กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/17836
ชื่อเรื่อง: การประเมินไมโครพลาสติกในตะกอนชายหาดบริเวณชายฝั่ง จังหวัดภูเก็ต
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Evaluation of Microplastics in Beach Sediments along the Coast of Phuket
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: เพ็ญศิริ เอกจิตต์
สุดารัตน์ ทองหนองหิน
Faculty of Technology and Environment
คำสำคัญ: ชายหาด;แมคโครพลาสติก;มีโซพลาสติก;ไมโครพลาสติก;ภูเก็ต
วันที่เผยแพร่: 2021
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
บทคัดย่อ: Marine microplastics are a global problem as they can be harmful to living organisms. This study determined the distribution of microplastics at the six beaches, Phuket Province included Kalim beach, Patong beach, Tri Trang beach, Chalong beach, Rawai beach and Makham bay. The sediment samples were collected 4 times (April, July, October and December 2019), divided into summer and rainy season. Samples were collected using a 0.5x0.5 m2 quadrat at five cm depth at the intertidal zone. Plastic debris was divided into 3 sizes (macroplastics >25 millimetr, mesoplastics 5-25 millimetr and microplastics <5 millimetr). The microplastic was analyzed by 5M NaCl solution for density separation, 0.05 M Fe (II) and 30% H2O2 for organic decomposition. The microplastic shape (fibers, formless parts, films and pellets) and color (white, red, black, blue, green and yellow) were classified by 40x microscopy (Olympus CX 31). The Fourier Transform Irtron Infrared Spectrometer (µFT-IR) was used to determine the polymer types of microplastics. The results showed that one piece of macroplastics was found on the beach of Makham bay, three pieces of mesoplastic found at Kalim beach and Makham bay. There were totally 2,150 pieces of garbage that is expected to be microplastics that can be divided into 2 sizes: ≥300 µm. 1,134 pieces and 20-300 µm. 1,016 pieces. At all 6 beaches, black color of garbage that is expected to be microplastics was predominant (1,135 pieces, 52.8%), followed by red (466 pieces, 21.7%) and white (275 pieces, 12.8%), respectively. In this study, fiber was the most commonly found (2,013 pieces, 93.63%), followed by fragment shape (126 pieces, 5.86%) and pellet (14 pieces, 0.65%). According to the Fourier Transform Irtron Infrared Spectrometer for polymers classification, Polyethylene terephthalate microplastics (PET) (34.9%), This was followed by polystyrene (PS) (9.2%) and polypropylene (PP) (5.5%). Non-plastic contaminants were also found, namely fabric fibers. (Cloth Cotton) (48.5%) and regenerated cellulose (RC) (43.4%) were among the highest polymer types found in this study. According to the statistical analysis, it found that the amount or density of microplastics was not significantly different among the six beaches (one-way ANOVA); and there was no difference between the west coast and the east beach, the microplastic sizes, and seasons (t-test). The Principal Component Analysis (PCA) showed the cumulative variance of 94% and 46.03% for the principal component one (PC1) that consisted of polyethylene terephthalate, polypropylene polyurethane (PUR) and mixed plastic. Three relationship groups can be divided into 1) polyethylene terephthalate correlated with Rawai beach; 2) polypropylene polyurethane and mixed plastic was correlated with Patong beach, Chalong beach and Ao Makham beach, and 3) polystyrene and polyvinylchloride was correlated with Tritrang beach, respectively. Therefore, it can be concluded that different beach activities may affect and encounter in different types of microplastics in this study.
Abstract(Thai): ไมโครพลาสติกในทะเลนับเป็นปัญหาระดับโลกเนื่องจากอาจเป็นอันตรายต่อสิ่งมีชีวิต การศึกษาครั้งนี้ประเมินการแพร่กระจายของไมโครพลาสติกบริเวณชายหาด จังหวัดภูเก็ต 6 ชายหาด ได้แก่ ชายหาดกะหลิม ชายหาดป่าตอง ชายหาดไตรตรัง ชายหาดฉลอง ชายหาดราไวย์ และชายหาดอ่าวมะขาม โดยทำการเก็บตัวอย่างทั้งหมด 4 ครั้ง (เดือนเมษายน เดือนกรกฎาคม เดือนตุลาคม และเดือนธันวาคม พ.ศ. 2562) โดยแบ่งตามฤดูกาล (ฤดูแล้งและฤดูฝน) เก็บตัวอย่างโดยใช้ quadrat ขนาด 0.5x0.5 ตารางเมตร เก็บตัวอย่างตะกอนทรายลึก 5 เซนติเมตร บริเวณระหว่างน้ำขึ้นสูงสุดกับน้ำลงต่ำสุด (intertidal zone) แยกขนาดพลาสติกออกเป็น 3 ขนาด (แมค โครพลาสติกมีขนาด > 25 มิลลิเมตร มีโซพลาสติก มีขนาด 5-25 มิลลิเมตร และไมโครพลาสติกมีขนาด <5 มิลลิเมตร) ใช้สารละลาย 5M NaCl ในการแยกความหนาแน่นและย่อยสารอิน ทรีย์โดยใช้ 0.05 M Fe (II) และ 30% H2O2 จำแนกลักษณะรูปร่าง (เส้นใย ชิ้นส่วนไร้รูปแบบ แผ่นฟิล์ม และเม็ด) และสีของไมโครพลาสติก (ขาว แดง ดำ น้ำเงิน เขียว และเหลือง) โดยใช้กล้องจุลทรรศน์กำลังขยาย 40x (รุ่น Olympus CX 31) แยกชนิดโพลิเมอร์ของไมโครพลาสติกโดย ใช้ไมโครฟูเรียร์ทรานฟอร์มอิตรอนอินฟราเรดสเปกโตรมิเตอร์ (µFT-IR) ผลการวิจัยพบขยะขนาดแมคโครพลาสติกจำนวน 1 ชิ้น ขยะขนาดมีโซพลาสติกจำ นวน 3 ชิ้น และขยะที่คาดว่าเป็นพลาสติกขนาดไมโครพลาสติกจำนวน 2,150 ชิ้น โดยแบ่งไมโคร พลาสติกเป็น 2 ขนาด ได้แก่ ขนาด ≥300 ไมโครเมตร จำนวน 1,134 ชิ้น และขนาด 20-300 ไมโครเมตร จำนวน 1,016 ชิ้น บริเวณชายหาดทั้ง 6 ชายหาดพบขยะที่คาดการณ์ว่าเป็นไมโคร พลาสติกสีดำมากที่สุดจำนวน 1,135 ชิ้น (52.8%) รองลงมาคือสีแดงจำนวน 466 ชิ้น (21.7%) และสีขาวจำนวน 275 ชิ้น (12.8%) โดยรูปร่างเส้นใยถูกพบเจอมากที่สุดจำนวน 2,013 ชิ้น (93.63.%) รองลงมาคือ รูปร่างชิ้นส่วนไร้รูปแบบ จำนวน 126 ชิ้น (5.86%) และรูปร่างเม็ด จำนวน 14 ชิ้น (0.65%) จากการแยกประเภทโพลิเมอร์โดยใช้ µFT-IR พบไมโครพลาสติกประเภทพอลิเอทิลีนเทเรฟ ทาเลต (PET) มากที่สุด (34.9%) รองลงมาคือพลาสติกประเภทโพลีสไตรีน (PS) (9.2%) และพลาสติกประเภทโพลีโพรพีลีน (PP) (5.5%) นอกจากนี้ยังพบสิ่งปนเปื้นที่ไม่ใช่พลาสติกคือเส้นใยผ้า (Cloth Cotton) (48.5%) และเส้นใยสังเคราะห์ (RC) (43.4%) จากการวิเคราะห์ทางสถิติพบว่าจำนวนหรือความหนาแน่นของไมโครพลาสติกไม่มีความแตกต่างกันระหว่างชายหาดทั้ง 6 ชายหาด อย่างมีนัยสำคัญ (One way Anova) และไม่มีความแตกต่างกันระหว่างชายหาดฝั่งตะวันตกและชายหาดฝั่งตะวันออก ขนาดของไมโครพลาสติกและฤดูกาล (t-test) การวิเคราะห์องค์ประกอบหลัก (Principle Component Analysis) พบว่า มีค่าความแปรปรวนสะสมรวม 94% องค์ประกอบที่ (PC1) มีความสัมพันธ์มากถึง 46.03% ประกอบไปด้วยพลาสติกประเภทพอลิเอทิลีนเทเรฟทาเลต พลาสติกประเภทโพลีโพรพีลีน และพลาสติกประเภทโพลียูรีเทน (PUR) และพลาสติกอื่นๆ (Mixed plastic) ทั้งนี้จากผลการศึกษาเบื้องต้น สามารถแบ่งกลุ่มความสัมพันธ์ 3 กลุ่ม ได้แก่ พลาสติกประเภทพอลิเอทิลีนเทเรฟทาเลตมีความสัมพันธ์กับชายหาดราไวย์ พลาสติกประเภทโพลีโพรพีลีน พลาสติกประเภทโพลียูรีเทน และพลาสติกอื่นๆ (Mixed plastic) มีความสัมพันธ์กับชายหาดป่าตอง ชายหาดฉลองและชายหาดอ่าวมะขามพลาสติกประเภทโพลิสไตรีนและพลาสติกประเภทโพลีไวนิลคลอไรด์มีความสัมพันธ์ระหว่างชายหาดไตรตรังดังนั้นจึงสรุปได้ว่ากิจกรรมบริเวณชายหาดที่แตกต่างกันอาจจะส่งผลต่อการพบเจอไมโครพลาสติกชนิดต่าง ๆ
รายละเอียด: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (การจัดการสิ่งแวดล้อม), 2564
URI: http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/17836
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:978 Thesis

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
6130221001.pdf3.35 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons