กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/10622
ชื่อเรื่อง: ยุทธศาสตรการจัดการอาชีวศึกษาของเขตพัฒนาพิเศษเฉพาะกิจจังหวัดชายแดนภาคใต้ในทศวรรษหน้า (พุทธศักราช 2558 - 2567)
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Strategic Management of Vocational Education of Special Administrative Development Zone in Southern Border Provinces in the Next Decade (2015 - 2024)
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: เอกรินทร, สังข์ทอง
สุมาวดี, พวงจันทร
Faculty of Education (Educational Administration)
คณะศึกษาศาสตร์ ภาควิชาบริหารการศึกษา
คำสำคัญ: การจัดการเรียนการสอน;ผลสัมฤิทธิ์ทางการเรียน;ไทย (จังหวัดชายแดนภาคใต้)
วันที่เผยแพร่: 2558
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
บทคัดย่อ: การวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการจัดการอาชีวศึกษาในรอบ 10 ปีที่ผ่านมา (พุทธศักราช 2547-2556) โดยเฉพาะจุดเน้นทางยุทธศาสตร์ของเขตพัฒนาพิเศษเฉพาะกิจจังหวัด ชายแดนภาคใต้ และนำเสนอยุทธศาสตร์การจัดการอาชีวศึกษาในทศวรรษหน้าของ (พุทธศักราช 2558-2567) การวิจัยแบ่งออกเป็น 2 ระยะ ระยะที่ 1 การวิจัยเอกสาร เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบวิเคราะห์เนื้อหา และเอกสารที่ใช้สำหรับการวิจัย ได้แก่ หนังสือ หนังสือพิมพ์ วารสาร บทความ บทสัมภาษณ์ เอกสารรายงานวิจัย คำรับรองปฏิบัติราชการสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา แผนปฏิบัติราชการการพัฒนาอาชีวศึกษาภาคใต้ และรายงานผลการดำเนินโครงการที่เกี่ยวข้องกับ อาชีวศึกษาเขตพัฒนาพิเศษเฉพาะกิจจังหวัดชายแดนภาคใต้ระหว่างปี พ.ศ. 2547–2556 รวมทั้งสิ้น 154 ฉบับ ผู้วิจัยวิเคราะห์ข้อมูลด้วยวิธีการวิเคราะห์เนื้อหา และสร้างความน่าเชื่อถือของข้อมูลด้วย การตรวจสอบสามเสา ระยะที่ 2 ใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงอนาคตด้วยเทคนิคเดลฟายแบบปรับปรุง ซึ่งมีผู้เชี่ยวชาญรวมทั้งสิ้นจำนวน 19 คน ในการให้ข้อมูลประกอบการวิจัย ผลการวิจัยพบว่า (1) จุดเน้นยุทธศาสตร์การจัดการอาชีวศึกษาของเขตพัฒนาพิเศษ เฉพาะกิจจังหวัดชายแดนภาคใต้ 10 ปีที่ผ4านมา แบ4งออกเป็น 3 ช่วง โดยช่วงที่ 1 เน้นมิติการปฏิรูป การจัดการศึกษาอาชีวศึกษากับมิติการเติมปัญญาให้สังคม ช่วงที่ 2 เน้นมิติการจัดอาชีวศึกษาเพื่อ สร้างความมั่นคงโดยใช้การศึกษาเป็นแกนนำ และช่วงที่ 3 เน้นมิติการจัดการศึกษาเชิงรุกเพื่อมวลชน ซึ่งทั้งสามช่วงมีจุดเน้นที่เหมือนกันคือยุทธศาสตร์ด้านความปลอดภัยและยุทธศาสตร์เสริมสร้าง เครือข่ายเพื่อการอยู่ดีมีสุขของสังคม ผลการวิจัยสะท้อนให้เห็นว่ายุทธศาสตร์เหล่านั้นซึ่งประกอบด้วย มาตรการและโครงการที่สอดคล้องกับอัตลักษณ์ของผู้คนในพื้นที่มีส่วนช่วยในการพัฒนาความมั่นคง และด้านการพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้คนได้ดีในระดับหนึ่ง ถึงแม้ว่าจะมีข้อจำกัดด้านการบริหาร งบประมาณที่ได้รับการจัดสรรก็ตาม และ (2) ยุทธศาสตร์การจัดการอาชีวศึกษาของเขตพัฒนาพิเศษ เฉพาะกิจจังหวัดชายแดนภาคใต้ในทศวรรษหน้า (พุทธศักราช 2558-2567) ประกอบด้วย 5 ยุทธศาสตร์สำคัญ คือ 1) จัดการศึกษาให้สอดคล้องกับวิถีชีวิตของชุมชนจังหวัดชายแดนภาคใต้ 2) ฝากทักษะและอบรมวิชาชีพเพื่อส่งเสริมความเสมอภาคทางสังคม 3) ส่งเสริมการมีส่วนร่วมในการ จัดการอาชีวศึกษาและฝากอาชีพทุกภาคส่วน 4) สร้างความร่วมมือกับต่างประเทศในภูมิภาคอาเซียน และนานาชาติ และ 5) อนุรักษ์ทรัพยากรทางธรรมชาติตามแนวพระราชดำริเพื่อสร้างอาชีพอย่าง ยั่งยืน
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (ศษ.ด.(สาขาวิชาการบริหารการศึกษา))--มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, 2558
URI: http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/10622
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:260 Thesis

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
TC1215.pdf1.32 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น