Please use this identifier to cite or link to this item: http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/11820
Title: Applying Multiple Imputation in the Analysis of Low Birth Weight in Nepal
Other Titles: การประยุกต์ใช้การประมาณค่าทดแทนพหุในการวิเคราะห์ข้อมูลทารกแรกเกิดที่มีน้ำหนักต่ำกว่าเกณฑ์ในประเทศเนปาล
Authors: Ueranantasun, Attachai
Singh, Usha
Faculty of Sciecnce and Technology (Mathematics and Computer Science)
คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ภาควิชาคณิตศาสตร์และวิทยาการคอมพิวเตอร์
Keywords: ทารกแรกเกิด;Nepal
Issue Date: 2016
Publisher: Prince of Songkla University, Pattani Campus
Abstract: Studies conducted on birth weight have acknowledged missing data on birth weight, but these missing data are not included in the analysis. Furthermore, other existing missing data presented on determinants of birth weight are not addressed. Thus, this study is aimed to identify determinants that are associated with low birth weight (LBW) using multiple imputation to handle missing data on birth weight and its determinants. The child dataset from Nepal Demographic and Health Survey (NDHS), 2011 was utilized for this study. Multiple imputation carried out for 65 times was proven to be the lowest standard error than any other number of times of imputation. Therefore, each missing value was imputed for 65 times. The data showed prevalence of LBW as 11.5 percent, but the prevalence of LBW after imputation was 15.4 percent. The prevalences of LBW obtained from observed birth weight data set before and after imputation were different in each variable except for factors such as mother's age at child's birth, gender of child, ethnicity and residence. Multiple logistic regression was applied to find out the factors associated with LBW. Women with highest autonomy on their own health compared to those with involvement of husband or others, and with husband and women together were less likely to give birth to LBW infants. The findings of this study suggested that obtaining the prevalence of LBW from only the sample of measured birth weight results in under estimation. In addition, assuming missing values as non missing provided different results from imputed. Therefore, it is suggested for future researchers conducting studies on LBW with DHS data from developing countries that missing data on birth weight and its determinants should be handled. The findings also suggested that there is a need for implementing programs that focus on promoting and strengthening women autonomy, as well as educational interventions not only to the couple but also to their in-laws regarding the importance of utilization of health services to help reduce the risk of birth to LBW infants among mothers.  ปัญหาสำคัญในการศึกษาเรื่องน้ำหนักทารกแรกเกิดคือการที่ข้อมูลน้ำหนักของทารกมักสูญหายจากการที่ไม่ได้ถูกบันทึกไว้แต่การศึกษาที่ผ่านมาไม่ได้พิจารณาวิธีนำข้อมูลน้ำหนักที่สูญหายมาประกอบในการวิเคราะห์ข้อมูล ดังนั้นวัตถุประสงค์ของการศึกษาครั้งนี้คือ เพื่อวิเคราะห์ปัจจัยต่างๆ ที่มีความสัมพันธ์ต่อน้ำหนักทารกแรกเกิดที่ต่ำกว่าเกณฑ์โดยใช้การประมาณค่าทดแทนพหุในการคาดคะเนข้อมูลที่สูญหายไป การศึกษาครั้งนี้ใช้ข้อมูลทุติยภูมิของทารกจากการสำรวจประชากรและสุขภาพในประเทศเนปาล (Nepal Demographic and Health Survey: NDHS)ในปี ค.ศ. 2011การคาดคะเนข้อมูลที่สูญหายในการศึกษาครั้งนี้ใช้การประมาณค่าทดแทนพหุจำนวน65 ครั้ง โดยพบว่าจำนวนดังกล่าวทำให้ค่าความคลาดเคลื่อนของข้อมูลที่คาดคะเนได้มีค่าต่ำที่สุดทำให้ข้อมูลที่คาดคะเนมาเพื่อทดแทนข้อมูลที่สูญหายมีจำนวนทั้งสิ้น 65 ชุดและทุกชุดถูกนำมารวมกันเมื่อนำข้อมูลที่คาดคะเนรวมกับข้อมูลเดิมพบว่าทารกที่มีน้ำหนักแรกเกิดต่ำกว่าเกณฑ์คิดเป็นร้อยละ15.4 เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับข้อมูลตั้งต้นที่มีเด็กทารกแรกเกิดที่มีน้ำหนักต่ำกว่าเกณฑ์ร้อยละ11.5 เมื่อพิจารณาปัจจัยแต่ละตัว พบว่าร้อยละของเด็กทารกแรกคลอดที่มีน้ำหนักต่ำกว่าเกณฑ์ จากข้อมูลก่อนและหลังจากการประมาณค่าทดแทนพหุมีความแตกต่างกันยกเว้นในปัจจัยอายุของมารดาขณะคลอด เพศของทารก เชื้อชาติและที่อยู่อาศัยที่มีค่าใกล้เคียงกันสำหรับการวิเคราะห์ข้อมูลที่ได้หลังจากการคาดคะเนข้อมูลสูญหาย สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ได้แก่ การวิเคราะห์การถดถอยพหุลอจิสติก ซึ่งถูกนำมาใช้เพื่อหาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อน้ำหนักทารกแรกเกิดที่ต่ำกว่าเกณฑ์ผลการวิเคราะห์พบว่ากลุ่มมารดาที่มีสิทธิตัดสินใจเกี่ยวกับปัญหาสุขภาพของตนเอง มีแนวโน้มที่จะคลอดบุตรที่มีน้ำหนักต่ำกว่าเกณฑ์น้อยกว่ากลุ่มของมารดาที่มีสิทธิตัดสินใจเกี่ยวกับปัญหาสุขภาพโดยขึ้นอยู่กับสามีและบุคคลอื่น กับกลุ่มมารดาที่ตัดสินใจปัญหาสุขภาพร่วมกับสามี ผลจากการศึกษาพบว่าร้อยละของทารกแรกเกิดที่มีน้ำหนักต่ำกว่าเกณฑ์จากข้อมูลเริ่มต้นที่ยังไม่มีการคาดคะเนข้อมูลสูญหายมีแนวโน้มที่จะมีค่าน้อยเกินกว่าความเป็นจริง นอกจากนี้การศึกษายังพบว่าการวิเคราะห์ข้อมูลที่มีและไม่มีการประมาณค่าของข้อมูลที่สูญหายให้ผลที่แตกต่างกัน ดังนั้นการศึกษาเกี่ยวกับน้ำหนักทารกแรกเกิดที่ต่ำกว่าเกณฑ์ในควรจะมีการจัดการกับข้อมูลสูญหายไม่ว่าจะเป็นข้อมูลน้ำหนักของทารกและข้อมูลที่เกี่ยวข้องอื่น ๆผลจากการศึกษาครั้งนี้ยังเสนอประเด็นที่ควรมีการสนับสนุนให้เกิดขึ้นคือการส่งเสริมและสร้างความเข้มแข็งให้ผู้หญิงสามารถตัดสินใจด้วยตนเองได้ในเรื่องเกี่ยวกับสุขภาพของตนและควรมีการส่งเสริมและสร้างความเข้าใจในการใช้บริการด้านสุขภาพที่ถูกต้องให้กับมารดาและสามี รวมถึงครอบครัวอีกด้วยซึ่งจะส่วนช่วยลดความเสี่ยงของมารดาที่จะคลอดทารกที่มีน้ำหนักต่ำกว่าเกณฑ์ได้
Description: Thesis (M.Sc.(Research Methodology))--Prince of Songkla University, 2016
URI: http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/11821
Appears in Collections:746 Thesis

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
TC1481.pdf1.5 MBAdobe PDFView/Open


Items in PSU Knowledge Bank are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.