเป็นสิ่งที่ไม่อนุญาตในหลักการอิสลาม ดังนั้นเสรีภาพของบุคคลจึงเป็นสิ่งที่ล่วงละเมิดมิได้ตราบเท่าที่มันไม่ได้ขัดแย้งกับศีลธรรมอิสลามและผลประโยชน์ส่วนใหญ่ของสังคม 4.) อิสลามไม่ได้ห้ามการชุมนุมแบบเด็ดขาด หากแต่ว่าต้องอยู่บนกฎเกณฑ์ และข้อบัญญัติของอิสลาม จากการศึกษารูปแบบของการชุมนุมต่างๆพบว่า มีประเด็นต่างๆที่ต้องคำนึงถึงและให้ความสำคัญโดยยึดตามเจตนารมณ์และหลักพื้นฐานแห่งบทบัญญัติอิสลาม ดังต่อไปนี้<br /><br /> 1. ต้องไม่นำไปสู่การเสียเลือดเสียเนื้อหรือละเมิดต่อชีวิตหนึ่งชีวิตใด 2. ต้องพิจารณาถึงความเสียหายมากกว่าพิจารณาผลประโยชน์ที่จะได้รับ 3. การชุมนุมจะต้องไม่ทำให้ผลประโยชน์ของประเทศชาติและประชาชนเสียหาย เช่น ความมั่นคงภายใน เศรษฐกิจ หรือการท่องเที่ยว เป็นต้น 4. ต้องไม่ละเมิดต่อสถานที่หรือหน่วยงานที่มีคุณประโยชน์ต่อประชาชนส่วนใหญ่หรือส่วนน้อย เช่น ทางสัญจร สถานที่ราชการ หรือสถานศึกษา เป็นต้น 5. การชุมนุมต้องไม่ถูกใช้ประโยชน์จากกลุ่มอื่นที่มีจุดประสงค์ต่างกัน อันจะนำไปสู่ความไม่สงบเรียบร้อยในสังคม 6. ต้องไม่เป็นการสร้างความขัดแย้งระหว่างประชาชนในสังคม สั่นคลอนความมั่นคงของบ้านเมืองและสร้างความรุนแรงในระหว่างสังคม เช่น การชุมนุมเรียกร้องไปสู่ชาตินิยม ยึดติดในเชื้อสาย วงศ์ตระกูล คลั่งไคล้ในตัวบุคคลหรือพรรคการเมืองมากกว่าขอบเขตที่อิสลามกำหนด เป็นต้น 7. การชุมนุมต้องไม่สร้างความหวาดกลัวแก่ประชาชน เช่น พกพาอาวุธ ไม่ละเมิดต่อทรัพย์สินของผู้คนและทรัพย์สินสาธารณะ หรือละเมิดต่อเกีรยติยศและศักดิ์ศรีของผู้คน 8. การชุมนุมต้องไม่มีสิ่งที่ผิดหลักการอิสลาม เช่น การปะปนระหว่างชายและหญิง การไม่รักษาความสะอาด เป็นต้น 9. ต้องไม่เป็นการชุมนุมต่อต้านหรือโค่นล้มผู้ปกครองรัฐ 10. ต้องมีเจตนาที่บริสุทธิ์ในการใช้ในสิ่งที่ดีงามและห้ามปรามในสิ่งที่ไม่ดี เรียกร้องความเป็นธรรมจากผู้อธรรม เป็นต้น 11. การชุมนุมต้องไม่ปรากฏว่าเป็นการปกป้องหรือมีจุดประสงค์เพื่อช่วยเหลือสนับสนุนหลักการหรือแนวความเชื่อที่ขัดต่อหลักการอิสลาม เช่น การเรียกร้องไปสู่แนวคิด เสรีประชาธิปไตย หรือคอมมิวนิสต์ เป็นต้น 12. การชุมนุมต้องตรงตามจริยธรรมและวิถีปฏิบัติอันดีงามของอิสลาม<br> Research right of assembly in Islamic Law " is a Documentary Research and Descriptive Research. The information and data were gathered from documents and related texts, such as the Quran, Al Hadith, perceptions of the Islamic philosophers especially in the first 300 years of the Islamic calendar and Islamic scholars who have views on the issues of the congregation. The viewpoints of the scholars in terms of concepts, rules, regulation, legal issues and other issues related to the research were focused. There are three Objectives in this research: 1) To study the concept, principles of rights and freedoms as well as the history and development of the rally in the first 300 years of the Islamic calendar. 2) To study the rules and regulations related to the assembly within the principles of Islamic law. 3) To present legal framework and guidelines for the correct assembly according to the principles and teachings of Islam. <br /><br /> The results are found as follows: <br /><br /> 1) The right is important in Islamic law. Islamic laws were legislated to assure and protect the rights and freedoms of an individual in doing or not doing any act. Thus, the Islamic laws permit legal claims from an individual who is violated by an agency or another individual. This is to protect their basic and Islamic rights such as the rights in their religion, Islam, their lives, their intellects, their lineage and their properties. Therefore, any violation of human rights is forbidden in Islam. 2) The overarching conclusion from the his torical precedents about assemby indicates that the assembly to support or to protest against an individual of a group of individuals has been happening through time. It was found that the assemblies have been in many forms, such as the gathering of people in the society to discuss or to find a solution to solve a problem, the assembly to support or oppose someone or something by using public pressure, and the assembly to boycott or to cause violence. 3) Life, property and dignity of all citizens in an Islamic state are considered sacred, regarless of their religion whether the person is Muslim or not. Moreover, Islam maintains the dignity of a person as a human being. Defaming and insulting other people or doing any action to affect the right or to ruin the benefits of other people is not permissible in Islam. Thus, the freedom of the individual cannot be offended as far as such freedome of action does not contradict the Islamic morals or ruin the benefits of the majority in the society. 4) Islam does not strictly prohibit assembly. However, it it must be in line with the rules and regulations of Islam. From the study of several forms of assembly, it was found that there are many issues to consider to asure that the assembly conforms to the intention and the basic principles of Islamic law. The points for consideration are as follows: 1. The assembly must not lead to harm or violation of life. 2. The assembly must not lead to more damage than benefits to be gained. 3. The assembly must not damage the interests of the nation and the people for instance the internal security, economy and tourism. 4. The assembly must not intrude into places or institutions which are beneficial to the majority or the minority of the people such as thoroughfare, official places or educational institutions. 5. The assembly must not be manipulated by any group which holds a different purpose. This can lead to social unrest. 6. The assembly must not create a conflict between the people in the society, impact the stability of the country and cause violence in the society. For examples, the assembly which propagates nationalism, adhesion in the genealogical descendants, or extreme fanaticism in the individuals or political party over the extent to which Islam has defined. 7. The assembly not create fear for the public, such as having weapons, not violate the property of an individual of of a genral public, and not violate the dignity of the people. 8. The assembly must not have anything against Islam, such as mixing between men and women, and neglecting cleanliness of the assembly areas. 9. The assembly must not be for overthrowing the ruler of the state. 10. The assembly must be based on honest intention such as to promote good deeds or to prevent wrong deeds or to call for justice. 11. The assembly must not aim to support the principles or beliefs that are contrary to Islamic principles such as the call for liberal democracy or communism. 12. The assembly must conform to the pleasant ethics and practices of Islam.
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม.(สาขาวิชาอิสลามศึกษา))--มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, 2557
URI: http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/10630
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:761 Thesis

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
TC1224.pdf7.61 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น