Please use this identifier to cite or link to this item: http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/12151
Title: ผลของการจัดการเรียนรู้ตามรูปแบบการสอนมุ่งประสบการณ์ภาษาแบบประยุกต์ (CLEA) ที่มีต่อทักษะการอ่านภาษาไทยของนักเรียนที่อ่านไม่ได้ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 5
Other Titles: Effect of Concentrated Language Encounters Adapted (CLEA) Model of Teaching on Thai Reading Skill of Illiterate Grade 5 Students
Authors: ธีระยุทธ, รัชชะ
ฮามีนะ, โซ๊ะสะตา
Faculty of Education (Education)
คณะศึกษาศาสตร์ ภาควิชาการศึกษา
Keywords: ภาษาแบบประยุกต์;การจัดการเรียนการสอน
Issue Date: 2561
Publisher: มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับทักษะการอ่านภาษาไทยของนักเรียนหลังได้รับการจัดการเรียนรู้ตามรูปแบบการสอนมุ่งประสบการณ์ภาษาแบบประยุกต์ (CLEA) 2) เปรียบ เทียบทักษะการอ่านภาษาไทยของนักเรียนก่อนและหลังได้รับการจัดการเรียนรู้ตามรูปแบบการสอนมุ่งประสบการณ์ภาษาแบบประยุกต์ (CLEA) 3) ศึกษาความคงทนด้านทักษะการอ่านภาษาไทยของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้ตามรูปแบบการสอนมุ่งประสบการณ์ภาษาแบบประยุกต์ (CLEA) 4) เปรียบเทียบเจตคติต่อวิชาภาษาไทยของนักเรียนก่อนและหลังได้รับการจัดการเรียนรู้ตามรูปแบบการสอนมุ่งประสบการณ์ภาษาแบบประยุกต์ (CLEA) กลุ่มเป้าหมาย คือนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนบ้านตันหยง อำเภอยะหา จังหวัดยะลา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษายะลาเขต 2 ภาคเรียนที่ 1 ประจำปีการศึกษา 2558 ที่มีทักษะการอ่านภาษาไทยอยู่ในระดับอ่านไม่ได้ จำนวน 16 คน ได้จากวิธีการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ประกอบด้วย 1) แผนการจัดการเรียนรู้รูปแบบการสอนมุ่งประสบการณ์ภาษาแบบประยุกต์ (CLEA) 2) แบบวัดทักษะการอ่านภาษาไทย และ 3) แบบวัดเจตคติต่อวิชาภาษาไทย ดำเนินการทดลองแบบกลุ่มเดียว วัดหลายครั้งแบบอนุกรมเวลา (One group time series design) วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าสถิติ Wilcoxon Signed – Rank Testผลการวิจัยพบว่า 1) นักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้ตามรูปแบบมุ่งประสบการณ์ภาษาแบบประยุกต์ ( CLEA) มีระดับทักษะการอ่านภาษาไทยหลังเรียน อยู่ในระดับพอใช้ 2) นักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้ตามรูปแบบการสอนมุ่งประสบการณ์ภาษาแบบประยุกต์ (CLEA) มีทักษะการอ่านภาษาไทย หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 3) นักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้ตามรูปแบบการสอนมุ่งประสบการณ์ภาษาแบบประยุกต์ (CLEA) จะมีความคงทนของทักษะการอ่านภาษาไทย ซึ่งพิจารณาจากคะแนนหลังเรียนครั้งที่ 2 ที่สูงกว่าคะแนนหลังเรียนครั้งที่ 1 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 4) นักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้ตามรูปแบบการสอนมุ่งประสบการณ์ภาษาแบบประยุกต์ (CLEA) มีเจตคติต่อวิชาภาษาไทยหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 The purposes of this research were to 1) study the level of Thai reading skill after learning by concentrated language encounters adapted (CLEA) teaching model 2) compare Thai reading skill before and after learning by concentrated language encounters adapted (CLEA) 3) study the retention of Thai reading skill of grade 5 students learning by concentrated language encounters adapted (CLEA) 4) compare the attitude of the students towards Thai subject before and after learning by concentrated language encounters adapted (CLEA). The target group of this research, selected by purposive sampling, comprised of 16 Grade 5 illegible students of Bantanyong school, Yaha District, Yala Province under jurisdiction of the office of Yala Primary Educational Service Area 2. The research carried out in the first semester of the 2015 academic year with the One group time series design. The research instruments consisted of 1) lesson plans of using concentrated language encounters adapted (CLEA) teaching model 2) a Thai reading skill test 3) a questionnaire on attitude towards Thai subject. The collected data were analyzed by means, standard deviations, and Wilcoxon Signed – Rank Test. The results were shown as follows: 1) The students’ Thai reading skill level in a post-test was in the fair level after learning by concentrated language encounters adapted (CLEA) 2) The students’ Thai reading skill in a post-test was significantly higher than in a pre-test after learning by concentrated language encounters adapted (CLEA) at .01. 3) The students’ retention of Thai reading skill after learning by concentrated language encounters adapted (CLEA) between the first and the second post-test scores were significant difference at .01, indicating that students had retention of on Thai reading skill. 4) Students’ attitude towards Thai subject in a post-test was significantly higher than in a pre-test after learning by concentrated language encounters adapted (CLEA) at .01.
Description: วิทยานิพนธ์ (ศษ.ม.(หลักสูตรและการสอน))--มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, 2561
URI: http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/12151
Appears in Collections:270 Thesis

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
TC1535.pdf5.98 MBAdobe PDFView/Open


Items in PSU Knowledge Bank are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.