กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2010/5612
ชื่อเรื่อง: | ปัจจัยเสี่ยงต่อการเป็นนักดื่มสุราของนักศึกษาชายของมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Risk factors for binge drinking of male student of Prince of Songkla University |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | ศรัณยา บุนนาค อำนวย อินทสโร คณะวิทยาการจัดการ ภาควิชาบริหารธุรกิจ คณะนิติศาสตร์ |
คำสำคัญ: | มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ นักศึกษา;การดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ ไทย (ภาคใต้);ผู้ติดสุรา ไทย (ภาคใต้) |
วันที่เผยแพร่: | 2552 |
สำนักพิมพ์: | มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ |
บทคัดย่อ: | An alcohol effect is a case of illness, an inattention sexual case, a sexual aggressive, a traffic accident etc. caused by alcohol effect. This research hos a purpose to study how does alcoholism occur, alcohol social norm, alcohol culture, cause, social behavior, psychology, toxic substances awareness by drinking alcohol, drinking behavior and a case analysis by alcohol consume of the male student of Prince of Songkhla University, Using "Stratified Random Sampling With Probability Proportional to Size" Method to search 1,338 cases of male student in each year each faculty from 5 campuses in Prince of Songkhla University. The study is researched by questionnaire from June-September 2008 in 2 Focus Group discussed by acting alcohol consumer and non-acting alcohol consumer. By In-depth Interview with acting alcohol consumer, one can find that the average age is 21.43 years old. By 75.3% of this acting alcohol consumer student, the parent used to discuss and worn about the effect of alcohol. 71.1% of them used to try alcohol which the first drink is on a om average age of 17.11 years old. For the past 6 months, the 11.8% students don't consumer alcohol. The consumption of the acting alcohol consumer is 2.07 time/month average and each time 10.69 glasses of alcohol. By analysis of the alcohol risk of male student, the 3" year male student is more efficient than the others and more in the Faculty of Economics, The second is the Faculty of Industrial Agriculture run to the further group of the Faculty of Sciences (Hat Yai Campus). The dormitory student has less consumer than the outside le student, For the student, who has a drinking father or drinking closed friend will tendency be a drinker more than the student who does have such a surrounding. The school-activity student has more risk to consume than the non-school- activity student as well as the like-TV seeing student who always sees the TV promotion of alcohol. The like-TV seeing student has less information about the e alcohol toxic substances awareness than the other group p student. The student who likes to go to pub, bar, has mor me than the not going student. Thus by problem solving solution or or reducing the risk of being alcohol consumer of student, the solution should be in round circle: begins with family, institute, surrounding, social norm to economic aspect, law aspect which is in the same direction at the same time. |
Abstract(Thai): | สุราเป็นสาเหตุของการเกิดโรค การมีเพศสัมพันธ์โดยไม่ตั้งใจ เกิดความรุนแรงทางเพศ เกิดอุบัติเหตุ ฯลฯ จากพิษภัยของสุราดังกล่าว งานวิจัยนี้จึงมีวัตถุประสงค์ต้องการศึกษาประวัติการดื่มสุรา ค่านิยม วัฒนธรรม สาเหตุ ปัจจัยในเชิงสังคม จิตวิทยา การตระหนักถึงพิษภัยจากการดื่มสุรา พฤติกรรมการดื่มสุรา และวิคราะห์ปัจจัยเสี่ยงต่อการเป็นนักดื่มสุราของนักศึกมาชายมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ด้วยการใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้นภูมิหลายขึ้น (Statified Ramdorn Sampling With Probmbility Proportiomal to Size) ได้นักศึกษาชายทุกชั้นปีและทุกคณะจาก 5 วิทยาเขตของมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ จำนวน 1,338 ราย มาทำการสัมภาษณ์ด้วยแบบสอบถาม ในช่วงเดือนมิถุนายน-กันยาขน พ.ศ.2551 นอกจากนี้ยังทำการสนทนากลุ่ม (Focus Group) 2 กลุ่ม จากนักศึกษาชายกลุ่มผู้ที่ปัจจุบันดื่มสุรา และกลุ่มผู้ที่ไม่เคยดื่มสุรา และทำการสัมภาษณ์แบบเจาะลึก (In-depth Interview) นักศึกษาชายกลุ่มผู้ที่ปัจจุบันดื่มสุรา พบว่านักศึกษาที่ตกเป็นตัวอย่างมีอายุเฉสี่ย 21.43 ปี ร้อยละ 75.3 ของนักศึกษาระบุว่บิดา-มารดาเคยพูดคุยกับนักศึกษาในเรื่องไม่ควรมีพฤติกรรมการดื่มแอลกอฮอล์ อย่างไรก็ตาม ร้อยละ 71.1 ของนักศึกษาได้เคยทดลองดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ โดยนักศึกษาดื่มเครื่องดื่มแอกอฮอล์ครั้งแรกเมื่อมีอายุฉลี่ย 17.11 ปี ในรอบระยะเวลา 6 เดือนที่ผ่านมา ร้อยละ 11.8 ของนักศึกษาไม่ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ สำหรับนักศึกษาที่ดื่มจะดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เฉลี่ย 2.07 ครั้ง/เดือน และดื่มเฉลี่ยครั้งละ 10.69 แก้วจากการวิเคราะห์ปัจจัยเสี่ยงต่อการเป็นนักดื่มสุราของนักศึกษาชาย พบว่านักศึกษาที่มีปัจจัยเสี่ยงในการเป็นนักดื่มจะเป็นนักศึกษาชั้นปีที่ 3 มากกว่าชั้นปีอื่น ๆ เป็นนักศึกษาที่เรียนคณะเศรษฐศาสตร์มากที่สุด รองลงมาเป็นคณะอุตสาหกรรมการเกษตร และคณะวิทยาศาสตร์ (วิทยาเขตหาดใหญ่) นักศึกษาที่อยู่หอพักในมหาวิทยาลัย จะมีปัจจัยเสี่ยงต่อการเป็นนักดื่มสุรา น้อยกว่านักศึกษาที่อาศัยอยู่ภายนอกมหาวิทยาลัย นักศึกษาที่มีบิดาดื่มสุรา มีเพื่อนสนิทดื่มสุรา จะมีความเสี่ยงต่อการเป็นนักดื่มมากกว่านักศึกษาที่บิดาไม่ดื่มสุราและไม่มีเพื่อนสนิทดื่มสุรา นักศึกษาที่ร่วมทำกิจกรรมของมหาวิทยาลัยมีปัจจัยเสี่ยงต่อการเป็นนักดื่มมากกว่านักศึกษาที่ไม่ร่วมทำกิจกรรม นักศึกษาที่ชอบดูรายการโทรทัศน์ได้รับสื่อโฆษณาเครื่องดื่มแอลกอออล์ ขณะเดียวกันก็ได้ข้อมูลเกี่ยวกับพิษภัยของการดื่มแอลกอฮอล์ มีความเสี่ยงต่อการเป็นนักดื่มน้อยกว่านักศึกษาลักษณะตรงกันข้าม นักศึกษาที่ชอบเที่ยวผับ บาร์จะเป็นปังจัยเสี่ยงต่อการเป็นนักดื่มสุรามากกว่านักศึกษาที่ไม่ชอบเที่ยว ดังนั้นการแก้ปัญหาหรือปัจจัยสี่ยงในการเป็นนักดื่มของนักศึกษา ควรแก้อย่างครบวงจร ตั้งแต่ครอบครัว สถาบันการศึกษา สภาพแวดล้อมค่านิยมในสังคม ตลอดจนมาตรการด้านเศรษฐศาสตร์ กฎหมายที่ต้องดำเนินไปพร้อม ๆ กันและทิศทางเดียวกัน สุราเป็นสาเหตุของการเกิดโรค การมีเพศสัมพันธ์โดยไม่ตั้งใจ เกิดความรุนแรงทางเพศ เกิดอุบัติเหตุ ฯลฯ จากพิษภัยของสุราดังกล่าว งานวิจัยนี้จึงมีวัตถุประสงค์ต้องการศึกษาประวัติการดื่มสุรา ค่านิยม วัฒนธรรม สาเหตุ ปัจจัยในเชิงสังคม จิตวิทยา การตระหนักถึงพิษภัยจากการดื่มสุรา พฤติกรรมการดื่มสุรา และวิคราะห์ปัจจัยเสี่ยงต่อการเป็นนักดื่มสุราของนักศึกมาชายมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ด้วยการใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้นภูมิหลายขึ้น (Stratified Random Sampling With Probability Proportional to Size) ได้นักศึกษาชายทุกชั้นปีและทุกคณะจาก 5 วิทยาเขตของมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ จำนวน 1,338 ราย มาทำการสัมภาษณ์ด้วยแบบสอบถาม ในช่วงเดือนมิถุนายน-กันยาขน พ.ศ.2551 นอกจากนี้ยังทำการสนทนากลุ่ม (Focus Group) 2 กลุ่ม จากนักศึกษาชายกลุ่มผู้ที่ปัจจุบันดื่มสุรา และกลุ่มผู้ที่ไม่เคยดื่มสุรา และทำการสัมภาษณ์แบบเจาะลึก (In-depth Interview) นักศึกษาชายกลุ่มผู้ที่ปัจจุบันดื่มสุรา พบว่านักศึกษาที่ตกเป็นตัวอย่างมีอายุเฉสี่ย 21.43 ปี ร้อยละ 75.3 ของนักศึกษาระบุว่บิดา-มารดาเคยพูดคุยกับนักศึกษาในเรื่องไม่ควรมีพฤติกรรมการดื่มแอลกอฮอล์ อย่างไรก็ตาม ร้อยละ 71.1 ของนักศึกษาได้เคยทดลองดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ โดยนักศึกษาดื่มเครื่องดื่มแอกอฮอล์ครั้งแรกเมื่อมีอายุฉลี่ย 17.11 ปี ในรอบระยะเวลา 6 เดือนที่ผ่านมา ร้อยละ 11.8 ของนักศึกษาไม่ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ สำหรับนักศึกษาที่ดื่มจะดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เฉลี่ย 2.07 ครั้ง/เดือน และดื่มเฉลี่ยครั้งละ 10.69 แก้วจากการวิเคราะห์ปัจจัยเสี่ยงต่อการเป็นนักดื่มสุราของนักศึกษาชาย พบว่านักศึกษาที่มีปัจจัยเสี่ยงในการเป็นนักดื่มจะเป็นนักศึกษาชั้นปีที่ 3 มากกว่าชั้นปีอื่น ๆ เป็นนักศึกษาที่เรียนคณะเศรษฐศาสตร์มากที่สุด รองลงมาเป็นคณะอุตสาหกรรมการเกษตร และคณะวิทยาศาสตร์ (วิทยาเขตหาดใหญ่) นักศึกษาที่อยู่หอพักในมหาวิทยาลัย จะมีปัจจัยเสี่ยงต่อการเป็นนักดื่มสุรา น้อยกว่านักศึกษาที่อาศัยอยู่ภายนอกมหาวิทยาลัย นักศึกษาที่มีบิดาดื่มสุรา มีเพื่อนสนิทดื่มสุรา จะมีความเสี่ยงต่อการเป็นนักดื่มมากกว่านักศึกษาที่บิดาไม่ดื่มสุราและไม่มีเพื่อนสนิทดื่มสุรา นักศึกษาที่ร่วมทำกิจกรรมของมหาวิทยาลัยมีปัจจัยเสี่ยงต่อการเป็นนักดื่มมากกว่านักศึกษาที่ไม่ร่วมทำกิจกรรม นักศึกษาที่ชอบดูรายการโทรทัศน์ได้รับสื่อโฆษณาเครื่องดื่มแอลกอออล์ ขณะเดียวกันก็ได้ข้อมูลเกี่ยวกับพิษภัยของการดื่มแอลกอฮอล์ มีความเสี่ยงต่อการเป็นนักดื่มน้อยกว่านักศึกษาลักษณะตรงกันข้าม นักศึกษาที่ชอบเที่ยวผับ บาร์จะเป็นปังจัยเสี่ยงต่อการเป็นนักดื่มสุรามากกว่านักศึกษาที่ไม่ชอบเที่ยว ดังนั้นการแก้ปัญหาหรือปัจจัยสี่ยงในการเป็นนักดื่มของนักศึกษา ควรแก้อย่างครบวงจร ตั้งแต่ครอบครัว สถาบันการศึกษา สภาพแวดล้อมค่านิยมในสังคม ตลอดจนมาตรการด้านเศรษฐศาสตร์ กฎหมายที่ต้องดำเนินไปพร้อม ๆ กันและทิศทางเดียวกัน |
URI: | http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2010/5612 https://tnrr.nriis.go.th/#/services/research-report/detail/231156 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | 460 Research 870 Research |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
304609.pdf | 4.63 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License