Please use this identifier to cite or link to this item:
http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/10622
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | เอกรินทร, สังข์ทอง | - |
dc.contributor.author | สุมาวดี, พวงจันทร | - |
dc.date.accessioned | 2017-01-27T07:33:11Z | - |
dc.date.available | 2017-01-27T07:33:11Z | - |
dc.date.issued | 2558 | - |
dc.identifier.uri | http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/10622 | - |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (ศษ.ด.(สาขาวิชาการบริหารการศึกษา))--มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, 2558 | th_TH |
dc.description.abstract | การวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการจัดการอาชีวศึกษาในรอบ 10 ปีที่ผ่านมา (พุทธศักราช 2547-2556) โดยเฉพาะจุดเน้นทางยุทธศาสตร์ของเขตพัฒนาพิเศษเฉพาะกิจจังหวัด ชายแดนภาคใต้ และนำเสนอยุทธศาสตร์การจัดการอาชีวศึกษาในทศวรรษหน้าของ (พุทธศักราช 2558-2567) การวิจัยแบ่งออกเป็น 2 ระยะ ระยะที่ 1 การวิจัยเอกสาร เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบวิเคราะห์เนื้อหา และเอกสารที่ใช้สำหรับการวิจัย ได้แก่ หนังสือ หนังสือพิมพ์ วารสาร บทความ บทสัมภาษณ์ เอกสารรายงานวิจัย คำรับรองปฏิบัติราชการสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา แผนปฏิบัติราชการการพัฒนาอาชีวศึกษาภาคใต้ และรายงานผลการดำเนินโครงการที่เกี่ยวข้องกับ อาชีวศึกษาเขตพัฒนาพิเศษเฉพาะกิจจังหวัดชายแดนภาคใต้ระหว่างปี พ.ศ. 2547–2556 รวมทั้งสิ้น 154 ฉบับ ผู้วิจัยวิเคราะห์ข้อมูลด้วยวิธีการวิเคราะห์เนื้อหา และสร้างความน่าเชื่อถือของข้อมูลด้วย การตรวจสอบสามเสา ระยะที่ 2 ใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงอนาคตด้วยเทคนิคเดลฟายแบบปรับปรุง ซึ่งมีผู้เชี่ยวชาญรวมทั้งสิ้นจำนวน 19 คน ในการให้ข้อมูลประกอบการวิจัย ผลการวิจัยพบว่า (1) จุดเน้นยุทธศาสตร์การจัดการอาชีวศึกษาของเขตพัฒนาพิเศษ เฉพาะกิจจังหวัดชายแดนภาคใต้ 10 ปีที่ผ4านมา แบ4งออกเป็น 3 ช่วง โดยช่วงที่ 1 เน้นมิติการปฏิรูป การจัดการศึกษาอาชีวศึกษากับมิติการเติมปัญญาให้สังคม ช่วงที่ 2 เน้นมิติการจัดอาชีวศึกษาเพื่อ สร้างความมั่นคงโดยใช้การศึกษาเป็นแกนนำ และช่วงที่ 3 เน้นมิติการจัดการศึกษาเชิงรุกเพื่อมวลชน ซึ่งทั้งสามช่วงมีจุดเน้นที่เหมือนกันคือยุทธศาสตร์ด้านความปลอดภัยและยุทธศาสตร์เสริมสร้าง เครือข่ายเพื่อการอยู่ดีมีสุขของสังคม ผลการวิจัยสะท้อนให้เห็นว่ายุทธศาสตร์เหล่านั้นซึ่งประกอบด้วย มาตรการและโครงการที่สอดคล้องกับอัตลักษณ์ของผู้คนในพื้นที่มีส่วนช่วยในการพัฒนาความมั่นคง และด้านการพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้คนได้ดีในระดับหนึ่ง ถึงแม้ว่าจะมีข้อจำกัดด้านการบริหาร งบประมาณที่ได้รับการจัดสรรก็ตาม และ (2) ยุทธศาสตร์การจัดการอาชีวศึกษาของเขตพัฒนาพิเศษ เฉพาะกิจจังหวัดชายแดนภาคใต้ในทศวรรษหน้า (พุทธศักราช 2558-2567) ประกอบด้วย 5 ยุทธศาสตร์สำคัญ คือ 1) จัดการศึกษาให้สอดคล้องกับวิถีชีวิตของชุมชนจังหวัดชายแดนภาคใต้ 2) ฝากทักษะและอบรมวิชาชีพเพื่อส่งเสริมความเสมอภาคทางสังคม 3) ส่งเสริมการมีส่วนร่วมในการ จัดการอาชีวศึกษาและฝากอาชีพทุกภาคส่วน 4) สร้างความร่วมมือกับต่างประเทศในภูมิภาคอาเซียน และนานาชาติ และ 5) อนุรักษ์ทรัพยากรทางธรรมชาติตามแนวพระราชดำริเพื่อสร้างอาชีพอย่าง ยั่งยืน | th_TH |
dc.language.iso | th | th_TH |
dc.publisher | มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ | th_TH |
dc.subject | การจัดการเรียนการสอน | th_TH |
dc.subject | ผลสัมฤิทธิ์ทางการเรียน | th_TH |
dc.subject | ไทย (จังหวัดชายแดนภาคใต้) | th_TH |
dc.title | ยุทธศาสตรการจัดการอาชีวศึกษาของเขตพัฒนาพิเศษเฉพาะกิจจังหวัดชายแดนภาคใต้ในทศวรรษหน้า (พุทธศักราช 2558 - 2567) | th_TH |
dc.title.alternative | Strategic Management of Vocational Education of Special Administrative Development Zone in Southern Border Provinces in the Next Decade (2015 - 2024) | th_TH |
dc.type | Thesis | th_TH |
dc.contributor.department | Faculty of Education (Educational Administration) | - |
dc.contributor.department | คณะศึกษาศาสตร์ ภาควิชาบริหารการศึกษา | - |
Appears in Collections: | 260 Thesis |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
TC1215.pdf | 1.32 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in PSU Knowledge Bank are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.