Please use this identifier to cite or link to this item: http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2010/8045
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.authorสายัณห์ สดุดี-
dc.contributor.authorอิบรอเฮม ยีดำ-
dc.contributor.authorระวี เจียรวิภา-
dc.date.accessioned2012-02-24T09:34:34Z-
dc.date.available2012-02-24T09:34:34Z-
dc.date.issued2553-
dc.identifier.urihttp://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2010/8045-
dc.description.sponsorshipมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์en_US
dc.subjectการกรีดต้นไม้en_US
dc.subjectยาง การผลิตen_US
dc.subjectการกรีดยางen_US
dc.titleรายงานการวิจัยฉบับสมบูรณ์โครงการการปรับปรุงระบบกรีดเพื่อเพิ่มผลผลิตน้ำยางของยางพาราen_US
dc.title.alternativeImprovement of tapping systems to enhance latex yield of rubber (Hevea brasiliensis)en_US
dc.typeTechnical Reporten_US
dc.contributor.departmentFaculty of Natural Resources (Plant Science)-
dc.contributor.departmentคณะทรัพยากรธรรมชาติ ภาควิชาพืชศาสตร์-
dc.description.abstract-thได้มีการรายงานว่า ระบบกรีดแบบสองรอยกรีดเป็นระบบบกรีดที่มีแนวโน้มเพิ่มผลผลิตของยางพาราและช่วยยืดอายุการกรีด ดังนั้นจึงได้มีการนำมาทดสอบในจังหวัดสงขลา ทั้งในระดับสถานี (อ.เทพา) และระดับสวน (อ.หาดใหญ่ และ อ.นาหม่อม) ผลการทดลองในระดับสถานีพบว่า ระบบกรีดแบบสองรอยกรีด (2x1/2S 3d/4) ให้ผลผลิตเพิ่มขึ้น 22 เปอร์เซ็นต์จากระบบกรีดแบบรอยกรีดเดียว (1/2S d/2) และระบบกรีดแบบสองรอยกรีด (2x1/3S d/2.d/3) ให้ผลผลิตเพิ่มขึ้น 16 เปอร์เซ็นต์จากระบบกรีดแบบรอยกรีดเดียว (1/3S 3d/4) สำหรับในระดับสวน พบว่า การใช้ระบบกรีดแบบสองรอยกรีด (2x1/3S d/3) ในอำเภอหาดใหญ่ ให้ผลผลิตเพิ่มขึ้น 16 เปอร์เซ็นต์จกระบบกรีดแบบรอยกรีดเดียว (1/3S 2d/3) ในขณะที่การใช้ระบบกรีดแบบสองรอยกรีด (2x1/3S d/2.d/3) ในอำเภอนาหม่อม ให้ผลผลิตเพิ่มขึ้น 11 เปอร์เซ็นต์จากระบบกรีดแบบรอยกรีดเดียว (1/3S 3d/4) ทั้งในหน่วยของกรัมต่อต้น และกรัมต่อต้นต่อครั้งกรีด ความสิ้นเปลืองเปลือกในระดับสถานีพบว่า ระบบกรีดแบบสองรอยกรีดมีความสิ้นเปลืองเปลือกสูงกว่าระบบกรีดแบบรอยกรีดเดียว โดยมีความแตกต่างทางสถิติอย่างมีนัยสำคัญยิ่ง ส่วนในระดับสวนนั้นไม่พบความแตกต่างทางสถิติของความสิ้นเปลืองเปลือกระหว่างระบบกรีดทั้ง 2 พื้นที่ การเจริญทางด้านลำต้นไม่พบความแตกต่างทางสถิติระหว่างะรบบกรีดทั้งในการทดลองระดับสถานีและระดับสวน จากการวิเคราะห์องค์ประกอบทางชีวเคมี ประกอบด้วย ปริมาณซูโครส ปริมาณอนินทรีย์ฟอสฟอรัส ปริมาณไธออล และปริมาณเนื้อยางแห้ง รวมทั้งเปอร์เซ็นต์การเกิดอาการเปลือกแห้งของยางพารา พบว่า การใช้ระบบกรีดแบบสองรอยกรีด ไม่มีความแตกต่างทางสถิติกับระบบกรีดแบบรอยกรีดเดียว-
Appears in Collections:510 Research

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
350085.pdf1.51 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons